วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การปลูกหญ้าแฝกเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรดินและสภาพแวดล้อม

หญ้าแฝกเป็นพืชที่เจริญเป็นกอ สามารถพบได้ในสภาพธรรมชาติทุกภาคของประเทศ บางแห่งเจริญอยู่อย่างหนาแน่น บางแห่งกระจายอยู่ทั่วไป แต่จากการสำรวจและเก็บตัวอย่างต้นหญ้าแฝก ยังไม่พบว่า บริเวณใดมีลักษณะของการเจริญเหมือนหญ้าที่เป็นวัชพืชโดยทั่วไป
      ด้วยเหตุนี้ การนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ การฟื้นฟูทรัพยากรดิน และรักษาสภาพแวดล้อม จึงไม่ก่อให้เกิดปัญหาที่เป็นวัชพืชในพื้นที่ สำหรับหญ้าแฝกเป็นพืชที่เจริญเติบโตโดยการแตกกอ เส้นผ่าศูนย์กลางของกอประมาณ 30-40 เซนติเมตร ความสูงประมาณ 0.5-1.5 เมตร ใบหญ้าแฝกมีลักษณะแคบประมาณ 0.6-1.0 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 50-75 เซนติเมตร การเจริญเติบโตในแนวดิ่งมากกว่าแนวข้าง มีระบบรากยาวหยั่งลึก 1.5-3.0 เมตร แต่แผ่ขยายด้านข้างเพียง 50-60 เซนติเมตร สามารถเก็บกักน้ำและความชื้นได้ดี
ลักษณะเด่นของหญ้าแฝก
      หญ้าแฝกมีลักษณะเด่นอยู่หลายประการที่ช่วย การฟื้นฟูทรัพยากรดิน และการรักษาสภาพแวดล้อม จากข้อมูลการวิจัยในด้านต่าง ๆ สรุปผลได้ว่า หญ้าแฝกมีลักษณะเด่น ดังนี้
      1. มีการแตกหน่อรวมเป็นกอ เบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง
      2. มีการแตกหน่อและใบใหม่ ไม่ต้องดูแลมาก
      3. หญ้าแฝกมีข้อที่ลำต้นถี่ ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปี
      4. ส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ทำให้ควบคุมการแพร่ขยายได้
      5. มีใบยาว ตัดและแตกใหม่ง่าย แข็งแรง และทนต่อการย่อยสลาย
      6. ระบบรากยาว สานกันแน่น และช่วยอุ้มน้ำ
      7. บริเวณรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์
      8. ปรับตัวกับสภาพต่าง ๆ ได้ดี ทนทานต่อโรคพืชทั่วไป
      9. ส่วนที่เจริญต่ำกว่าผิวดิน ช่วยให้อยู่รอดได้ดี
การฟื้นฟูทรัพยากรดิน
      การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ จะมุ่งเน้นในเรื่องของการอนุรักษ์ดินและน้ำ ลดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน การช่วยเก็บกักตะกอนดินในพื้นที่ลาดชัน แต่จากผลของการศึกษาวิจัยพบว่า หญ้าแฝกยังมีลักษณะในด้านการฟื้นฟูทรัพยากรดินด้วย ซึ่งช่วยให้ดินมีศักยภาพในการให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่
      1. การเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ เนื่องจากระบบรากของหญ้าแฝกค่อนข้างมาก และหนาแน่น มีมวลชีวภาพสูง และเจริญแทรกลงไปในดิน ด้วยลักษณะดังกล่าว จึงเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน เมื่อรากบางส่วนตายไป สำหรับส่วนของใบพบว่า หญ้าแฝกเจริญได้ค่อนข้างเร็ว มวลชีวภาพสูง ดังนั้นการตัดใบคลุมดิน จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน และยังช่วยเร่งการแตกหน่อของหญ้าแฝกด้วย
      2. การเพิ่มปริมาณความชื้นในดิน ในระบบที่มีการปลูกหญ้าแฝกจะพบว่า ดินเก็บความชื้นได้ยาวนานกว่า เนื่องจากส่วนของรากหญ้าแฝกที่ประสานกันเป็นร่างแห จะช่วยดูดยึดน้ำไว้ในดิน ซึ่งเห็นได้จากไม้ผล หรือพืชไร่ที่เจริญใกล้แถวหญ้าแฝก จะมีการเจริญเติบโตที่ดีกว่าพืชที่ไม่ได้ปลูกใกล้หญ้าแฝก ปัจจัยหนึ่งคือ ระดับความชื้นในดินมีมาก และยาวนานกว่า
      3. การเพิ่มอัตราการระบายน้ำและอากาศ ระบบรากของหญ้าแฝกที่แพร่กระจาย มีส่วนช่วยให้ดินมีการระบายน้ำ และอากาศได้ดีมากขึ้นกว่าการไม่มีรากหญ้าแฝก
      4. การเพิ่มกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน บริเวณรากหญ้าแฝกพบว่า มีเชื้อจุลินทรีย์อยู่มากมายหลายชนิด ส่วนใหญ่มีผลดีต่อการเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารพืชในดิน ช่วยดูดธาตุอาหารจากดิน และส่งเสริมให้เกิดกิจกรรของเชื้อจุลินทรีย์ในบริเวณราก ลักษณะดังกล่าวส่งผลดีต่อการเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชในดิน
       จากปัจจัยดังกล่าว การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ดินเสื่อมโทรม หรือพื้นที่ดินมีปัญหา จึงมีส่วนช่วยฟื้นฟู และปรับปรุงดินมห้มีสภาพดีขึ้น เนื่องจากผลของอินทรียวัตถุที่เพิ่มขึ้น และกิจกรรมของเชื้อจุลินทรีย์บริเวณรากหญ้าแฝก รวมทั้งการมีความชื้นที่ยาวนานขึ้น สภาพดินจึงมีการพัฒนา และความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
การรักษาสภาพแวดล้อม
        หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีระบบรากหนาแน่นจำนวน มาก และเจริญในแนวลึกมากกว่าด้านข้าง ประกอบกับหญ้าแฝกเจริญเติบโตได้ในสภาพที่มีโลหะหนัก ลักษณะดังกล่าว จึงมีการนำหญ้าแฝกมาปลูกเพื่อใช้บำบัดน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท และดูดซับโลหะหนักจากดิน สำหรับวิธีการที่นำหญ้าแฝกไปปลูกเพื่อจุดประสงค์ในการรักษาสภาพแวดล้อม ได้แก่
      1. การปลูกหญ้าแฝกรอบขอบบ่อบำบัดน้ำทิ้ง เพื่อให้หญ้าแฝกช่วยดูดโลหะหนักบางชนิด
      2. การปลูกหญ้าแฝกในดินเพื่อดูดโลหะหนักจากดิน
      3. การปลูกหญ้าแฝก แล้วให้น้ำทิ้งไหลผ่านในอัตราการไหลที่เหมาะสม
      อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังมีนักวิจัยดำเนินการ เพื่อศึกษาวิจัยการนำหญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์ในการรักษาสภาพแวดล้อม และบำบัดน้ำทิ้งในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

Environmental Object คือ หญ้าแฝก
Environmental Data Object คือ หญ้าแฝกเป็นพืชที่เจริญเติบโตโดยการแตกกอ เส้นผ่าศูนย์กลางของกอประมาณ 30-40 เซนติเมตร ความสูงประมาณ 0.5-1.5 เมตร ใบหญ้าแฝกมีลักษณะแคบประมาณ 0.6-1.0 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 50-75 เซนติเมตร การเจริญเติบโตในแนวดิ่งมากกว่าแนวข้าง มีระบบรากยาวหยั่งลึก 1.5-3.0 เมตร แต่แผ่ขยายด้านข้างเพียง 50-60 เซนติเมตร สามารถเก็บกักน้ำและความชื้นได้ดี จึงนำมาช่วยในการอนุรักษ์ดินและน้ำ

ที่มา
การปลูกหญ้าแฝกเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรดินและสภาพแวดล้อม[ออนไลน์];http://www.ku.ac.th/e-magazine/aug49/agri/grass.htm (วันที่สืบค้นข้อมูล 31 กรกฎาคม 2555)

น.ส สุภัทรา พึ่งพเดช (แหม่ม)

วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ระบบเตือนภัยสึนามิ

 ระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิ (Deep-ocean Assessment and Reporting of Tsunami: Dart)

          ระบบที่ได้รับการออกแบบ โดยองค์กรการบริหารสมุทรศาสตร์ และบรรยากาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (Nation  Oceanic  and  Atmospheric           Administration: NOAA) เพื่อทำหน้าที่ในการเฝ้าสังเกตการณ์ ตรวจจับและวัดระดับน้ำ พร้อมทั้งรายงานการเกิดคลื่นสึนามิ  ทุ่นลอย (Buoy) 


          อุปกรณ์ลอยน้ำสำหรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือค้ำจุน ผลิตจากวัสดุที่มีความแข็งแรง ทนทาน ทนแดด และทนการกัดกร่อนของน้ำทะเล ไม่เป็นสนิม รวม          ทั้งมีสมอ  และสายโยงยึดสมอ ที่มีความเหนียวทนทานสูง ทุ่นลอยมีหลายชนิด เช่น ทุ่นบอกตำเหน่ง (Sea mark buoy ) ทุ่นผูกเรือหรือจอดเรือ           (Mooring buoy) ทุ่นตรวจจับโดยใช้คลื่นโซนาร์ (Sonobuoy) ทุ่นตรวจอากาศ (Weather buoy) และทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ (Tsunami buoy)           เป็นต้น  เครื่องบันทึกความดันน้ำ (Bottom Pressure Recorder: BPR)

          อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่วัดความดันที่เปลี่ยนแปลงของน้ำบริเวณพื้นมหาสมุทร พื่อใช้สำหรับการคำนวณหาระดับความ สูงของน้ำด้านบน ระบบนี้สามารถ          ตรวจจับคลื่นสึนามิ ที่มีแอมพลิจูดเล็กเพียง ๑ เซนติเมตรได้ รวมทั้งยังสามารถ บันทึกข้อมูลวัน และเวลาที่บันทึกข้อมูล ค่าแรงดันไฟฟ้าของ          แบตเตอรี่ รวมถึงการตรวจสอบและติดตามสถานภาพ ของอุปกรณ์ด้วย  ดาวเทียมอิริเดียม (Iridium Satellite)

          กลุ่มดาวเทียมวงโคจรต่ำ ที่มีวงโคจรความสูง จากผิวโลกไม่เกิน ๒,๐๐๐ กิโลเมตร นำมาใช้สำหรับงานด้านการสื่อสารโทรคมนาคม เช่น ระบบ          โทรศัพท์สื่อสาร  ผ่านดาวเทียมอิริเดียม เป็นต้น ซึ่งในการใช้งานต้องใช้ดาวเทียมเป็นจำนวนมาก (จำนวน ๖๖ ดวง) หรือที่เรียกว่า กลุ่มดาวเทียม           (satellite constellation) เพื่อช่วยเพิ่มระยะทางในการสื่อสารระหว่างดาวเทียมและผู้ใช้งานบนพื้นโลก  ระบบโทรคมนาคมรอบโลก (Global Telecommunications System: GTS)

         ระบบสื่อสารระหว่างหน่วยงานต่างๆ ด้านอุตุนิยมวิทยา ใช้เพื่อการแลกเปลี่ยนข่าวสาร เกี่ยวกับสภาพอากาศ รวมถึงการเตือนและเฝ้าระวังภัยสึนามิ          และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลระดับน้ำทะเล (Sea Level Data) และข้อมูลความไหวสะเทือน (Seismic Data) พร้อมทั้งถ่ายทอดความรู้ทาง         เทคนิคเกี่ยวกับการนำเสนอ และจัดแสดงข้อมูล โดยกรมอุตุนิยมวิทยา เป็นศูนย์กลางโทรคมนาคม ในภูมิภาค (Regional Telecommunication          Hub) ของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  โอเพ่นแคร์ (Open Exchange for Collaborative Activities in Response to Emergency: OpenCARE) 


         เครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและการแจ้งเตือนภัยพิบัติ ซึ่งเชื่อมโยงระบบการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างหน่วยงานบรรเทาสาธารณภัย         และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศและทั่วโลก เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการป้องกันและช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ






แหล่งที่มา

นายยุทธภูมิ  ปาใจประเสริฐ (ณุ) 5315046

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

"ไบโอเทค" ช่วยเหลือเกษตรกรฟื้นฟูดินเค็ม

ประเทศไทยมีพื้นที่ดินเค็มมากกว่า 21.7 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 17 จังหวัด การทำนาเกลือสินเธาว์แบบนาตาก ก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเกลือจากชั้นหินเกลือสู่ผิวดิน และเกิดการแพร่กระจายพื้นที่ดินเค็มอย่างรวดเร็ว ปัญหาดินเค็มส่งผลให้ผลผลิตการเกษตรลดลง 2-3 เท่า จนถึงไม่ได้รับผลผลิต และจากการประเมินผลกระทบของปัญหาดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 18 ล้านไร่ พบว่า ส่งผลให้ประเทศสูญเสียรายได้กว่า 2,500 ล้านบาท
ดร.เฉลิม พล เกิดมณี นักวิจัยจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค มูลนิธิสถาบัน ราชพฤกษ์ และบริษัทเกลือพิมายจึงร่วมจัดโครงการฟื้นฟูดิน ตาม "โครงการนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็ม" ด้วยการให้เกษตรกรปลูกข้าว ทั้งข้าวเหนียว ข้าวเจ้า และปลูกยูคาลิปตัสร่วมในคันนา พร้อมติดตามการเปลี่ยนแปลงระดับความเค็มของผลผลิตภายหลังการฟื้นฟู พบว่า การใช้อินทรียวัตถุร่วมกับปูนขาวสามารถเพิ่มผลผลิตของเกษตรกรได้ 1.1-2 เท่า
การ ประสบความสำเร็จของโครงการทำให้เกษตรกรในจังหวัดสกลนครและอุดรธานียอมรับและ เข้าร่วมโครงการมากขึ้น และคาดว่าจะขยายพื้นที่ต้นแบบให้ได้ 4,000 ไร่ ภายในพ.ศ. 2553

Environmental Object คือพื้นที่ดินเค็ม

ที่มา
ไบโอเทค ช่วยเหลือเกษตรกรฟื้นฟูดินเค็ม[ออนไลน์];เข้าถึงได้จาก www.phtnet.org/news52/view-news.asp?nID=138  (วันที่ดูข้อมูล 24 กรกฎาคม 2555)

น.ส สุภัทรา พึ่งพเดช (แหม่ม)

เอเยนซีกับผลงานเพื่อสิ่งแวดล้อม


        จากก่อนหน้านี้ที่นักการตลาดเริ่มพูดถึงประเด็นสีเขียวกันบ้างแต่ยังคงไม่มากนัก ปัจจุบันประเด็นสิ่งแวดล้อมกลายเป็นกระแสกล่าวขวัญกันอย่างกว้างขวาง  และเมื่อนักการตลาดตระหนักได้ว่าความยั่งยืนคือแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจทุกประเภท พวกเขาจึงเข้าหาคำแนะนำจากหุ้นส่วนความร่วมมือทางการตลาดกันมากขึ้น ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างเอเยนซีเด่นๆ ที่ช่วยขับเคลื่อนพลังงานสีเขียวให้กับโลกการตลาด





PHD


ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ช็อปด้านสื่อในเครือออมนิคอมกรุ๊ปแห่งนี้เปิดตัว PHD Sustain ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากแผนการด้านสื่อของ PHD  ทั้งนี้ ช็อปรวมทีมกับนักวิจัยจากยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ แคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ เพื่อวัดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากช่องทางสื่อแต่ละแห่ง ตัวอย่างเช่น ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่จำเป็นต่อการแสดงสปอตโฆษณา 30 วินาทีชิ้นหนึ่งๆ 


จากข้อมูลเหล่านั้น นำมาสู่ดัชนีวัดความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมของสื่อ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อนักวางแผนสื่อ  อุปกรณ์ซอฟต์แวร์แสดงให้เห็นว่าทางเลือกสีเขียว เช่น แผงป้ายบิลบอร์ดพลังงานแสงอาทิตย์ สามารถลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการวางแผนสื่อได้ 


ดังนั้น ในขณะที่นักวางแผนสื่อกำลังพิจารณาค่าใช้จ่าย CPM สำหรับลูกค้า เช่น Enterprise Rent-A-Car และ Discovery Communication พวกเขาสามารถบวกรวมประเด็นความยั่งยืนเข้าไปด้วยได้ "สำหรับผู้ที่ตระหนักในประเด็นความยั่งยืนจริง นั่นเป็นเรื่องสำคัญ" ซีอีโอแมตต์ เซเลอร์ แห่งบริษัท พีเอชดี อเมริกาเหนือ กล่าว 


PORTER NOVELLI


Porter Novelli ในเครือออมนิคอมได้พัฒนา PN Styles ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลผู้บริโภค 12,000 คนในสหรัฐฯ และระบบยังรวมถึงเซ็กเมนต์ที่ได้รับการตัดสินว่าสำคัญที่สุดสำหรับผู้ชมซึ่งเป็นผู้บริโภคสีเขียว  เมื่อเร็วๆนี้ ช็อปได้ช่วยฮิวเลตต์-แพคการ์ดเปิดตัวโครงการโซลูชั่นสิ่งพิมพ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแผนการของ HP Imaging and Printing Group   


RAPP COLLINS WORLDWIDE


เอเยนซีในเครือออมนิคอมเช่นกัน  Rapp Collins จัดตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมสำหรับองค์กร เพื่อพัฒนาทางเลือกสีเขียวและทางเลือกที่ยั่งยืนสำหรับการผลิตสิ่งพิมพ์ ตัวอย่างเมื่อเร็วๆนี้ เช่น แคมเปญไปรษณีย์ทางตรงของเป๊ปซี่โค  ส่วนแคมเปญของลิปตัน เพียวลีฟวางเป้าเจาะกลุ่มผู้บริโภคสินค้าสีเขียว และโฟกัสในทัศนคติด้านการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดีของผู้บริโภค โดยใช้กระดาษซึ่งรีไซเคิลจากขยะมา 30%   


KETCHUM


Ketchum ก่อตั้งเครือข่ายผู้ใส่ใจสิ่งแวดล้อมตามแนวปฏิบัติของเอเยนซี  เมื่อต้นปีที่ผ่านมานี้ เอเยนซีเปิดตัว Ketchum Sustainability Network ซึ่งประกอบด้วยทีมงาน 20 ชีวิตที่เชี่ยวชาญในโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน  นายเดฟ แชปแมน หุ้นส่วนและผู้อำนวยการช็อปคือแกนนำโครงการสีเขียวของเอเยนซีในเครือออมนิคอมแห่งนี้    Ketchum ร่วมสร้างแคมเปญโฟกัสด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลกมากว่า 30 แคมเปญ รวมถึงแคมเปญ "Help the Honey Bee" สำหรับฮาเก้น-ดาส ซึ่งเป็นการสนับสนุนโครงการวิจัยเพื่อปลูกฝังความยั่งยืน   


SAATCHI & SAATCHI


"เราไม่ได้ทำแค่ช่วงสั้นๆ" นายอดัม เวอร์แบค ซีอีโอ Saatchi & Saatchi S ในเครือปับลิซิสกล่าว เขาเสริมว่า "เราไม่ได้กระโจนเข้าหาโอกาส จริงๆแล้วเรารู้สึกว่าเราสร้างมันขึ้นมาตลอด"


แน่นอนว่านายเวอร์แบคไม่ใช่มือใหม่สำหรับผลงานเพื่อสิ่งแวดล้อม  เมื่อตอนอายุ 23 เขาคือประธานที่อายุน้อยที่สุดของ Sierra Club และก่อนที่เขาจะขาย Act Now Productions ให้กับซาทชิแอนด์ซาทชิ  นั่นคือเอเยนซีที่ผลักดันให้บริษัทต่างๆหันมาใช้แนวปฏิบัติเพื่อความยั่งยืน และในวันนี้ เขาคือหัวหอกผลงานสีเขียวของซาทชิแอนด์ซาทชิ ด้วยการนำทีม Saatchi & Saatchi S ที่จัดตั้งขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา     


นายเวอร์แบครับทีมงานเพิ่ม 15 ตำแหน่งเพื่อเสริมกำลังทีมงานหลัก 40 คนที่มาจาก Act Now  ทีมงานเหล่านี้ไม่ใช่พนักงานเอเยนซีธรรมดาๆ  ลูกทีมเด่นๆของเขา เช่น อดีตประธานฝ่ายพลังงานของ Clinton Global Initiative, ผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการผลิตด้วยประสบการณ์ 30 ปีในโรงงานผลิตรถยนต์ดีทรอยต์, ผู้เชี่ยวชาญด้านการบรรจุภัณ์สินค้าคอนซูมเมอร์, ผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์วงจรชีวิตสินค้า และสถาปนิกที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานผู้นำด้านการดีไซน์พลังงานและสิ่งแวดล้อม


 "เราเหมือนเป็นที่ปรึกษาด้านการจัดการมากกว่านักการตลาด" นายเวอร์แบคกล่าว  ลูกค้าสำคัญของเอเยนซี เช่น แบรนด์กรีนไจแอนท์ของเจเนอรัล มิลส์, บริษัทประกันสุขภาพเวลล์พอยต์ และร้านวอล-มาร์ท ซึ่งก่อนหน้านี้ได้แต่งตั้งให้นายเวอร์แบคเป็นที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน         


LEO BURNETT WORLDWIDE


แคมเปญระดับโลกสำหรับ World Wildlife Fund โดยลีโอเบอร์เนทท์อาจทำให้เอเยนซีเปลี่ยนภาพลักษณ์กลายเป็นเอเยนซีสำหรับนักการตลาดที่ไม่สัมพันธ์กับประเด็นความยั่งยืนโดยตรง ลีโอเบอร์เนทท์ในเครือปับลิซิสกรุ๊ปช่วยมูลนิธิ World Wildlife Fund เปิดตัวแคมเปญ "Earth Hour" ในปี 2007  และในปีนี้ เอเยนซีช่วยผลักดันแคมเปญโปรโมชันระดับโลก ด้วยการส่งเสริมให้เมืองใหญ่กว่า 40 เมืองทั่วโลกปิดไฟเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง    
  
นายเดวิด บร็อต รองประธานอาวุโสของลีโอเบอร์เน็ตต์ ซึ่งนำทีมสร้างผลงานในสหรัฐฯ กล่าวถึงโปรเจ็กต์นี้ว่า "เป็นผลมาจากการสนทนากับทีมบริหารเกี่ยวกับการทำให้เบอร์เน็ตต์เป็นสถานที่สีเขียวยิ่งกว่านี้ เราภูมิใจเป็นอย่างมากกับบทบาทที่เราได้เป็นผู้นำในที่นี้"     


MANNING SELVAGE & LEE(MS&L)


เมื่อปลายปีที่แล้วบริษัทเครือของปับลิซิสแห่งนี้เปิดตัวทีมงานระดับโลกของโครงการ Eco Network ซึ่งนำทีมโดยเชลา กรูเบอร์ แมคลีน และมีแกน จอร์แดน  สำหรับโฮมดีโป MS&L ช่วยเปิดตัวสินค้าไลน์ Eco Options ซึ่งได้แก่ อุปกรณ์ประหยัดพลังงานและสินค้าจากอุตสาหกรรมป่าไม้ที่ยั่งยืน


MS&L ระบุว่าสิ่งที่ทำให้ข้อเสนอสีเขียวของพวกเขาต่างจากเอเยนซีอื่นๆได้แก่การที่พวกเขาโฟกัสในการผลักดันคุณค่าทางธุรกิจ  ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการเน็ตเวิร์กของเขา เช่น เจเนอรัล มอเตอร์ส คอร์ป, ฟิลิปส์, โคคา-โคล่า โค, ไฟแนนเชียลไทม์ส และเบสท์ บาย โค    





DROGA5


เอเยนซีอิสระภายใต้ชื่อ Droga5 ขยายโครงการ Tap Project ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาน้ำดื่มสะอาดสำหรับเด็กทุกคนในโลก จากระดับท้องถิ่นเข้าสู่ระดับชาติในปีนี้  เอเยนซีขอความร่วมมือจากช็อปทั่วทุกภาคในสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็น ซาทชิแอนด์ซาทชิ, ฮิลล์ ฮอลิเดย์ และกูดบาย ซิลเวอร์สไตน์ แอนด์ พาร์ตเนอร์สในการสร้างแคมเปญสร้างสรรค์ตามตัวเมืองใหญ่เพื่อโปรโมตสัปดาห์น้ำดื่มโลก (World Water Week)  ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ร้านอาหารจะเรี่ยไรเงินบริจาคจากลูกค้าสำหรับน้ำดื่มที่โดยปกติแล้วพวกเขาจะได้รับบริการฟรี ยอดบริจาคจะนำไปสมทบกองทุนของยูนิเซฟ เพื่อช่วยเหลือเด็กๆในประเทศกำลังพัฒนาได้มีน้ำดื่มสะอาดเพื่อการบริโภค    


WEBER SHANDWICK


หน่วยปฏิบัติการ Cleantech และ Planet 2050 ของเวเบอร์ แชนด์วิคนำมาสู่ผลงานสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม  คลีนเทค ซึ่งบริหารงานโดยนายวิลเลียม เบรนท์ ทำงานร่วมกับบริษัทที่มีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานและใช้พลังงานหมุนเวียน ส่วนแพลนเน็ต 2050 ซึ่งนำทีมโดยนายเบรนแดน เมย์ เป็นหน่วยงานด้านความรับผิดชอบและความยั่งยืนขององค์กร  ซีเมนส์และฮันนีเวลล์ต่างเคยใช้บริการโครงการแนวปฏิบัติสีเขียวของเวเบอร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอินเตอร์พับลิก กรุ๊ป เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานทุกสาขาของเวเบอร์ในสหรัฐฯได้รับการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมนานาชาติ    


GOLINHARRIS


นายสก็อต แฟร์เรลล์ กรรมการผู้จัดการ GolinHarris คือแกนนำผู้ดูแล GeoImpact ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2007  เอเยนซีพีอาร์ในเครืออินเตอร์พับลิกแห่งนี้พัฒนาสารความยั่งยืนทั่วทุกแง่มุมของการสื่อสารสินค้าและองค์กร  GeoImpact ให้ความช่วยเหลือบริษัท ดาว เคมิคอล ในการบริหารโครงการความยั่งยืนระดับโลกของบริษัท  


OGILVY PUBLIC RELATIONS WORLDWIDE


เอเยนซีเป็นส่วนหนึ่งของ Greenery ในเครือโอกิลวี และจัดตั้งขึ้นเมื่อปลายปีที่ผ่านมา  นางเจมี โมเอลเลอร์ กรรมการผู้จัดการฝ่ายแนวปฏิบัติด้านการจัดการสาธารณะชนระดับโลกคือผู้นำและดูแลผลงานเพื่อสิ่งแวดล้อมของช็อปในเครือ WPP กรุ๊ปแห่งนี้  CDW ร่วมงานกับโอกิลวีเพื่อเปิดตัวโครงการความยั่งยืนและความเป็นพลเมืองบริษัทที่ดี  โครงการรวมถึงมาตราการเพื่อวัดร่องรอยความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมที่บริษัทเป็นผู้สร้าง  


HILL & KNOWLTON


บริษัทเครือ WPP นี้เข้าสู่พื้นที่สาขานี้ในฐานะผู้เชี่ยวชาญในทุกกฏเกณฑ์ โดยเอเยนซีเข้าถึงทั้งฝ่ายกหมาย ผู้ถือหุ้น และผู้ผลักดันทั้งหลาย  HSBC ขอความช่วยเหลือผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมของ Hill & Knowlton ในการสร้างสรรค์แคมเปญ "No Small Challenge" ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าเลือกใช้บริการทำธุรกรรมธนาคารโดยปราศจากกระดาษ  ตั้งแต่นั้นมา HSBC ได้ว่าจ้างเอเยนซีเพื่อสร้างความตระหนักในการเปิดตัวธนาคารสาขาแรกที่ได้รับการรับรองจาก LEED ในเมืองกรีซ นิวยอร์ก  


LANDOR ASSOCIATES


เมื่องานวิจัยของ Landor Associates ระบุว่าความยั่งยืนต้องผสานรวมเป็นหนึ่งกับองค์กรในฐานะแบรนด์  ดังนั้น เอเยนซีในเครือWPP กรุ๊ปแห่งนี้จึงตัดสินใจต่อต้านการจัดตั้งหน่วยงานสีเขียวที่เป็นอิสระจากหน่วยงานอื่นๆ และหันมาสนับสนุนการรวมฝ่ายความยั่งยืนและความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมไว้ทั่วองค์กร  นายรัส เมเยอร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์ระดับโลกคือแกนนำในการจัดสร้างผลงานสีเขียว  บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ใช้บริการผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมของเอเยนซีนี้ เช่น บีพี, นิวคอร์ป และเอิร์ธพาร์ค ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมในไอโอวา เป็นต้น  


EDELMAN


นายมิตเชลล์ ดี มาร์คสัน ประธานฝ่ายแบรนด์เพื่อการบริโภคและผู้อำนวยการด้านความสร้างสรรค์ระดับโลกคือผู้นำในโครงการ Goodpurpose ของ Edelman  เอเยนซีพีอาร์แห่งนี้กล่าวว่าโปรด้านความยั่งยืนของพวกเขาได้ให้ความช่วยเหลือวอล-มาร์ท, สตาร์บัคส์ และกองทุนมูลนิธิพิทักษ์สิ่งแวดล้อม


IMC2


เอเยนซีดิจิตอลอิสระภายใต้ชื่อ IMC2 เปิดตัว Clear Sky Digital Media ซึ่งเป็นเครื่องมือออนไลน์ฟรีที่นักการตลาดสามารถนำมาใช้เพื่อคำนวนร่องรอยคาร์บอนจากแคมเปญออนไลน์ของพวกเขา  Clear Sky Digital Media ซึ่งเป็นการพัฒนาร่วมกับ ICF International และนักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สามารถเปลี่ยนข้อมูลการซื้อสื่อออนไลน์ในแต่ละครั้งเป็นค่าพลังงานที่จำเป็นต่อการส่งโฆษณาของพวกเขาโดยมีหน่วยเป็นกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง  ค่าพลังงานที่ได้สามารถแปลงเป็นตัวเลขการปล่อยก๊าซคาร์บอน เพื่อนำมาวิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อเครดิตชดเชยจากองค์กรที่ให้เงินทุนสนับสนุนการลดก๊าซคาร์บอน    


HORIZON MEDIA


เป็นเอเยนซีที่สามารถลดปริมาณการใช้กระดาษสำหรับการซื้อสื่อลงได้เมื่อนำระบบที่มีชื่อเรียกว่า Eleven มาใช้ เพราะระบบนี้ไม่จำต้องใช้กระดาษแต่ก็สามารถรักษาข้อมูลการซื้อสื่อทีวี เคเบิล และวิทยุท้องถิ่นได้  "เราสามารถลดร่องรอยคาร์บอนจากกระบวนการนี้ได้ 100%" นางเอมี่ เบิร์ก รองประธานอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์แบรนด์กล่าวในสำนักงานของฮอริสันที่ลอสแองเจลลิส


หลายๆ เอเยนซีเริ่มหันมาสนใจสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น และพวกเขาไม่ใช่แค่รีไซเคิลกระดาษเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป


โครงการรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก (Tackling Climate Change) ของกลุ่ม WPP คือแผนการเพื่อลดการบริโภคพลังงานทั่วบริษัทโฮลดิ้งแห่งนี้  บริษัทระบุพื้นที่ 4 ฝ่ายที่ต้องอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งได้แก่ ออฟฟิศ ไอที การเดินทาง และการจัดซื้อ  WPPรายงานว่าปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ในออฟฟิศในอังกฤษประมาณ 70% มาจากแหล่งทรัพยากรหมุนเวียน  บริษัทวางแผนลดการใช้พลังงานจากคอมพิวเตอร์ในออฟฟิศทั่วโลกลง 30%       


เมื่อฤดูใบไม้ร่วงปีที่แล้ว Grey เปิดตัวแผนการ Green It Forward และเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมให้เอเยนซีโฆษณาในเมดิสันอเวนิวร่วมแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ส่วนเอเยนซีในเครือWPP เองได้พยายามลดร่องรอยคาร์บอน รวมถึงให้ส่วนลดแก่พนักงานองค์กรสำหรับการซื้อจักรยานมาใช้ในการเดินทาง 


ส่วน Organic ซึ่งเป็นเอเยนซีดิจิตอลในเครืออมนิคอมจับมือร่วมทีมกับ Live Neutral ซึ่งเป็นองค์กรไม่หวังผลกำไรในซานฟรานซิสโก เพื่อชดเชยร่องรอยคาร์บอนที่เอเยนซีปล่อยออกมา  ทั้งนี้ เอเยนซีนำผลสำรวจจำนวนพนักงานที่เดินทางมาทำงานที่เอเยนซีและบทวิเคราะห์สถิติด้านการเงินมาใช้เพื่อคำนวนก๊าซคาร์บอนที่เอเยนซีเป็นผู้สร้าง และจากนั้นจึงซื้อเครดิตคาร์บอนจาก Live Neutral เพื่อชดเชยความเสียหายที่เอเยนซีสร้างให้กับสิ่งแวดล้อม


บีบีดีโอ เวิลด์ไวด์ ในเครือออมนิคอมเชื่อมโยงผลงานเพื่อสิ่งแวดล้อมภายในเอเยนซีไว้กับลูกค้าหลายๆรายโดยผ่านทางแผนการ Project Greener Light   ตัวอย่างเช่น ออฟฟิศบีบีดีโอ สาขานิวยอร์กเปลี่ยนจากหลอดไฟกินพลังงานมาใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ทรงประสิทธิภาพของจีอีซึ่งเป็นลูกค้าสำคัญ ไม่เพียงเท่านี้ เอเยนซียังนำหลอดไฟประหยัดพลังงานเหล่านี้มาขายให้กับลูกค้าอีกรายหนึ่งอย่าง Lowe's ในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด 


มีเดียเวสต์ในเครือปับลิซิสตัดสินใจสร้างโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพนักงานในเอเยนซี ซึ่งมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 26 ปี ระบุให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก  นอกจากการรีไซเคิลแก้วและกระดาษเป็นปกติแล้ว  ออฟฟิศสาขานิวยอร์กได้เปิดตัวน้ำยาทำความสะอาดพื้นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเครื่องดูดฝุ่นแบบไร้ถุง  และแม้แต่อาหารเหลือของเอเยนซีก็ไม่สูญเปล่า เพราะหลังจากสิ้นสุดงานอีเวนท์ประจำออฟฟิศ อาหารที่เหลืออยู่จะบริจาคให้กับโครงการสำหรับเด็ก คนชรา และพวกไร้บ้าน    


อย่างไรก็ดี  เราพบหน่วยงานที่สวนกระแสสังคมในปัจจุบันเช่นกัน


กูดบาย ซิลเวอร์สไตน์ แอนด์ พาร์ทเนอร์ส ยังไม่มีแผนที่จะสร้างหน่วยงานสีเขียว  "สำหรับเรา นั่นเป็นการฉวยโอกาส" นายฮาโรลด์ โซการ์ด รองประธานเอเยนซีในเครืออมนิคอมกรุ๊ปกล่าว  "ในการโฆษณา เราสนับสนุนให้นำเสนอเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกรอบๆ ตัวเราและเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมป็อปอยู่ตลอดเวลา อันที่จริง ความเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมป็อปอยู่แล้วในตอนนี้ แต่การจัดตั้งหน่วยงานใหม่ที่แยกตัวออกมาจากเอเยนซีไม่ใช่ความคิดที่ฉลาดนัก ผู้คนในธุรกิจนี้พยามที่จะกระโดดเข้าร่วมเทรนด์และบอกว่าพวกเขาอยู่ที่นั่นแล้วมากเกินไป และนั่นเป็นเรื่องที่ผิด" 


แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ากู๊ดบายจะไม่คว้าโอกาสในการเข้าร่วมแคมเปญสีเขียว


ก่อนหน้านี้ เอเยนซีสร้างโฆษณาอนุรักษ์ผึ้งให้กับฮาเก้น-ดาซ และโฆษณาเพื่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ชื่อ "Dandelion" ให้กับฮิวเลตต์-แพคการ์ด และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ "Tap Pro ject" ของโดรกา5 



environmental object คือ เอเยนซีลดปริมาณการใช้กระดาษ



แหล่งที่มา :
เอเยนซีกับผลงานเพื่อสิ่งแวดล้อม. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://wms1.arip.co.th/businessnews.php?id=414117. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 24 กรกฏาคม 2555).


นางสาววรรณธกานต์  พยุงวงษ์ (วิว)

GIS กับโลกธุรกิจ


ในความเป็นจริงนั่นก็เป็นคำตอบที่ถูกต้องส่วนหนึ่ง แต่สำหรับโลกธุรกิจแล้ว เทคโนโลยี GIS ทำอะไรได้มากกว่านั้น โดยเฉพาะฝ่ายจัดจำหน่าย คุณสามารถวางแผนเส้นทางการเดินรถได้ว่า จากจุด ก ถึงจุด ข เส้นทางเดินรถสายไหนจะใกล้สุด? มีเส้นทางเลือกได้กี่ทาง? แต่ทว่า…นั่นเป็นแค่ความสามารถพื้นๆ ครับ
ในระบบซอฟต์แวร์แผนที่ที่มีราคาสูงขึ้นไป คุณสามารถหาข้อมูลได้ว่าในพื้นที่ไหน ภาคไหน มีจำนวนโรงแรม/โรงงาน/อาคารอยู่เท่าไร หรือสามารถประเมินจำนวนประชากรได้ว่าในพื้นที่นั้นๆ มีอยู่ประมาณเท่าไร ทั้งยังสามารถนำเสนอข้อมูลควบคู่ไปกับสภาพภูมิประเทศได้ด้วย (ที่ราบ ที่สูง แม่นำ้ ทะเลสาบ)
ข้อมูลที่ว่ามานี้เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการขายสินค้า รวมไปถึงแผนการจัดจำหน่ายได้มากทีเดียว แต่สำหรับในเมืองไทยนั้นผมเห็นมีบริษัทที่จัดทำระบบแผนที่นี้อยู่เพียง 1-2 บริษัท เพราะตลาดมีขนาดเล็ก ต้นทุนการผลิตสูง สนนราคาจึงไม่ค่อยน่าจูงใจให้นักการตลาดนำมาใช้งานสักเท่าไร
ฉะนั้นผมต้องขออนุญาตยกตัวอย่างจากกลุ่มประเทศในยุโรปไปตามระเบียบ ตัวอย่างเช่น Deutsche Telecom ที่เป็นเจ้าตลาดติด 1 ในสามของผู้ให้บริการโทรคมนาคมในยุโรป เขาจัดทำแผนที่ทั่วยุโรปออกจำหน่ายให้กับผู้สนใจทั่วไปในราคาเริ่มต้นเพียง 800 บาทเท่านั้น
ซอฟต์แวร์ดังกล่าวมีความสามารถมากเพียงพอที่จะค้นหาลงลึกได้ถึงระดับชื่อถนนสายหลักทั่วกลุ่มประเทศยุโรป (หากเป็นการค้นเฉพาะในประเทศเยอรมัน สามารถค้นหาได้ลึกถึงชื่อถนนแม้เป็นสายเล็กๆ) หรือคำนวณหาเส้นทางเดินรถ/ระยะทาง จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งได้อย่างเม่นยำ จัดทำขึ้นโดยการใช้เทคโนโลยีบอกพิกัดตำแหน่งผ่านดาวเทียม หรือ GPS (Global Positioning System)
สำหรับคนที่ต้องการข้อมูลเพิ่ม สามารถจ่ายเงินเพิ่มเพื่อซื้อข้อมูลตำแหน่งข้อมูลชื่ออาคาร โรงแรม และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เพิ่มเติมได้ ซึ่งราคาก็ตกราวหลักพันบาทเท่านั้น นอกจากนั้นคุณยังสามารถซื้อข้อมูลรายปีเพื่ออัพเดทข้อมูลเส้นทางเดินรถใหม่ หรืออาคาร/โรงแรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละปี
ลำพังเทคโนโลยี GIS นั้นหากนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ อาจจะเป็นเทคโนโลยีที่ติดปีกให้กับธุรกิจบางกลุ่ม แต่สำหรับการใช้ควบคู่กับธุรกิจผ่านเว็บแล้ว (เช่น online shop) ผมบอกได้แค่ว่ามันจะไม่ธรรมดา เพราะคุณจะเห็นตำแหน่งของกลุ่มเป้าหมายจากแผนที่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งมันจะช่วยให้คุณวางแผนทางการตลาดในระดับลึกได้มากขึ้น
อีกตัวอย่างที่มีความน่าสนใจไม่แพ้กันคือประเทศเกาหลี เพราะปัจจุบันเขานำปาล์มมาให้บริการนักท่องเที่ยว ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถดูแผนที่ และค้นหาข้อมูลการเดินทางรวมไปถึงสถานที่เที่ยวตลอดการเดินทางได้ตลอด(ผ่านระบบ GPRS) และในปีหน้าทางองค์การท่องเที่ยวเกาหลีเขาจะอัพเกรดให้ปาล์มทุกๆ เครื่องมีระบบ GPS ด้วย
นั่นหมายความว่า องค์การท่องเที่ยวของเขา สามารถเก็บข้อมูลเส้นทางและพฤติกรรมการเดินทางของนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการปาล์มในแต่ละคนได้ กล่าวได้ว่าได้ข้อมูลลึกชนิดเข้าถึงรูขุมขนทีเดียว เช่น นักเที่ยวชาวยุโรปจะเดินทางจากเมืองนี้ไปเมืองนี้, นักท่องเที่ยวชาวเอเชียจะเดินทางอยู่ในเมืองหลวง เป็นต้น
ข้อมูลเหล่านี้มีค่าสำหรับการวางแผนการโปรโมทการท่องเที่ยวของเขา รวมไปถึงการสร้างโอกาสใหม่ๆ ในธุรกิจท่องเที่ยวของเขาได้อเนกอนันต์ ….นี่แหละครับโลกใบใหม่…โลกแห่งข้อมูลข่าวสารครับ



environmental object คือ GIS กับโลกธุรกิจ



แหล่งที่มา :
GIS กับโลกธุรกิจ. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.arip.co.th/businessnews.php?id=404580. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 24 กรกฏาคม 2555).

นางสาววรรณธกานต์  พยุงวงษ์ (วิว)

เนคเทคติดตั้งเซ็นเซอร์เฝ้าระวังเขื่อนแตก

เนคเทคส่งเทคโนโลยีเฝ้าระวังความมั่นคง ฝังชุดเซ็นเซอร์วัดแรงดันแจ้งข้อมูลตามเวลาจริงตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน นำร่องเขื่อนรัชชประภา ดร.อุดม ลิ่มลมไพศาล นักวิจัยหน่วยปฏิบัติการวิจัยพัฒนาการควบคุมและระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม (ICA) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เปิดเผยว่า โซลูชั่นเฝ้าระวังเขื่อนด้วยเซ็นเซอร์วัดแรงดันน้ำที่เนคเทคพัฒนามีต้นทุนถูกกว่าเทคโนโลยีนำเข้าถึง 6 เท่าตัว ชุดเซ็นเซอร์ถูก นำไปติดตั้งในก้นหลุมความลึก 100 เมตร กว้าง 4 นิ้ว เพื่อตรวจวัดระดับน้ำ โดยการแปลงความสูงของระดับน้ำเป็นความดันน้ำในเขื่อน โดยระบบส่งข้อมูลจากเซ็นเซอร์ผ่านสายทองแดงขึ้นมายังหน่วยวัดคุมระยะไกล หรือ RTU ซึ่งจะเก็บข้อมูลของเซ็นเซอร์ 3-4 ตัวก่อนเชื่อมต่อเข้าด้วยกันที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ผ่านสายใยแก้วนำแสง เพื่อให้ข้อมูลทันสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง งานวิจัยดังกล่าวเป็นการต่อยอดองค์ความรู้จากการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร ที่เรียกว่า สกาดา (SCADA) ซึ่งเนคเทคเคย ทำมาก่อน อาทิเช่น หน่วยวัดคุมระยะไกล ที่รวบรวมข้อมูลจากแต่ละหัววัด ส่งผ่านระบบสื่อสารทั้งแบบมีสายและไร้สาย ผ่านไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ฐานข้อมูล รวมทั้งการติดต่อกับผู้ใช้งานแบบเรียลไทม์ เพื่อการวิเคราะห์ความปลอดภัยและความมั่นคงของเขื่อนได้ตลอดเวลา "ระบบที่พัฒนาช่วยให้เจ้าหน้าที่ทำงานง่ายเนื่องจากเป็นภาษาไทย นักวิจัยสามารถต่อยอดระบบได้ตลอดเวลา การใช้งานสอดรับกับสภาพอากาศเมืองไทยที่ร้อนชื้น ทั้งยังประยุกต์ใช้กับเขื่อนอื่นในไทย และประเทศเพื่อนบ้านที่สภาพอากาศคล้ายกัน โดยราคาเทคโนโลยี 9.9 ล้านบาท ถูกกว่านำเข้าจากออสเตรเลียที่มีราคาถึง 60 ล้านบาท แต่อัพเกรดระบบหรือซ่อมเองไม่ได้ ต้องเสียค่าบำรุงรักษาครั้งหนึ่งเป็น 10 ล้านบาททีเดียว" นักวิจัยกล่าว ที่ผ่านมา พนักงานประจำเขื่อนคอยตรวจสอบวัดแรงดันน้ำ โดยหย่อนหัววัดปริมาณน้ำฝนลงไปในหลุมลึก 100 เมตร เพื่ออ่านค่า และนำข้อมูลกลับมาป้อนลงคอมพิวเตอร์ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลแปลงเป็นแรงดันน้ำ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภาคใต้มีฝนตกชุกเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติงานตรวจวัดได้ไม่ ตรงตามตารางเวลา ค่าวิเคราะห์ที่เก็บต่างเวลาอาจส่งผลให้การคำนวณคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ได้ ระบบสื่อสารและจัดเก็บข้อมูลชุดตรวจวัดแรงดันน้ำของเขื่อน เป็นผลงานที่ทีมวิจัยเนคเทคพัฒนาขึ้นในปี 2551 และนำร่องใช้งานที่ เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียวเป็นแห่งแรก โดยความร่วมมือกับกองความปลอดภัยเขื่อน ฝ่ายบำรุงรักษาโยธา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป้าหมายเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่ต้นทุนต่ำ ใช้งานง่าย รายงานผลแรงดันน้ำในเขื่อนได้ตลอดเวลา เนคเทคมี แผนจะขยายผลงานวิจัยดังกล่าวไปยังเขื่อนวชิราลงกรณ์ ซึ่งก่อนหน้านี้ ใช้เทคโนโลยีของออสเตรเลีย หลังจากใช้งานผ่านไป 10 ปีต้องเสียค่าซ่อมบำรุงกว่า 10 ล้านบาท โดยอาศัยช่างบำรุงจากต่างชาติโดยตรง นายมะโนช มากจันทร์ หัวหน้ากองบำรุงรักษาโยธา เขื่อนรัชชประภา กล่าวว่า ระบบสื่อสารและจัดเก็บข้อมูลชุดตรวจวัดแรงดันน้ำในเขื่อน ช่วยให้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลเขื่อนทำงานได้ง่าย และสะดวกขึ้น โดยข้อมูลที่ได้สามารถส่งให้ฝ่ายบำรุงรักษาโยธา สามารถจัดสรรงบประมาณในการดูแลความมั่นคงของเขื่อนได้อย่างเหมาะสม หลังจากนี้ กองบำรุงรักษาโยธาเขื่อนรัชชประภา มีแผนขยายการติดตั้งให้ครอบคลุมทั้ง 27 หลุม จาก 19 หลุม ด้วยงบ 10 ล้านบาท คาดว่าจะใช้งบติดตั้งเพิ่มประมาณ 6 ล้านบาทจนแล้วเสร็จ








Environmental object คือ ความปลอดภัยของเขื่อน





ที่มา : เนคเทคติดตั้งเซ็นเซอร์เฝ้าระวังเขื่อนแตก [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก http://siweb.dss.go.th/news/show_abstract.asp?article_ID=2908.  (วันที่สืบค้นข้อมูล : 23 กรกฎาคม 2555).



น.ส.ประภาพรรณ   มีทอง (เกด)

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ถอดรหัสปฏิวัติเขียว

เมื่อเทรนด์ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมยังไม่อ่อนแรง ฉลากเขียวหรือ "คาร์บอนฟุตพริ้นต์" จึงได้เกิดในโลกอุตสาหกรรม

เมื่อความแรงของเทรนด์ด้านพลังงานและ
สิ่งแวดล้อมยังไม่อ่อนแรง ตราสัญลักษณ์ GMP (Good Manufacturing Practice : หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร) กับเครื่องหมาย อย. จึงไม่เพียงพอสำหรับการครองใจผู้บริโภค ส่งผลให้ภาคธุรกิจต้องมองหาตัวช่วยใหม่ที่แสดงถึงการลดใช้พลังงาน ซึ่งคำตอบก็คือฉลากเขียวหรือ "คาร์บอนฟุตพริ้นต์"
: ฉลากเขียวการันตี
รุ่งโรจน์ บุญฤทธิ์ลักขณา กรรมการบริษัท ไทยริชฟูดส์ กรุ๊ป จำกัด ผู้ผลิตอาหารแช่แข็ง กล่าวว่า การประเมินรอยเท้าคาร์บอน หรือ Carbon Foot Print ของสินค้า เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการอาหารในเริ่มให้ความสนใจ เพราะประโยชน์ของฉลากคาร์บอนจะช่วยบอกกับลูกค้าได้ว่า สินค้าที่ผลิตเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน ซึ่งกลายเป็นคำถามที่พบบ่อยมาก ณ ปัจจุบัน
ไทยริชฟูดส์ เป็น 1 ใน 20 โรงงานที่ได้รับฉลากคาร์บอนปิดผนึกลงบนสินค้า และกำลังส่งอาหารแช่แข็งแบรนด์ไทยไปวางในซูเปอร์มาร์เก็ตในตลาดยุโรป และอเมริกา
"แม้แต่ลูกตาลลอยแก้ว ตอนนี้ผู้ผลิตต้องบอกให้ได้ว่า กว่าจะได้ผลิตภัณฑ์ 1 กล่อง ต้องใช้ปุ๋ยและน้ำในการผลิตเท่าไร ซึ่งที่ผ่านมาเราไม่รู้เลยว่าจะหาคำตอบสำหรับคำถามนี้จากไหน"

แต่ ณ ปัจจุบัน แนวทางการประเมินรอยเท้าคาร์บอนเริ่มชัดเจนมากขึ้น มีการศึกษาและสร้างแนวทาง จนสามารถประเมินได้ทั้งระบบการผลิตจนถึงการจัดการของเสีย แม้กระทั่งค่าพลังงานการขนส่ง ข้อดีอีกประการของการทำคาร์บอนฟุตพริ้นต์ คือสามารถบริหารต้นทุนการผลิตสินค้า โดยคิดต้นทุนการผลิต และจัดการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดค่าใช้จ่ายได้อย่างแม่นยำ
ฉลากบนผลิตภัณฑ์ สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภค และเป็นช่องทางสำคัญที่ช่วยให้สินค้าส่งออกไม่ถูกตีกลับ

: เก็บเล็กผสมน้อย

ขณะที่ วีอาร์ฟู้ดส์ บริษัทผลิตผลไม้บรรจุกระป๋องและอาหารแช่แข็ง ให้ความสำคัญกับการทำ GMP มาโดยตลอด เริ่มพบว่า GMP อย่างเดียวไม่เพียงพอ เพราะการใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิต เป็นโจทย์ที่ประเทศคู่ค้าเริ่มถามถึงมากขึ้น จึงต้องมองหาเทคนิคการประหยัดและลดใช้พลังงานสำหรับการผลิตด้วย
นิรมิตร บุญช่วย ผู้จัดการฝ่ายผลิตวีอาร์ฟู้ดส์ กล่าวว่า โรงงานใช้เวลากว่า 2 เดือนลองผิดลองถูกกับการจัดการเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิต เช่น ตรวจสอบการเสื่อมสภาพของเตาแก๊สที่สิ้นเปลืองพลังงาน และเปลี่ยนมาใช้หัวเตาแก๊สประหยัดพลังงาน ซึ่งช่วยให้การเผาไหม้ดีขึ้น และประหยัดพลังงานลงได้ 20-30% หรือเทียบเป็นรายปีแล้วสามารถประหยัดค่าพลังงานได้ถึง 3.5 แสนบาท
เขายังปรับปรุงระบบละลายน้ำแข็งในห้องเย็น ทำให้ประหยัดค่าไฟลงไปได้อีกถึง 2 หมื่นบาทต่อเดือน อีกทั้งได้ระบบทำความเย็นที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น หากคิดเป็นตัวเลขรายปีหมายความความโรงงานจะประหยัดค่าไฟได้ถึง 1.5 แสนบาท
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงจุดเล็กๆ ที่เกิดขึ้นทุกวันในโรงงาน จนกลายเป็นความเคยชิน ซึ่งหากหันกลับมามองและพิจารณาให้ดี การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยได้สร้างมูลค่ามหาศาล โดยปัจจุบันโรงงานวีอาร์ฟู้ดส์ อยู่ระหว่างเก็บเกี่ยวผลประโยชน์
: มองหาความได้เปรียบ
สุพร คุตตะเทพ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Green Productivity กล่าวว่า สถาบันอาหารใช้เวลา 2 ปีที่ผ่านมา เสริมเขี้ยวเล็บให้กับอุตสาหกรรมอาหาร ด้วยมาตรการลดใช้พลังงานอย่างจริงจังกับโรงงานนำร่อง 84 แห่งทั่วประเทศ และ Green Productivity (GP, การเพิ่มผลผลิตสีเขียว) ซึ่งเป็นแนวทางการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีสะอาดและการลดปริมาณของเสีย เป็นอีกหนึ่งมาตรการที่นำมาใช้
ทั้งนี้ แนวคิดการทำ Best Practice ด้าน Green Productivity เริ่มต้นขึ้นในช่วง 4 ปี ที่ผ่านมา และได้โปรโมทแนวคิดออกไปยัง 20 ประเทศทั่วเอเชีย ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศแรกเริ่มให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์สีเขียวอย่างจริงจัง ภายใต้การสนับสนุนของสถาบันอาหาร
"ท่ามกลางการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่มีผู้บริโภคเป็นตัวขับเคลื่อนการผลิต การใส่ใจในปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำให้อุตสาหกรรมจำเป็นต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ดังนั้น การลดวัตถุดิบ พลังงานและน้ำ จึงยังเป็นโจทย์ที่ท้าทายอุตสาหกรรม ทำอย่างไรจึงจะเพิ่มผลผลิตควบคู่ไปกับการจัดการสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม ทุกวันนี้อุตสาหกรรมได้นำเอาเทคโนโลยีรวมถึงเทคนิคต่างๆ เข้ามาช่วยสร้างระบบการจัดการที่ดีกว่าในยุคก่อน"
อุตสาหกรรมอาหารของไทยมีมูลค่าส่งออกถึง 9.5 แสนล้านบาท กำลังไต่อันดับขึ้นไปอยู่ที่ 5 ของโลก ฉะนั้น การจัดการด้านพลังงาน น้ำเสีย สารพิษตกค้างอย่างมีระบบ จะทำให้สินค้าไทยมีความได้เปรียบมากขึ้นในอนาคต

Environmental object คือ ฉลากเขียว

แหล่งที่มา :


ถอดรหัสปฏิวัติเขียว.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
http://www.deqp.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=19600%3A2011-12-16-07-06-54&catid=12%3A2010-02-17-11-32-15&Itemid=50&lang=th. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 21 กรกฎาคม 2555).


นางสาวแสงเทียน ฤทธิไกรสร (แนน)

ขยะและของเสียอันตราย


       ในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา มีของที่หมดประโยชน์ใช้สอย หมดคุณภาพหรือชำรุดแตกหักมากมาย สิ่งของทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นวัสดุชิ้นเล็กๆ เช่น เศษกระดาษ เศษอาหาร เศษผ้า แก้วแตก หลอดไฟที่เสียแล้ว หรือวัสดุชิ้นใหญ่ๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ที่ชำรุดหักพัง พัดลมหรือตู้เย็นที่เสียใช้การไม่ได้เรียกว่า ขยะมูลฝอย ทั้งสิ้น เราพบขยะมูลฝอยได้ตามบ้านเรือนที่พักอาศัย ร้านค้า ตลาด โรงเรียน โรงพยาบาล  ตามท้องถนนน และในแม่น้ำลำคลองทั่วไป ขยะมุลฝอยเหล่านี้ ถ้าทิ้งกระจัดกระจาย ไม่เป็นที่เป็นทาง จะทำให้บ้านเมืองสกปรกไม่เป็นระเบียบ ขยะมูลฝอยที่บูดเน่านอกจากจะส่งกลิ่นเหม็น รบกวนผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคต่างๆ อีกด้วย
ขยะมูลฝอยอาจแบ่งออกได้ตามลักษณะส่วนประกอบของขยะมูลฝอยได้เป็น 10 ประเภท ได้แก่
1.  ผักผลไม้ และเศษอาหาร ได้แก่ เศษผัก เศษผลไม้ เศษอาหารที่เหลือจากการปรุงอาหารและเหลือจากการบริโภค เช่น ข้าวสุก เปลือก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ฯลฯ
2.   กระดาษ ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเยื่อกระดาษ เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ ใบปลิว ถุงกระดาษ กล่องดาษ ฯลฯ
3.  พลาสติก ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก เช่น ถุงพลาสติก ภาชนะพลาสติกของเล่นเด็ก ผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์กลาส ฯลฯ
4.  ผ้า ได้แก่ สิ่งทอต่าง ๆ ที่ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติและใยสังเคราะห์ เช่นฝ้าย ลินิน ขนสัตว์ ผ้าไนลอน ได้แก่ เศษผ้า ผ้าเช็ดมือ ถุงเท้า ผ้าขี้ริ้ว ฯลฯ
5.  แก้ว ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแก้ว เช่น เศษกระจก ขวด หลอดไฟ เครื่องแก้ว ฯลฯ
6.  ไม้ ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ ไม้ไผ่ ฟาง หญ้า เศษไม้ เช่น กล่องไม้ เก้าอี้ โต๊ะ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน ฯลฯ
7.  โลหะ ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ทำจากโลหะ เช่น กระป๋อง ตะปู ลวด ภาชนะ ที่ทำจากโลหะต่าง ๆ ฯลฯ
8.  หิน กระเบื้อง กระดูก และเปลือกหอย ได้แก่ เศษหิน เปลือกหอย เศษกระดูกสัตว์ เช่น ก้างปลา เครื่องปั้นดินเผา เปลือกหอย กุ้ง ปู เครื่องเคลือบ ฯลฯ
9.  ยางและหนัง ได้แก่ วัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางและหนัง เช่น รองเท้า กระเป๋า ลูกบอล ฯลฯ
10.  วัสดุอื่น ๆ ได้แก่ วัสดุไม่สามารถจัดเข้ากลุ่มต่างๆ ข้างต้น
ผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อสภาวะแวดล้อมมีอะไรบ้าง
ขยะมูลฝอยนั้น นับวันจะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนของประชากร ถ้าหากไม่มีการกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว ปัญหาความสกปรกต่าง ๆ ที่เกิดจากขยะมูลฝอย จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ถ้ามองกันอย่างผิวเผินแล้ว ขยะมูลฝอยนั้นไม่ได้มีผลกระทบต่อมนุษย์มากนักทั้งนี้อาจเป็นเพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยตรงต่อมนุษย์ ยังอยู่ในขั้นที่ไม่รุนแรงมากนัก ผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงไม่ชัดเจนเท่าไร แต่ในความเป็นจริงแล้ว ขยะมูลฝอยจะก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก และจะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ด้วย ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้เนื่องจาก
1. ขยะมูลฝอย เป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงนำโรค เช่น  แมลงวัน   แมลงสาบ ยุง ฯลฯ และเป็นที่ซุกซ่อนของหนูและสัตว์อื่น ๆ
2. ขยะมูลฝอย ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและก่อให้เกิดความรำคาญ
3. ขยะมูลฝอยที่ทิ้งเกลื่อนกลาด ถูกลมพัดกระจัดกระจายไปตกอยู่ตามพื้น ทำให้พื้นที่บริเวณ นั้นสกปรก ขาดความสวยงาม เป็นที่รังเกียจแก่ผู้พบเห็น และผู้ที่อาศัยบริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้ขยะมูลฝอยที่ตกอยู่หรือถูกทิ้งลงในคูคลอง หรือทางระบายน้ำ จะไปสกัดกั้นการไหลของน้ำ ทำให้แหล่งน้ำสกปรกและเกิดการเน่าเสีย
4. น้ำเสียที่เกิดจากกองขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ เป็นน้ำเสียที่มีความสกปรกสูงมาก ซึ่งมีทั้งสารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ เชื้อโรค และสารพิษต่าง ๆ เจือปนอยู่ เมื่อน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยไหลไปตามพื้นดินบริเวณใด ก็จะทำให้บริเวณนั้นเกิดความสกปรกและความเสื่อมโทรมของพื้นดินและอาจเปลี่ยนสภาพ ทำให้ดินมีคุณสมบัติเป็นดินด่างหรือดินกรดได้ ในกรณีที่น้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยไหลลงสู่แหล่งน้ำก็จะทำให้คุณภาพน้ำเสียไป ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำผิวดินหรือแหล่งน้ำใต้ดินก็ตาม ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้ใช้นั้นและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในแหล่งน้ำผิวดินหรือแหล่งน้ำใต้ดินก็ตาม ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้ใช้น้ำและสิ่งที่มีชีวิตที่อาศัยในแหล่งน้ำ น้ำที่สกปรกมากหรือมีสารพิษเจือปนอยู่ก็อาจทำให้สัตว์น้ำตายในเวลาอันสั้น นอกจากนั้นสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่เจือปนในน้ำ ก็จะส่งผลต่อระบบนิเวศของน้ำทำให้สัตว์น้ำที่มีค่าบางชนิดสูญพันธุ์ไป นอกจากนี้น้ำที่มีสิ่งสกปรกเจือปนย่อมไม่เหมาะแก่การอุปโภคบริโภค แม้จะนำไปปรับปรุงคุณภาพแล้วก็ตาม เช่น การทำระบบน้ำประปา ซึ่งก็ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำมากขึ้น
5. ขยะมูลฝอยทำให้เกิดมลพิษแก่อากาศขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ในเขตชุมชน หรือที่กองทิ้งไว้ในแหล่งกำจัดซึ่งไม่มีการฝังกลบ หรือขณะที่ทำการเก็บขนโดยพาหนะที่ไม่มีการปกปิดอย่างมิดชิด ขยะมูลฝอยเหล่านั้นส่งกลิ่นเหม็นน่ารังเกียจออกมา เศษชิ้นส่วนของขยะมูลฝอยและสามารถปลิวไปในอากาศ ทำให้เกิดความสกปรกแก่บรรยากาศ ซึ่งมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์และทำความสกปรกให้กับบริเวณข้างเคียง
นอกจานกนี้ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้นาน ๆ จะมีก๊าซที่เกิดจากการหมักขึ้นได้แก่ ก๊าซชีวภาพซึ่งติดไฟหรือเกิดระเบิดขึ้นได้ และก๊าซไข่เน่า (ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์) ซึ่งมีกลิ่นเหม็น
การแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยมีอะไรบ้าง
ขยะมูลฝอยมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทำให้เกิดการปนเปื้อนของพื้นดิน แหล่งน้ำและอากาศ ทำให้บ้านเมืองไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยไม่เป็นที่เจริญตาของผู้ที่ได้พบเห็น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยทั่วไป การแก้ไขปัญหาของขยะมูลฝอย จึงควรปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขผลเสียที่จะเกิดขึ้น สำหรับการป้องกันและแก้ไขที่ดีควรพิจารณาถึงต้นเหตุที่ก่อให้เกิดขยะมูลฝอยขึ้นมา ซึ่งก็คงจะหมายถึง มนุษย์ หรือผู้สร้างขยะมูลฝอย นั้นเอง
การป้องกันและการแก้ไขปัญหาของขยะมูลฝอยเริ่มต้นด้วยการสร้างจิตสำนึกแก่มนุษย์ให้รู้จักรับผิดชอบในการรักษาความสะอาดทั้งในบ้านเรือนของตัวเอง และภายนอกบ้าน ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง สถานที่ทำงาน หรือที่สาธารณะอื่น ๆ ให้รู้จัดทิ้งขยะมูลฝอยลงในภาชนะให้เป็นที่เป็นทาง ไม่มักง่ายทิ้งขยะเกลื่อนกลาด ทั้งนี้เป็นการช่วยให้พนักงานเก็บขยะนำไปยังสถานที่กำจัดได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
การเก็บและกำจัดขยะมูลฝอย
การเก็บและกำจัดขยะมูลฝอย รวมถึงการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยเพื่อส่งไปกำจัดที่สถานกำจัดขยะมูลฝอย มีขั้นตอนดังนี้
1. การเก็บรวบรวมขยะมูลฝอย
การเก็บรวบรวมขยะมูลฝอย คือการเก็บขยะมูลฝอยใส่ไว้ในภาชนะ เพื่อรอพนักงานเก็บขยะมูลฝอยมาเก็บขนไปเทใส่รวบรวมในรถบรรทุกขยะ และการที่พนักงานกวาดถนนเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยไว้ให้รถขยะ ขยะมูลฝอยที่รวบรวมจากแหล่งต่าง ๆ จะถูกนำไปถ่ายใส่ในรถบรรทุกขยะเพื่อที่จะขนส่งต่อไปยังสถานกำจัดขยะมูลฝอย
การเก็บรวบรวมขยะที่ถูกต้องภายในบ้านควรใช้ภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด น้ำไม่สามารถจะรั่วซึมได้ เช่น ถังเหล็กหรือถังพลาสติก การใช้ถังเหล็กอาจจะผุกร่อนได้ง่ายกว่าถังพลาสติกไม่ควรใช้เข่งในการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอย
2. การขนส่งขยะมูลฝอย
การขนส่งขยะมูลฝอย เป็นการนำขยะมูลฝอยที่เก็บรวบรวมได้จากแหล่งชุมชนต่าง ๆ ใส่ในรถบรรทุกขยะเพื่อนำไปยังสถานที่กำจัด ซึ่งอาจเป็นการขนส่งโดยตรงจากแหล่งกำเนิดขยะมูลฝอยไปยังสถานกำจัดเลยทีเดียว หรืออาจขนขยะมูลฝอยไปพักที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งเรียกว่า สถานีขนถ่ายขยะก่อนจะนำไปยังแหล่งกำจัดก็ได้
3. การกำจัดขยะมูลฝอย
วิธีการกำจัดขยะมูลฝอยที่ใช้ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีหลายวิธี เช่น นำไปกองทิ้งบนพื้นดิน นำไปทิ้งลงทะเล หมักทำปุ๋ย เผากลางแจ้ง เผาในเตาเผาขยะ และฝังกลบอย่างถูกหลักวิชาการ เป็นต้น การกำจัดขยะมูลฝอยดังที่กล่าวนั้น บางวิธีก็เป็นการกำจัดที่ไม่ถูกต้องทำให้เกิดสภาวะเป็นพิษต่อสภาพแวดล้อม และมีผลกระทบต่อสุขภาพของคนด้วย
วิธีการกำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกหลักวิชาการ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ไม่ทำให้บริเวณที่กำจัดขยะเป็นแหล่งอาหาร แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงนำโรค เช่นแมลงวัน ยุง และแมลงสาบ เป็นต้น
(2) ไม่ทำให้เกิดการปนเปื้อนแก่แหล่งน้ำและพื้นดิน
(3) ไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
(4) ไม่เป็นสาเหตุแห่งความรำคาญ อันเนื่องมาจาก เสียง กลิ่น ควัน ผงและฝุ่นละออง
วิธีการกองทิ้งบนดิน การนำไปทิ้งทะเลรวมทั้งการเผากลางแจ้ง ถือว่าเป็นวิธีการกำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้อง เพราะทำให้เกิดปัญหาภาวะมลพิษต่อสภาพแวดล้อม สำหรับวิธีที่ยอมรับทั่วไปว่าเป็นวิธีกำจัดที่ถูกต้อง คือ การเผาในเตาเผา การฝังกลบ และการทำปุ๋ย
ของเสียอันตราย
ของเสียที่เป็นอันตรายคืออะไร
ของเหลือทิ้งจากการอุปโภค บริโภคหรือสิ่งของเสื่อมสภาพจนใช้การไม่ได้แล้วตลอดจนของที่มุนษย์ไม่ต้องการจะใช้ต่อไปแล้วเรารวมเรียกว่า "ของเสีย" ของเสียบางชนิดไม่เป็นพิษภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมากนัก เช่นของเสียจำพวกเศษอาหาร เศษกระดาษ จากบ้านเรือนที่พักอาศัย แต่ของเสียบางชนิดเป็นอันตรายต่อชีวิตของมนุษย์และสัตว์ ตลอดจนส่งิแวดล้อมอื่นๆ อย่างมาก จำเป็นต้องเก็ บหรือกำจัดทิ้งไปโดยระมัดระวังให้ถูกหลักวิชาการ อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้ โดย เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการปนเปื้อนหรือสะสมอยู่ใน "ห่วงโซ่อาหาร" จะเป็นสาเหตุหรือทำให้เกิดการเจ็บป่วยอย่างเฉียบพลัน หรือ แบบเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้ เราเรียกของเสียประเภทนี้ว่า "ของเสียที่เป็นอันตราย" และในบางกรณีของเสีย ที่เป็นอันรายอาจมีลักษณะของความเป็นอันตรายหลายประเภทรวมกัน
ลักษณะของความเป็นอันตรายของของเสีย มีอะไรบ้าง
ของเสียที่เป็นอันตรายได้แก่ของเสียที่มีลักษณะของความเป็นอันตรายลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือหลายลักษณะรวมกัน ดังต่อไปนี้
1.    ของเสียเป็นพิษ หรือเจือปน หรือมีส่วนประกอบของสารที่เป็นพิษ เช่น มีส่วนประกอบของสารปรอท ตะกั่ว แคดเมียม สารหนู สารยาฆ่าแมลง เป็นพิษ
2.    ของเสียที่ติดไฟง่าย หรือมีส่วนประกอบของสารที่ติดไฟง่าย หรือสารไวไฟซึ่งอาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้ ถ้าเก็บไว ใกล้ไฟ หรือเมื่อมีอุณหภูมิสูงมาก ๆ
3.    ของเสียที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือด่างซึ่งสามารถกัดกร่อนวัสดุต่างๆ ตลอดจนเนื้อเยื่อของร่างกายมนุษย์หรือสัตว์
4.    ของเสียที่เมื่อทำปฎิกิริยากับสารอื่น เช่น น้ำ จะทำให้เกิดมีก๊าซพิษ ไอพิษ หรือควันพิษ หรือของเสียที่เมื่อได้รับการทำ ให้ร้อนขึ้นในที่จำกัดอาจเกิดการระเบิดได้
5.    ของเสียที่เป็นสารกัมมันตรังสี หรือมีสารกัมมันตรังสีเจือปนอยู่
6.    ของเสียที่เมื่อถูกน้ำชะล้าง จะปลดปล่อยสารที่เป็นอันตรายดังกล่าวข้างต้นออกมาได้
7.    ของเสียที่มีเชื้อโรคติดต่อปะปนอยู่
แหล่งที่มาของเสียที่เป็นอันตราย
ของเสียที่เป็นอันตรายมีที่มาจากแหล่งกำเนิดที่สำคัญ 3 แหล่ง ได้แก่
1.    โรงงานอุตสาหกรรม กากสารเคมีที่ได้จากขบวนการผลิต หรือสารเคมีที่เหลือใช้ภาชนะบรรจุสารเคมี ตลอดจนผลิตภัณฑ์ที่เสื่อมคุณภาพหรือไม่ได้มาตรฐาน รวมทั้งกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำทิ้งของโรงงาน เป็นของเสียอันตรายที่จะต้องได้รับการจัดการอย ่างถูกต้องของเสียเหล่านี้อาจมีทั้งประเภทที่มีลักษณะเป็นสารที่เป็นพิษ สารไวไฟ สารกัดกร่อน หรือมีหลายลักษณะรวมกัน ข ึ้นอยู่กับประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม
2.    ชุมชนหรือบ้านเรือนที่พักอาศัยของที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน บางชนิดอาจจะมีสารเคมีที่เป็นพิษหรือสารไวไฟ หรือสารกัดกร่อนเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยแม้ว่าของนั้นจะหมดสภาพการใช้งานแล้ว แต่สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบก็ยังคงเหลือความเป็นอันตรายในตัวเองอยู่ ถ้าดำเนินการกับของเสียนั้น ๆ อย่างไม่ระมัดระวังหรือไม่ถูกวิธี ก็จะทำให้สารเคมีที่อยู่ในของเสียนั้นรั่วซึมออกมาได้
3.    เกษตรกรรม ได้แก่ การผลิตและการใช้สารเคมีทางการเกษตร เช่น ยากำจัดแมลง ยากำจัดวัชพืช ยากำจัดเชื้อราที่เหลือใช้หรือเสื่อมคุณ ภาพ ภาชนะที่บรรจุยากำจัดศัตรูพืชต่าง ๆ ซึ่งอาจมีเศายาติดค้างอยู่ สารเคมีเหล่านี้มีความเป็นพิษในตัวของมันเอง บ างชนิดมีความคงทนไม่สลายตัวง่าย ทำให้มีฤทธิ์อยู่ได้นาน ส่วนใหญ่นอกจากจะมีพิษต่อศัตรูพืชแล้วยังมีพิษต่อม นุษย์ด้วย
ผลกระทบของของเสียที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
การจัดการของเสียที่เป็นอันตรายโดยไม่ระมัดระวัง หรือไม่ถูกต้องเหมาะสมจะก่อให้เกิดปัญหาพื้นฐานที่มีผลกระทบ ต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้ 4 ประการคือ
1.     ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง การสัมผัสหรือเกี่ยวข้องกับของเสียที่เป็นอันตรายซึ่งประกอบ้ดวยสารพิษที่ เป็นสารก่อมะเร็ง อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งได้โดยเฉพาะเมื่อได้รับสารเหล่านั้นเป็นเวลาติดต่อกันนานๆ อาทิ การหายใจเอาอากาศที่มีสารพวกไดออกซิน เบนซิน ฟอร์มาลดีไฮด์เข้าไปหรือกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนด้วยสารเคมีพวกยาฆ่าแมลง
2.    ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่น การที่ได้รับสารเคมีหรือสารโลหะหนักบางชนิดเข้าไปในร่างกาย อาจทำให้เจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆ จนอาจถึงตายได้ เช่น โรคทางสมองหรือทางประสาท หรือโรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกาย
3.    ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ สารโลหะหนัก หรือสารเคมีต่างๆ ที่เจือปนอยู่ในของเสียที่เป็นอันตราย นอกจากจะเป็นอันตรายยต่อมนุษย์แล้ว ยังเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ทั้งพืชและสัตว์ ทำให้เจ็บป่วยและตายได้เช่นกัน หรือถ้าได้รับสาร เหล่านั้นในปริมาณไม่มากพอที่จะทำให้เกิดอาการอย่างเฉียบพลัน ก็อาจมีผลกระทบต่อโครงสร้างของโครโมโซมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม นอกจากนี้การสะสมของสารพิษไว้ในพืชหรือสัตว์แล้วถ่ายทอดไปตามห่วงโซ่อาหาร ในที่สุดอาจ เป็นอันตรายต่อมนุษย์ซึ่งนำพืชและสัตว์ดังกล่าวมาบริโภค
4.    ทำให้เกิดผลเสียหายต่อทรัพย์สินและสังคม เช่น เกิดไฟไหม้ เกิดการกัดกร่อนเสียหายของวัสดุ เกิดความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลทางอ้อมทำให้เกิดปัญหาทางสังคมด้วย
วิธีการกำจัดของเสียที่เป็นอันตราย
วิธีการกำจัดของเสียที่เป็นอันตรายที่นำยมใช้ได้แก่
1.     ฝังดิน คือการนำของเสียไปฝังในบ่อดินที่ขุดเตรียมไว้ ต้องบุก้นบ่อและผนังโดยรอบด้วยวัสดุกันซึม เช่น ดินเ หนียว หรือแผ่นพลาสติก เพื่อป้องกันไม่ให้ของเสีย หรือน้ำเสียจากของเสียไหลซึมออกไปปนเปื้อนภายนอกโดยที่ก้นบ่อจะมีท่อ รับน้ำเสียเพื่อนำไปบำบัดด้วย และเมื่อฝังของเสียจนเต็มบ่อแล้วจะต้องปิดบ่อด้วยแผ่นพลาสติก หรือดินเหนียวด้วย
2.    ทิ้งทะเล โดยบรรจุของเสียใส่ภาชนะที่ปิดมิดชิด ป้องกันการรั่วไหลของของเสียแล้วนำไปทิ้งในทะเลลึก ไม่น้ อยกว่า 2,000-4,000 เมตร ให้ภาชนะที่บรรจุของเสียนั้นวางอยู่บนชั้นดินหรือชั้นทราบของทะเล หรือให้ภาชนะนั้นฝังลงในชั้นดินหรือชั้นทรายของทะเลที่มีความหนาไม่น้อยกว่า 10-30 เมตร
3.    ปล่อยให้ซึมในชั้นดิน โดยอัดฉีดของเสียลงในบ่อที่มระดับความลึกกว่าระดับน้ำใต้ดินและน้ำบาดาล เพื่อให้ของเสียนั้นซึมและกระจายอยู่ในชั้นดิน โดยไม่มีผลกระทบต่อน้ำใต้ดิน

environmental object คือ ขยะและของเสียอันตราย

ที่มา
ขยะและของเสียอันตราย. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://supattraja.igetweb.com/index.php?mo=3&art=445246. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 20 กรกฎาคม 2555).

นายอธิคม  คำสอนทา  (ก๊อบ)

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความคลั่งไคล้ iPad ส่งผลต่อโลกอย่างไร



บรรยายใต้ภาพ:  ผลเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของ iPad 
    กับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมอื่นๆ
 

 บรรยายใต้ภาพ: ผลเปรียบเทียบการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของ iPad แต่ละรุ่น
 
คุณ ทราบหรือไม่ว่า บริษัทแอปเปิลได้จำหน่าย iPad จำนวน 55 ล้านเครื่องตั้งแต่เปิดตัวเมื่อปีพ.ศ. 2553 อาจจะจริงที่กระดานชนวนยุคไฮเทค ( iPad)  สามารถช่วยให้คุณจัดการกับชีวิต แต่อะไรล่ะที่เครื่องมือชนิดนี้ทำกับโลก แม้กระดานชนวนยุคไฮเทคมีข้อดีตรงที่มีหน้าจอ LCD ซึ่งปราศจากสารหนูและสารปรอท ตัวเครื่องผลิตจากอลูมิเนียมและแก้วซึ่งสามารถนำมารีไซเคิลได้ แต่เมื่อทราบถึงข้อดีของกระดานชนวนยุคไฮเทคแล้ว จะไม่อธิบายข้อเสียก็กระไรอยู่ iPad ใช้ไฟฟ้าหล่อเลี้ยงการทำงาน 2.5 วัตต์หรือเทียบเท่าปริมาณไฟฟ้า 1 ใน 5 ที่ใช้หล่อเลี้ยงหลอดฟลูออเรสเซนต์ และปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากระบวนการผลิตกระดานชนวนตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  iPad หนึ่งเครื่องปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 180 กิโลกรัม ซึ่งมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ดังนี้ 67 เปอร์เซ็นต์มาจากกระบวนการผลิต 25 เปอร์เซ็นต์มาจากการใช้งาน 6 เปอร์เซ็นต์มาจากการขนส่ง และ2 เปอร์เซ็นต์จากการบวนการรีไซเคิล ทั้งนี้ iPad เพียงหนึ่งเครื่องมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์เทียบเท่ากับการ ขับรถยนต์ในระยะทางประมาณ 828 กิโลเมตร การผลิตหนังสือจำนวน 24 เล่ม และเท่ากับกองหนังสือพิมพ์รายวัน 3 ปี โดย iPad แต่ละรุ่นมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แตกต่างกัน iPad ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 130 กิโลกรัม iPad 2 ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า iPad รุ่นอื่นๆ แต่ก็ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงถึงถึง 105 กิโลกรัม ส่วน New iPad ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดสูงสุดถึง 180 กิโลกรัม โดยเฉลี่ยแล้ว iPad ทั้งสามรุ่นปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 7,590,000 เมตริกตัน หรือเทียบเท่าปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากท่อไอเสียรถยนต์ 1,265,000 คันในหนึ่งปี

พอ อ่านข้อเสียของกระดานชนวนยุคไฮเทคจบ หลายคนอาจสงสัยว่าแล้วบริษัทแอปเปิล...ซึ่งไม่ได้ผลิตแค่กระดานชนวนไฮเทค เพียงอย่างเดียว...จะใช้ต้นทุนทางพลังงานในการผลิตเยอะไหมหรือจะก่อมลพิษ เยอะไหม แต่มาดูเฉลยพร้อมกันเลยดีกว่า iTunes และ iCloud ต้องการกระแสไฟฟ้าจำนวนมหาศาลเพื่อหล่อเลี้ยงเครื่องเซิร์ฟเวอร์และระบบ ทำความเย็น ซึ่งมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงถึง 100 เมกะวัตต์ต่อปีหรือเทียบเท่ากับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านเรือนจำนวน 80,000 หลัง ซึ่งในปัจจุบันบริษัทแอปเปิลกำลังดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสง อาทิตย์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ใน iDataCenter ทั้งนี้ ไฟฟ้ามีที่มาจากแหล่งกำเนิดต่างๆ อันได้แก่ พลังงานเชื้อเพลิง 5 เปอร์เซ็นต์ พลังงานถ่านหิน 46 เปอร์เซ็นต์ พลังงานนิวเคลียร์ 23 เปอร์เซ็นต์ พลังงานแสงอาทิตย์ 20 เปอร์เซ็นต์ และพลังงานแหล่งอื่นๆ 6 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ โรงงานหลายโรงของบริษัทแอปเปิลระบายน้ำเสียลงสู่ท่อระบายน้ำโดยไม่ผ่านการ บำบัดเสียก่อน โดยโรงงานโรงหนึ่งปล่อยน้ำเสียลงสู่ไร่นา นอกจากนี้ยังพบปริมาณการปนเปื้อนของโลหะหนักสูงถึง 56 เท่าจากระดับปกติบริเวณทะเลสาบแห่งหนึ่ง ส่วนโรงงานจำนวน 72 โรงจัดเก็บสารเคมีผิดวิธี ทั้งนี้ คนงานจำนวน 137 คนได้รับบาดเจ็บหลังจากทำความสะอาดหน้าจอ iPhone ด้วยสารเฮกเซน ส่วนคนงาน 4 คนเสียชีวิตจากเหตุระเบิดโรงงานผลิต iPad

แต่ ทั้งนี้ บางคนอาจจะแคลงใจว่าตั้งแต่เปิดตัวผลิตภัณฑ์ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา บริษัทแอปเปิลได้จำหน่าย iPad ไปแล้ว 55 ล้านเครื่อง แล้วบริษัทแอปเปิลจะคำนึกถึงขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ของบริษัท ไหม บริษัทแอปเปิลทำการการรีไซเคิลขยะ

อิเล็กทรอนิกส์ จากผลิตภัณฑ์ iPad 13.16 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ จำนวนประเทศที่จำหน่ายสินค้าของบริษัทแอปเปิลร้อยละ 95 รีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตจากบริษัทแอปเปิล นอกจากนี้ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2537 บริษัทแอปเปิลได้ทำการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 115, 504 เมตริกตัน ซึ่งหนักกว่าน้ำหนักของเรือบรรทุกเครื่องบินนิมิตซ์

 ที่มา

ความคลั่งไคล้ iPad ส่งผลต่อโลกอย่างไร. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=15&cno=3337. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 20 กรกฎาคม 2555).

นางสาวหิรัญญิกา   ศรีวงษ์กลาง(จ๋อม)

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สุดยอดนวัตกรรมประจำออฟฟิศ! เครื่องรีไซเคิลขยะกระดาษให้เป็น “ทิชชู”

                  บริษัท Oriental Co, Ltd  ประเทศญี่ปุ่น ปฏิวัติวงการรีไซเคิลด้วยการเปิดตัว “White Goat” สุดยอดเครื่องรีไซเคิลประจำสำนักงาน ที่จะเปลี่ยน “ขยะกระดาษ” ภายในออฟฟิศให้กลายเป็น “กระดาษชำระ” แบบม้วนได้ทันใจภายในเวลาเพียง 30 นาที



                  เคยหรือไม่? เวลาที่ใช้สมองเค้นไอเดียหรือร่างแผนงานต่างๆ แทบตาย แต่สุดท้ายเจ้านาย (หรือลูกค้า) กลับไม่ปลื้ม ทำให้เกิดอาการเซ็งสุดๆ จนแทบอยากเอาผลงานมาทำเป็นกระดาษเช็ดก้นให้หายแค้น



                  อีกไม่นาน เอกสารที่ไม่เป็นที่ต้องการ ภายในออฟฟิศ จะถูกคนญี่ปุ่นนำมาทำเป็นกระดาษชำระ โดยผ่านทางเครื่องรีไซเคิลกระดาษที่มีชื่อว่า “White Goat” ของบริษัท Oriental Co, Ltd ที่คว้ารางวัลชนะเลิศ “Monozukuri Nippon” มาแล้ว โดยเจ้าหน้าที่ของบริษัท Oriental Co, Ltd ได้ระบุว่าเครื่อง “White Goat” จะช่วยลดการตัดต้นไม้ได้มากถึง 60 ต้นต่อปี ทั้งยังช่วยลดการทิ้งกระดาษที่ใช้ในสำนักงานไปโดยเปล่าประโยชน์อีกด้วย โดยวิธีนี้มีค่าใช้จ่ายในการรีไซเคิลกระดาษสำนักงานให้กลายเป็นกระดาษชำระประมาณ 10 เยน (3.7 บาท) ต่อ 1 ม้วนเท่านั้น


                 

                 “White Goat” คือ เครื่องรีไซเคิลกระดาษ ที่จะเปลี่ยนขยะประเภทกระดาษภายในสำนักงาน ให้กลายเป็นกระดาษชำระภายในเวลาเพียง 30 นาที โดยกระดาษชำระ 1 ม้วนนั้น จะใช้กระดาษขนาด A4 ประมาณ 40 แผ่นเป็นวัตถุดิบ ซึ่งวิธีการก็คือ นำกระดาษที่ผ่านเครื่องทำลายเอกสารเรียบร้อยแล้วมาใส่ลงในเครื่องรีไซเคิล “White Goat” หรือสามารถที่จะนำกระดาษมาผ่านเครื่องทำลายเอกสารที่ติดตั้งอยู่ภายใน “White Goat” เลยก็ได้ หลังจากนั้นก็รอเพียง 30 นาที ในระหว่างนี้เศษกระดาษที่อยู่ในเครื่องจะถูกแช่น้ำและผ่านกระบวนการต่างๆ จนกลายเป็นเยื่อกระดาษ (สิ่งแปลกปลอมต่างๆ จะถูกคัดแยกออกในขั้นตอนนี้) จากนั้นเยื่อกระดาษที่ได้จะถูกรีดให้แบนแล้วอบแห้ง ก่อนที่จะถูกนำไปม้วนลงบนแกน แล้วส่งออกมาทางช่องบริเวณด้านล่างของตัวเครื่อง ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติทั้งสิ้น และกระดาษชำระแต่ละม้วนนั้นจะมีราคาอยู่ที่ 10 เยน หรือ 11 เซน เท่านั้น ในขญะที่กระดาษชำระที่ขายตามร้านค้าทั่วไปจะมีราคาอยู่ที่ประมาณ 60 เซนเลยทีเดียว

            

environmental object คือ เครื่องรีไซเคิล "ขยะกระดาษ" ให้เป็น "กระดาษชำระ"



ที่มา :


สุดยอดนวัตกรรมประจำออฟฟิศ! เครื่องรีไซเคิลขยะกระดาษให้เป็น “ทิชชู”. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://thanachotosc.blogspot.com/2011/03/blog-post_6530.html. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 19 กรกฎาคม 2555).



น.ส.ศศิธร ระหงษ์ (ตุลา)

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รับมือโลกร้อนด้วยภาพถ่ายดาวเทียม


สทอภ.ตั้งธงประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม วางแผนรับมือโลกร้อน จัดการพิบัติภัยจากธรรมชาติ ยอมรับไทยเป็นน้องใหม่ด้านเทคโนโลยีดาวเทียม

ดร.ธงชัย จารุพพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ. เปิดเผยว่า สำนักงานร่วมมือกับหน่วยงานที่ใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายดาวเทียม เช่น กรมแผนที่ทหาร สมาคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย สมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย สมาคมขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย เผยแพร่ความก้าวหน้าเทคโนโลยีดาวเทียมของไทย หลังจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงแรกของประเทศไทย หรือ ธีออส ขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 1 ต.ค.2551 โดยหวังให้เกิดการใช้งานที่แพร่หลายมากขึ้นในอนาคต

การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมเป็นเรื่องสำคัญ โดยขีดความสามารถของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อนำมาปรับใช้จะก่อให้เกิดประโยชน์หลายด้าน โดยเฉพาะการจัดการภัยพิบัติ และรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะโลกร้อน ไม่ว่าจะเป็น การจัดการด้านการเกษตร สิ่งแวดล้อมและป่าไม้

"ภาพถ่ายดาวเทียมสามารถใช้วางแผนรับมือความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ดิน ปริมาณฝน จัดการพื้นที่ป่าไม้ ทรัพยากร เพื่อรับมือและแก้ปัญหาภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น" ดร.ธงชัย กล่าวในการประชุมวิชาการเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งชาติ ประจำปี 2551 หัวข้อ "รับมือการเปลี่ยนแปลงของโลกด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ"

ดร.ดาราศรี ดาวเรือง รองผู้อำนวยการ สทอภ. กล่าวเสริมว่า การพัฒนาดาวเทียมทั่วโลกเน้นเพื่อ 4 จุดประสงค์หลัก ได้แก่ การสำรวจภาคพื้นดิน มหาสมุทร ชั้นบรรยากาศ และปริมาณฝน สำหรับดาวเทียมธีออสของไทยสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในเรื่องการสำรวจภาคพื้นดิน คาดว่าการประยุกต์ใช้งานจะแพร่หลายมากขึ้นในอนาคต

นอกจากนี้ ซอฟต์แวร์ช่วยประมวลผลภาพถ่ายดาวเทียม ก็เป็นส่วนประกอบสำคัญ หากไม่มีซอฟต์แวร์จำแนกภาพถ่าย จะไม่สามารถใช้ประโยชน์ภาพถ่ายดาวเทียม ด้วยเหตุนี้ สทอภ.จึงสนับสนุนทุนวิจัยแก่นักเรียน นักศึกษารวมถึงนักวิจัย เพื่อพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปที่ช่วยเพิ่มรูปแบบการใช้งานได้หลากหลายขึ้น คาดว่าจะเห็นผลได้ภายใน 3 - 5 ปี

"ต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังเป็นน้องใหม่ ในเรื่องเทคโนโลยีดาวเทียมเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย หรือแม้แต่จีน ซึ่งให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีดาวเทียมค่อนข้างมาก แต่ประเทศไทยก็พยายามพัฒนาศักยภาพของตัวเอง พร้อมกับประสานความร่วมมือกับนานาชาติไปพร้อมกันด้วย" รองผู้อำนวยการ สทอภ. กล่าว




Environmental object คือ การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม
ที่มา
“รับมือโลกร้อนด้วยภาพถ่ายดาวเทียม . [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/science/20090121/8976/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1.html. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 17 กรกฎาคม 2555).

นางสาววรรณธกานต์  พยุงวงษ์ (วิว)


วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ภาคธุรกิจตื่นตัวกับเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ‘GO GREEN’

มร. Paulius Kuncinas บรรณาธิการฝ่ายภูมิภาคบริษัทอ๊อกฟอร์ด บิสสิเนสกรุ๊ป ให้ความเห็นว่าธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ได้ตัดสินใจเข้าร่วมกับแนวคิดรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อม ‘going green’ โดยเล็งเห็นว่าแต่ละธุรกิจจะมี  โนวโน้มในการใช้เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมที่สูงขึ้นถ้าหากมีการรับรองและนำกฎข้อบังคับที่เป็นมาตรฐานเดียวกันมาใช้ “ในขณะที่ผู้นำทางธุรกิจจำนวนมากเข้าใจถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ในส่วนของการรับรองระดับภูมิภาคเบื้องต้น และประโยชน์ที่เป็นจุดเด่นของด้านเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมและข้อมูลที่ชัดเจนจะเป็นตัวผลักดันให้อุตสาหกรรมเติบโตขึ้นไปพร้อมกับความมั่นใจของนักลงทุน  “เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมได้รวมเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักของการเพิ่มมูลค่า พร้อมทั้งสามารถมองเป็นสินค้าสาธารณะและแหล่งผลิตที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นอกเหนือจากนั้นยังสามารถประหยัดและลดต้นทุนพลังงานได้ถึง  40-60 เปอร์เซ็นต์" พร้อมกล่าวเสริม" แต่ในกรณีที่ไม่มีการรับรองที่ชัดเจนก็เป็นเรื่องยากสำหรับบริษัทที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับแนวคิดเพื่อสิ่งแวดล้อมหรือ  ‘going green’ ว่าประโยชน์และการลงทุนที่ได้รับจะคุ้มค่าหรือไม่ เนื่องจากนักลงทุนต่างเกรงว่าแนวคิดเพื่อสิ่งแวดล้อมหรือเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน อาจไม่ได้รับพิจารณาว่าเป็นแนวคิดเพื่อสิ่งแวดล้อมหรือเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมในอีกสองสามปีข้างหน้าก็เป็นได้" มร. Kuncinas ยังได้ให้แนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับเรื่อง 'อาคารสีเขียวหรือกรีนบิวดิ้ง - แนวโน้มธุรกิจในอนาคตของเอเชีย' ในงาน ‘Greenright อินโดนีเซีย, Green Buildings Conference and Expo 2012' ซึ่งจัดโดยสภาอาคารสีเขียวหรือสภากรีนบิวดิ้งของประเทศอินโดนีเซียที่ศูนย์การประชุมจาการ์ตาเมื่อวันที่ 11-13 เมษายน ที่ผ่านมาอีกด้วย และยอมรับว่า ผู้นำทางธุรกิจมีความกังวลเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมมากกว่ากระบวนการรับรองมาตรฐานและกฎข้อบังคับที่ไม่แน่นอน พร้อมตั้งข้อสงสัยในประเด็นสำคัญต่างๆ เช่น เมื่อลงทุนกับกรีนบิวดิ้งไปแล้วเมื่อไรถึงจะคุ้มทุน หรือเทคโนโลยีและกระบวนการต่างๆ ที่ใช้จะต้องปรับเปลี่ยนอย่างไรให้เหมาะกับสภาพภูมิอากาศเขตร้อน ทั้งนี้ เขายังถามต่อว่า “เราจะประเมินมูลค่าหรือประโยชน์ของการรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อม (going green) กับการลงทุนของเทคโนโลยีที่มีราคาแพงอย่างไร?โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ไม่มีแรงจูงใจด้านภาษีและกฎระเบียบเข้ามาเกี่ยวข้อง”  นอกจากนี้ยังได้เน้นถึงความกังวลของผู้นำทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับบุคคลากรในแต่ละภูมิภาคที่ขาดความรู้ความเชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมและบริษัทต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนที่ไม่คุ้นเคยกับพื้นที่ หรืออาจจะเป็นข้อกังวลเกี่ยวกับราคาที่สูงเกินไป "ความท้าทายอีกประการหนึ่งคืออุปสรรคของการจัดสรรทรัพยากรภายนอก" พร้อมเสริมว่า "แม้ว่าเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้นั้นไม่ค่อยมีความซับซ้อน แต่บริษัทยังขาดบุคคลากรภายในที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดการสร้างและออกแบบอาคารสีเขียวหรือกรีนบิวดิ้ง ในขณะที่หลายบริษัทยังเกรงว่าการนำบุคคลากรภายนอกเข้ามาจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นหรือเกรงว่าผลลัพธ์ที่ได้ออกมาที่ไม่เหมาะกับความต้องการ"  ถึงอย่างไรก็ตามผู้นำทางธุรกิจในแต่ละภูมิภาคมีความตื่นตัวเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเพื่อนำมาใช้ในระยะยาว ทั้งยังเอื้อประโยชน์ต่อการรับผิดชอบทางสังคม (CSR)  “ไม่ว่าจะอยู่ในห้องเรียน ที่ทำงาน ห้างสรรพสินค้าหรือสถานที่อยู่อาศัย การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมก็ยังเป็นสิ่งที่น่าสนใจอยู่ เพราะเป็นแนวคิดที่ฉลาดใหม่ และยังสามารถช่วยลดหรือประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย” พร้อมเสริมว่า “จากประสบการณ์ของพวกเราในแถบเอเชีย ได้แสดงให้เรารู้ว่าผู้นำด้านการพัฒนาต่างๆต้องการเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีคุณภาพสูง โปรเจคแลนด์มาร์คอย่างเช่น โครงการ ปาร์ค เวนเจอร์ (Park Ventures) ในกรุงเทพมหานคร หรือ โรงแรมจี ทาวเวอร์ (G-Tower) ในกรุงกัลลาลัมเปอร์ ได้แสดงให้เห็นว่าการรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมนั่นดีต่อธุรกิจและเศรษฐกิจอย่างไร”


Environmental object คือ เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม


ที่มา : ภาคธุรกิจตื่นตัวกับเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม [ออนไลน์].
 เข้าถึงได้จาก  http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=91&cno=3198
วันที่สืบค้นข้อมูล : 16 กรกฎาคม 2555


น.ส.ประภาพรรณ   มีทอง (เกด)

“ระยะทางอาหาร” ...คนเมืองกำหนดเองได้

การขยายตัวของเมืองและความหนาแน่นของประชากรมีส่วนผลักแหล่งอาหารให้ออกไปอยู่ไกลเมืองมากขึ้น เห็นได้จากตัวอย่างเมืองใหญ่เช่นกรุงเทพฯ ที่เมื่อแรกมีพื้นที่เพียง 4 ตร.กม. แต่เมื่อเวลาผ่านไปกว่าสองร้อยปี กรุงเทพฯ ก็กลายเป็นเมืองที่มีพื้นที่ถึงเกือบ 1,600 ตร.กม. ด้วยฐานะเมืองที่เป็นศูนย์กลางของประเทศจึงเป็นสิ่งดึงดูดผู้คนจากทั่วสารทิศให้เดินทางเข้ามาหางานและเงิน  กรุงเทพฯ วันนี้จึงเปลี่ยนไปจากที่เคยมีแหล่งผลิตอาหารของตัวเอง กลายเป็นป่าคอนกรีตที่เต็มไปด้วยอาคารสำนักงาน คอนโดฯ บ้านจัดสรร ฯลฯ
แม้ที่ผ่านมาคนกรุงเทพฯ ไม่ได้ปลูกผัก แต่ก็ยังมีผักกิน ทำให้หลายคนเชื่อว่าแค่มีอาหารกินก็พอแล้ว คำถามที่ว่าอาหารที่เราบริโภคกันอยู่ทุกวันนี้มาจากไหน ใครเป็นผู้ผลิต ผลิตอย่างไร และขนส่งมาด้วยวิธีการใด กลายเป็นเรื่องที่คนทั่วไปละเลย ทั้งๆ ที่คำถามเหล่านั้นล้วนสัมพันธ์กับชีวิต เพราะแหล่งผลิตอาหารเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าอนาคตเราจะมีอาหารกินอย่างเพียงพอหรือไม่
กนกวลี สุธีธร อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ให้เห็นว่า การมีแหล่งผลิตอาหารของตนเองเกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางด้านอาหารและความยั่งยืนในอนาคต โดยยกตัวอย่างหนังสือ Hungry Planet  ที่แสดงให้เห็นความแตกต่างของอาหารที่คนในแต่ละประเทศกิน เช่น อาหารที่ครอบครัวชาวญี่ปุ่นบริโภคในแต่ละอาทิตย์นั้น แม้ว่าพวกเขาจะมีความเป็นชาตินิยม กินอาหารญี่ปุ่น แต่ก็ต้องกินอาหารแปรรูป เนื่องจากวัตถุดิบส่วนใหญ่ต้องนำเข้ามาจากที่อื่น ขณะครอบครัวเยอรมันที่มีสมาชิกอยู่ 4 คน แต่ต้องใช้เงินถึง 400เหรียญสหรัฐ สำหรับซื้ออาหารบริโภคต่อหนึ่งสัปดาห์ ต่างกับประเทศเล็กๆ อย่างภูฏาน ที่ทั้งครอบครัวมีสมาชิก 10 คน กลับใช้เงินเพียงสัปดาห์ละ 5เหรียญสหรัฐเพื่อซื้ออาหาร เนื่องจากอาหารส่วนใหญ่ของเขามาจากธรรมชาติ ไม่ต้องใช้เงินซื้อ แต่ต้องใช้แรงงานในการเพาะปลูกแทน สิ่งเหล่านี้บอกให้รู้ว่าแต่ละประเทศมีค่าใช้จ่ายในด้านอาหารมากน้อยแค่ไหน มีความมั่นคงทางอาหารหรือไม่ ซึ่งล้วนสัมพันธ์กับการพยายามพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เพราะเมืองที่ต้องพึ่งพาอาหารที่ส่งมาจากที่ไกลๆ จำนวนมาก ย่อมมีผลทำให้การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นไปได้อย่างจำกัด เพราะสะท้อนว่าประเทศหรือเมืองนั้นมีทรัพยากรไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตของประชากร
ไม่เพียงแค่นั้น การขนส่งอาหารระยะทางไกลยังต้องใช้พลังงานในการขนส่งและปล่อยมลพิษมากกว่า ขณะที่คุณภาพอาหารและความสดใหม่ก็ด้อยลง
จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลที่ตลาดไท ซึ่งเป็นตลาดกลางของสินค้าเกษตรในกรุงเทพฯ อาจารย์กนกวลีพบว่า ผักที่ส่งมาจากพื้นที่รัศมี 100 กม. รอบกรุงเทพฯ มีปริมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของผักที่ขายในตลาดไททั้งหมด โดยที่ผัก 50เปอร์เซ็นต์ในตลาดไทมาจากพื้นที่รอบกรุงเทพฯ เกิน 200 กม.
“ถ้าเรากินผักที่มาจากเชียงราย สิ่งที่สูญเสียไปนั้นอาจไม่ต่างอะไรกับการที่เราเปิดไฟทิ้งไว้ร้อยดวง แต่หากเรากินผักวันละ 240 กรัม และกินผักที่ปลูกในระยะ 50 กม. จากกรุงเทพฯ หรือปลูกเอง คนกรุงเทพฯ จะประหยัดเงินได้วันละกว่า 7 แสนบาท หรือประหยัดเงินปีละประมาณ 260 ล้านบาท ถ้ายิ่งแต่ละบ้าน แต่ละครัวเรือนสามารถปลูกผักกินเองได้ ก็จะยิ่งช่วยลดรายจ่าย และทำให้ระยะทางอาหารเท่ากับศูนย์” อาจารย์กนกวลีกล่าว



ถึงแม้กรุงเทพฯ ทุกวันนี้จะแทบไม่เหลือแหล่งผลิตอาหารของตนเอง แต่ก็เริ่มมีผู้บริโภคจำนวนหนึ่งปรับเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้ผลิต ตัวอย่างเช่นชุมชนปิ่นเจริญ ย่านดอนเมือง ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตหน้าใหม่ที่ออกมาร่วมกันปลูกผักในพื้นที่รกร้างของหมู่บ้าน
สันติ ภู่ด้วง ตัวแทนจากโครงการสวนผักร่วมใจเพื่อชุมชนปิ่นเจริญ1เล่าว่า ได้งบประมาณโครงการมาจาก สสส. และได้ขอใช้พื้นที่ 100ตร.ว. ซึ่งเป็นพื้นที่รกร้างในหมู่บ้านที่มีคนซื้อไว้แต่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ แล้วจากนั้นขบวนการปลูกผักก็เริ่มต้นขึ้น ด้วยการปรับพื้นที่ ซื้อดิน หาพันธุ์พืช ช่วยกันรดน้ำ กว่า 4เดือนที่สมาชิกประมาณ 25คนร่วมแรงกัน วันนี้พืชผักออกดอกออกผลให้เก็บกินเป็นอาหารได้แล้ว โดยผักที่ปลูกมีมากกว่า 10 ชนิด เช่น โหรพา กะเพรา แมงลัก ถั่วฝักยาว พริกขี้หนู มะเขือ
“อันนี้ถือเป็นระยะทางที่ใกล้มาก ไม่ต้องไปตลาด อยากกินผัดกะเพรา ก็เดินมาเด็ดได้เลย ส่วนคนที่ไม่ได้ปลูกก็สามารถซื้อได้เลย เขาก็จะรู้ว่าผักที่เราปลูกคือผักปลอดสารพิษ ซื้อไปบริโภคได้ ไม่ต้องกลัวสารเคมีหรือยาฆ่าแมลง หรือถ้าใครอยากปลูกเอง มาเอาเมล็ดพันธุ์เราไปปลูก เราก็ให้ แนะนำเขาไปปลูกตามบ้าน ใส่กระถางบ้าง กะละมังบ้าง ก็ได้ผลผลิตกินกันในครอบครัว” สันติกล่าว
อีกตัวอย่างหนึ่งที่ริเริ่มปลูกผักกันมานานคือสำนักงานเขตหลักสี่ โดยมีการทำสวนเกษตรดาดฟ้า ซึ่งประสบความสำเร็จและสร้างแรงบันดาลใจให้กับใครหลายๆ คน ก่อนที่จะขยายมาสู่โครงการปลูกผักจากดาดฟ้าสู่ลานดิน
จินตนา ทองผุด เจ้าหน้าที่รักษาความสะอาด ชำนาญงาน สำนักงานเขตหลักสี่ผู้เคยคลุกอยู่กับสวนเกษตรดาดฟ้า เล่าถึงวัตถุประสงค์ของการขยายแปลงปลูกมาสู่ลานดินว่า เจ้าหน้าที่ของเราส่วนหนึ่งเป็นคนงานกวาดถนน คนงานเก็บขยะ และคนงานทำสวน ซึ่งในชีวิตประจำวันต้องเจอกับมลภาวะที่เลวร้าย เช่นตอนเช้าต้องกวาดถนน จึงอยากให้กินอาหารที่มีคุณภาพ ขณะที่โอกาสซื้อผักปลอดสารพิษมารับประทานก็คงไม่มี บวกกับความสำเร็จของสวนเกษตรดาดฟ้าที่เป็นแรงบันดาลใจและถ่ายทอดความรู้ให้กับคนอื่นๆ ได้ ก็เลยคิดว่าทำไมเราไม่ถ่ายทอดความรู้ให้กับคนของเราเองด้วย
ปัจจุบันสำนักงานเขตหลักสี่มีพื้นที่ว่างสำหรับปลูกผัก 9 แห่ง บางแห่งเป็นที่ดินของเอกชนที่อนุญาตให้ใช้พื้นที่ โดยจะเข้าไปสนับสนุนในเรื่องความรู้ เช่น วิธีการปลูกผัก การปรับปรุงสภาพดิน การทำปุ๋ยชีวภาพ การดูแลป้องกันเรื่องโรคและแมลง และที่สำคัญคือควบคุมคุณภาพว่าต้องเป็นผักปลอดสารพิษเท่านั้น โดยผักที่ได้นอกจากจะเก็บกินกันเองแล้ว ที่เหลือยังสามารถนำไปขายเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง
“คำว่าคุณภาพนั้น ไม่ได้หมายถึงผักลูกใหญ่ สวย หรืออะไร แต่คำเดียวเลยว่าเป็นผักปลอดสารพิษไหม นี่เป็นสิ่งที่พยายามย้ำกับคนปลูกผักของเรา” จินตนากล่าว
บางคนอาจคิดว่าแค่อาหารมื้อเดียว คิดอะไรมาก แต่แท้จริงแล้วเรากินอาหารวันละสามมื้อและกินทุกวัน ถ้าเราปรับเปลี่ยนวิถีการบริโภค แล้วชักชวนคนใกล้ๆ ตัวให้เปลี่ยนแปลง สังคมก็จะเปลี่ยนแปลงได้


ที่มา
“ระยะทางอาหาร” ...คนเมืองกำหนดเองได้ . [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.greenworld.or.th/greenworld/local/1871. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 14 กรกฎาคม 2555).

นางสาวหิรัญญิกา  ศรีวงษ์กลาง(จ๋อม)