วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

อีเอสอาร์ไอ จัดงาน TUC 2011 คอนเซ็ปต์ Through the Cloud พร้อมเปิดตัว Arc GIS online
esri
นายไกรรพ เหลืองอุทัย ผู้จัดการทั่วไปบริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทจัดงานสัมมนาทางวิชาการ ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ครั้งที่ 16 TUC 2011:Through the Cloud 16th Thai GIS User Conference ขึ้น โดยมีผู้เข้าร่วมงานจากทุกภาคส่วน ประมาณ 1,400 คน ทั้งจากองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน รวมทั้งนิสิต-นักศึกษา จากสถาบันการศึกษาต่างๆ พร้อมกันนี้ นำเสนอเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่พร้อมรองรับการดำเนินงานด้านธุรกิจ ที่เติบโตอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน และให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงต่อสถานการณ์ที่เป็นอยู่กับการก้าวสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ โดยเน้นการทำงานที่เชื่อมต่อถึงกันได้อย่างไร้ขีดจำกัด ภายใต้รูปแบบ GIS Cloud Computing ที่เข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญในการลดต้นทุนทางธุรกิจ สร้างผลตอบแทนให้กับธุรกิจได้อย่างเต็มที่

ทั้งนี้ การจัดสัมมนาดังกล่าว ภายใต้แนวคิด Through the Cloud เนื่องจากคลาวด์เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในโลกสังคมดิจิทัลในขณะนี้ โดยหัวข้อที่สำคัญ อาทิ GIS Through the Cloud การเลือก Cloud ให้เหมาะกับองค์กร (Keep up your work with cloud) GIS with Social Network เรื่องง่ายๆ ของ Mobile กับ GIS (Everyone can do "GIS Mobile") GIS Through the Cloud เริ่มต้นประสบการณ์ GIS บน Cloud กับ ArcGIS.com (Beginning your cloud with ArcGIS.com) GIS with Social Network สังคมออนไลน์ กับการประยุกต์ใช้ GIS (GIS & Social media integration) การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เช็คอินข้อมูล GIS ผ่านสมาร์ทโฟน (ArcGIS Check-in via Smart Phone)
ersi
นอกจากนี้ ยังมีบูธแสดงสินค้าและสาธิตเทคโนโลยี GIS/GPS/Photogrammetry/Remote Sensing/Survey Equipment รวมไปถึงตัวสินค้าต่างๆ จากแบรนด์ชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็น GARMIN LEICA TRACKnFLEET HP

ผู้จัดการทั่วไปบริษัท อีเอสอาร์ไอ กล่าวต่อว่า ไฮไลต์สำคัญของงาน คือ การเปิดตัว Arc GIS online ที่สามารถให้ประชาชนเข้ามาใช้ระบบ GIS online ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

“เป็นความตั้งใจของบริษัท ที่จะผลักดันการทำงาน GIS บน Cloud เป้าหมายหลักก็คือ การให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จาก GIS ได้เป็นอย่างดี วางแผนงานต่างๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ หรือใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน โดยมุ่งหวังให้ผู้ใช้ทั่วไปรู้จักกับ map และ GISมากขึ้น” นายไกรรพ กล่าว

ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีเอสอาร์ไอ กล่าวอีกว่า บริษัทออกแบบเว็บไซต์ www.arcgis.com โดยมีแผนที่ฐานให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการที่เป็นประโยชน์ต่องานในทุกสาขาอาชีพ หรือการใช้งานทั่วไป อีกทั้งมีลักษณะเหมือนเป็น portal site เชื่อม Arc GIS กับ desktop เข้าด้วยกัน ส่วนลักษณะการทำงานผู้ใช้ทั่วไปสามารถแชร์ข้อมูลการทำงานร่วมกันได้ โดยกลุ่มเป้าหมายหลักคือเว็บไซต์ของลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ จะต้องมี Arc GIS online ไปปรากฏอยู่เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ทั่วไปด้วย นอกจากนี้ ยังตั้งเป้าว่าจะมีผู้ใช้งานมากขึ้น และสมัครเป็นสมาชิกได้ อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าว บริษัทจะได้ Brand Awareness ที่เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างให้ลูกค้าตระหนักในแบรนด์ และตอกย้ำตลาด ก่อนจะขยายสู่ลูกค้าในระดับองค์กรขนาดใหญ่ หรือเอ็นเทอร์ไพรซ์มากขึ้น

ที่มา http://www.ldd.go.th/gisweb/news/NewsGIS/newsgis01-54.html

นายชินบัญชร์ ร้านจันทร์ 5215046 ENES/B

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

สถานการณ์น้ำท่วมปี พ.ศ. 2554 ผ่านAnimation


Animation แสดงสถานการณ์น้ำท่วมในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ในปี พ.ศ. 2554



Bangkok and Samut Sakhon Flood Simulation 8Nov2554



Bangkok Post Animation flood drainage of Bangkok Thailand




 
สถานการณ์น้ำท่วมปี พ.ศ. 2554 ผ่านAnimation. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.youtube.com/watch?v=MpNyWc8NgVs   .
(วันที่สืบค้นข้อมูล : 14 กันยายน 2555).

  น.ส. หิรัญญิกา  ศรีวงษ์กลาง(จ๋อม)



วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

แผนภาพแสดงปริมาณน้ำฝน ณ สถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร

         กรอบสีเขียว แสดงค่าปริมาณน้ำฝนที่ตกใน 15 นาทีที่ผ่านมา หน่วยเป็น ม.ม. (ปรับปรุงข้อมูลทุกๆ 15 นาที) ส่วนภายในกรอบสีเทาหมายถึงข้อมูลขาดหายไปนานเกิน 30 นาที  Click บริเวณสถานีตรวจวัดเพื่อแสดงแผนภูมิปริมาณน้ำฝน




http://www.thaiwater.net/cgi-pub/GIS/REPORT/bma_rainfall1.pl


ที่มา : แผนภาพแสดงปริมาณน้ำฝน ณ สถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร[ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก : http://www.thaiwater.net/cgi-pub/GIS/REPORT/bma_rainfall1.pl: (วันที่สืบค้นข้อมูล 16 กันยายน 2555).


นายอธิคม  คำสอนทา  (ก๊อบ)

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

ปริมาณน้ำไหลเข้า - ระบายผ่านเครื่องและ Spillway รายวัน เขื่อนสิริกิติ์





ที่มา : ระดับและปริมาณน้ำเขื่อนสิริกิติ์[ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก : http://www.sirikitdam.egat.com/sk_plant/hydroweb/test00.php?year=2012.(วันที่สืบค้นข้อมูล : 16 กันยายน 2555).




น.ส.ประภาพรรณ   มีทอง  (เกด)



วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา 13 กันยายน 2555 เวลา 6.00 น.


 



                                                    ที่มา :
แผนผังสภาพน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันออก- ตะวันตก.[Online].
เข้าถึงได้จาก : http://water.rid.go.th/flood/plan_ew/plan_ew.html.
(วันที่สืบค้นข้อมูล : 13 กันยายน 2555).

                                                   

                                                   นส.แสงเทียน  ฤทธิไกรสร (แนน)


แผนที่อากาศผิวพื้น







ที่มา :
แผนที่อากาศผิวพื้น. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.blogger.com/blogger.g?blogID=1033633257696448826#editor/target=post;postID=3233960040088443380
. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 13 กันยายน 2555).



นางสาววรรณธกานต์  พยุงวงษ์ (วิว)

แผนผังเส้นทางน้ำและการประมาณความสูง







ที่มา :


แผนผังเส้นทางน้ำและการประมาณความสูง. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://flood.gistda.or.th/flood/y2011/FL82_Extra/Bangkok_Drainage_17_noarrow_dem_road.jpg
. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 13 กันยายน 2555).



น.ส.ศศิธร ระหงษ์ (ตุลา)

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

จุลินทรีย์บำบัดเศษอาหาร

การบำบัดเศษอาหารด้วยจุลินทรีย์
ถังบำบัดเศษอาหาร
เศษอาหารที่เหลือต่อมื้อ/ต่อวัน เช่น เศษข้าว แกงเผ็ด แกงจืด ผักทุกชนิด เศษเปลือกผลไม้ เช่น ส้ม ชมพู่ ฯลฯ
ใส่ปุ๋ยแห้ง (โบกาฉิ) ลงในถัง อัตราส่วน เศษอาหารประมาณ 1 กก. : โบกาฉิ 1 กำมือ
ใส่ EX-M ขยายโรย หรือ รดให้ทั่ว (ประมาณ 1/4 แก้ว)
ทำเช่นนี้สลับกันไปเรื่อยๆ จนเต็มถัง ทิ้งไว้ 7-10 วัน
ทำได้ 2-3 วัน เปิดฝาดู จะมีไอน้ำและมีฝ้าขาวๆ คลุม หากทำถูกวิธีจะไม่มีหนอนขึ้นเลย
มีน้ำสีเหลืองหรือสีส้มไหลอยู่ด้านล่างของถัง รองน้ำไปใช้ประโยชน์ดังนี้
– นำไปผสมน้ำ 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร หรือ น้ำ 1,000 เท่า รดพืชได้
– ขัดพื้นห้องน้ำ – ส้วม แทนสารเคมี
– ใส่ในโถส้วม ให้ย่อยสลายกาก แก้ปัญหาส้วมเต็ม
– เทในท่อน้ำทิ้งเพื่อดับกลิ่น
กากอาหารที่เหลือนำไปฝังหรือคลุกกับดิน เป็นปุ๋ยดินก็ได้
หมายเหตุ
เศษอาหารจำนวนมากหากเป็นข้าว หรือเศษเนื้อ นำมาหมักกับ EX-M + กากน้ำตาล ไว้ 6-8 ชั่วโมง นำไปผสมรำละเอียด เป็นอาหารสุกร
วิธีทำถังบำบัดเศษอาหาร
ถังพลาสติกมีฝาปิดขนาด 10-20 ลิตร แล้วแต่ปริมาณเศษอาหารที่จะได้หรือต้องการ
เจาะรู ติดก๊อกน้ำบริเวณก้นถัง เพื่อไว้ระบายน้ำปุ๋ยหมัก ใช้ก๊อกที่มีขนาดโตพอสมควรเพื่อป้องกันการอุดตัน
ตะกร้าพลาสติกมีรูที่ก้นตะกร้า หรือเจาะรูที่ก้นตะกร้า (ขนาดตะกร้าสามารถใส่ในถังได้มิด)
นำตาข่ายหรือไนล่อนตาถี่มาตัดเย็บกรุรอบตะกร้าด้วยเอ็นหรือเชือกฟาง
หากไม่มีตะกร้าให้ใช้ถุงดำพลาสติก เจาะรูเล็กๆ ที่ก้นถุง 7-8 รู แทนได้
ข้อสังเกตุ
น้ำปุ๋ยที่ได้จะมีกลิ่นอมเปรี้ยวๆ
เมื่อเปิดฝาถังทุกครั้งจะไม่มีกลิ่นเหม็นเน่าจากขยะจะได้กลิ่นเหมือนเชื้อเห็ด หรือกลิ่นเปรี้ยวๆ เท่านั้น
ในกรณีมีเศษอาหารมาก ใช้ถัง 200 ลิตร ติดก๊อกและใช้ถุงพลาสติกดำเจาะรูแทนก็ได้ (เช่น ร้านอาหาร โรงพยาบาล ทัณฑสถาน ฯลฯ)

ที่มา
(วันที่สืบค้นข้อมูล 12 กันยายน 2555)

น.ส สุภัทรา  พึ่งพเดช (แหม่ม) 

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

YikeBike จักรยานไฟฟ้า"พับได้"ใช้ดี

ก่อนหน้านี้ ทางเว็บไซต์ arip ได้เคยแนะนำนวตกรรมยานพาหนะ"ล้อเดียว"ทีสามารถทรงตัวได้เองชื่อว่า Enicycle หรือจะเป็นจักรยานไฮบริดที่เลือกว่าจะปั่นเอง หรือให้มอเตอร์ไฟฟ้าปั่นให้ รวมถึงจักรยานพับได้ในรูปแบบต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการพกพา หรือจัดเก็บ ล่าสุดมีนวตกรรมแนวๆ นี้โผล่ออกมาอีกแล้ว โดยตัวนี้มีชื่อว่า YikeBike

YikeBike เป็นจักรยานไฟฟ้าที่มีดีไซน์ไม่เหมือนใคร แถมยัง"พับได้" เพื่อสะดวกต่อการนำติดตัวไปใช้งานเมื่อยามจำเป็นได้อีกด้วย YikeBike จะมีสองล้อไม่เท่ากัน โดยที่นั่งของผู้ขับจะอยู่บนล้อใหญ่ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้ากำลัง 1.2 กิโลวัตต์ ด้านข้างจะเป็นแฮนด์บังคับ ตัวถังทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ทีมีคุณสมบัติเบาและแข็งแรง และออกแบบให้สามารถพับเล็กลงจนเหลือขนาดเพียง 6 x 23.6 x 23.6 นิ้ว (23.6 นิ้ว จะเป็นความยาวของเส้นผ่าศูนย์กลางของล้อใหญ่) และมีน้ำหนักเพียง 22 ปอนด์ (10 กิโลกรัม) ซี่งได้เร็วสุด 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถชาร์จแบตเตอรี่ให้ได้ 80% ภายในเวลา 20 นาที โดยเจ้าของ YikeBike จะใช้เวลาในการพับเก็บแค่ 15 วินาทีเท่านั้น...ว้าว!!!



ไม่น่าเชื่อว่า YikeBike จะควบคุมการทำงานด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์จริงๆ โดยเฉพาะระบบป้องกันการล็อคไม่ให้เกิดการลื่นไถล อีกประเด็นหนึ่งก็คือ ดีไซน์ของ YikeBike ทำให้นึกถึงต้นแบบจักรยานสองล้อในอดีตที่"ล้อหน้าใหญ่-ล้อหลังเล็ก" แต่การออกแบบในสมัยนั้นล้อหน้าจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 3 ฟุตเลยทีเดียว ซึ่งก็ไม่น่าเชื่ออีกเหมือนกันว่า มันจะใช้ขี่ได้จริง กลับมาที่ YikeBike กันดีกว่า ปัจจุบันเจ้าจักรยานไฟฟ้าพับได้คันนี้ยังคงเป็นคอนเซปต์ เนื่องจากยังหาผู้รับผลิตเป็นสินค้าไม่ได้ แต่หากมีการผลิตจริง สนนราคาเบื้องต้นจะตกอยู่ที่ประมาณ 3,000 ปอนด์ (ประมาณ 170,000 บาท) คาดว่า มันน่าจะไปโผล่ในงาน CES 2010 ช่วงต้นปีหน้า
 
ที่มา
http://hitech.sanook.com/technology/product_13257.php


         ชินบัญชร์ ร้านจันทร์ (โจ้) 5215046
 

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีใหม่จ่ายเงินออนไลน์ ยืดหยุ่นแต่ป้องกันกลโกงได้

 

เอเชียเพย์ แนะเทคโนโลยีจ่ายเงินออนไลน์ใหม่สุด เพิ่มความปลอดภัยให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

นายโจเซฟ ชาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชียเพย์ เปิดเผยว่า บริษัทได้นำเสนอบริการล่าสุด ในนาม สยามเพย์ อีเพย์เมนต์ อัลเลิร์ต (ePayAlert) หรือระบบบริหารจัดการความเสี่ยง ที่มีกลไกการควบคุมความเสี่ยงเต็มรูปแบบ และยืดหยุ่นตามความต้องการของแต่ละธุรกิจ เป็นระบบป้องกันการทุจริตแบบใหม่ ที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่าระบบเดิม เปิดโอกาสให้เจ้าของธุรกิจสามารถออกแบบกลยุทธ์การป้องกันความเสี่ยงได้เองเพื่อให้ตรงกับปัญหาที่ตนเองกำลังประสบอยู่

บริษัท เอเชียเพย์ เป็นผู้ให้บริการระบบ “สยามเพย์” (SiamPay) ซึ่งเป็นบริการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความล้ำหน้า และความปลอดภัยสูง ได้รับมาตรฐาน พีซีไอ คอมพลิแอนซ์ (PCI compliant) และมี เอสเอสแอล ดาต้า เอนคริปชั่น(SSL data encryption) หรือระบบเข้ารหัส ในระบบตรวจสอบผู้ซื้อ เพื่อให้การดำเนินการและการเก็บข้อมูลมีความปลอดภัยที่สุด และยังมีระบบป้องกันร้านค้าจากการทุจริตออนไลน์ ด้วยการติดตั้งโซลูชั่นในการป้องการทุจริตบนแพลตฟอร์มชำระเงิน ทำหน้าที่ตรวจสอบรายการชำระเงินที่เกิดขึ้นทุกรายการอย่างละเอียด และแจ้งเตือนไปยังร้านค้าออนไลน์ทันทีที่พบว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดทุจริตในรายการนั้น ๆ.

ที่มา http://www.dailynews.co.th/technology/117358

นายชินบัญขร์ ร้านจันทร์ (โจ้) 5215046

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สภาพอากาศในออสเตรเลีย

สภาพอากาศในออสเตรเลีย

 
                ออสเตรเลียมีสภาพอากาศที่อบอุ่นเกือบตลอดปี แต่ภูมิอากาศอาจเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดทวีป โดยทั่วไปแล้ว รัฐทางตอนเหนือมีสภาพอากาศที่อบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่รัฐทางตอนใต้จะมีฤดูหนาวที่เย็นกว่า นอกจากนี้ ออสเตรเลียยังเป็นหนึ่งในทวีปที่แห้งแล้งที่สุดในโลก โดยมีปริมาณน้ำฝนรายปีเฉลี่ยน้อยกว่า 600 มม. ฤดูกาลของออสเตรเลียจะตรงกันข้ามกับประเทศที่อยู่ทางซีกโลกเหนือ เช่นเดียวกับทุกประเทศในซีกโลกใต้ ช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์เป็นฤดูร้อน ช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมเป็นฤดูใบไม้ร่วง ช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมเป็นฤดูหนาว และช่วงเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายนเป็นฤดูใบไม้ผลิ
 

สภาพอากาศในซิดนีย์ (รัฐนิวเซาท์เวลส์)

 
                รัฐนิวเซาท์เวลส์ตั้งอยู่ในแนวของเขตภูมิอากาศอบอุ่น แนวเขา Great Dividing ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของรัฐมีผลกระทบอันใหญ่หลวงต่อภูมิอากาศ โดยได้แบ่งเป็นสี่เขตที่ต่างกันชัดเจน ได้แก่ : แถบชายฝั่ง ที่ราบสูง พื้นที่ลาดชันด้านตะวันตก และพื้นที่ราบทางตะวันตก ภูมิอากาศของซิดนีย์มีความอบอุ่นสบายตลอดทั้งปี โดยมีวันที่มีแสงแดดอบอุ่น 340 วันต่อปี ในฤดูร้อน (ธันวาคมถึงกุมภาพันธ์) ที่ซิดนีย์จะมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 26 องศาเซลเซียส ในช่วงเวลานี้อาจมีอากาศชื้น โดยมีความชื้นเฉลี่ย 65 เปอร์เซ็นต์ ในฤดูหนาว (มิถุนายน - สิงหาคม) จะมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 16 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนของซิดนีย์จะสูงที่สุดระหว่างเดือนมีนาคมและมิถุนายน

สภาพอากาศในเมลเบิร์น (รัฐวิกตอเรีย)

 
              ภูมิอากาศของรัฐวิกตอเรียจะถูกกำหนดโดยลักษณะภูมิอากาศที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ภูมิภาคที่ร้อนและแห้งแล้งทางตะวันตกเฉียงเหนือไปจนถึงทุ่งหิมะที่ลาดสูงทางตะวันออกเฉียงเหนือ ปริมาณน้ำฝนรายปีเฉลี่ยเริ่มตั้งแต่ปริมาณที่น้อยกว่า 250 มม. ในหลาย ๆ พื้นที่ จนถึงปริมาณมากกว่า 1800 มม. ในบางภูมิภาคที่เป็นภูเขา เมลเบิร์นขึ้นชื่อในเรื่องของสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน แต่ตามปกติแล้วชาวเมืองก็มีความสุขกับภูมิอากาศที่อบอุ่น ซึ่งมีอากาศอบอุ่นหรือร้อนในฤดูร้อน ฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงที่ไม่หนาวจัด ปลอดโปร่ง ตลอดจนฤดูหนาวที่เย็นสบาย อุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูร้อน 25 องศาเซลเซียส และ 14 องศาเซลเซียสในฤดูหนาว ปริมาณน้ำฝนสูงสุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม




environmental object คือ ภูมิอากาศเฉลี่ยประเทศออสเตรเลียแต่ละฤดูในรัฐนิวเซาท์เวลส์และรัฐวิกตอเรีย



ที่มา :



สภาพอากาศในออสเตรเลีย. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.australia.com/th/about/key-facts/weather.aspx. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 29 สิงหาคม 2555).



น.ส.ศศิธร ระหงษ์ (ตุลา)

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ระบบจ่ายเชื้อเพลิงร่วมดีเซล-ก๊าซแอลพีจี



ปัญหาราคาน้ำมันที่ถีบตัวพุ่งสูงขึ้นในขณะนี้ได้สร้างความเดือดร้อนไปทุกภาค ส่วน เนื่องจากน้ำมันได้เข้ามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์มานาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเดินทาง การขนส่ง การผลิตสินค้า รวมถึงในภาคเกษตรกรรม

แนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันของประชากรโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปริมาณน้ำมันมีอย่างจำกัด ส่งผลให้ราคาน้ำมันมีความผันผวนอย่างมากในตลาดโลก ซึ่งประเทศไทย ต้องสั่งซื้อน้ำมันดีเซลจากต่างประเทศปีละกว่า 3 แสนล้านบาท เพื่อนำมาใช้กับรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลกว่า 6 ล้านคัน

โดยรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลเหล่านี้ ถือเป็นต้นทุนหลักของภาคการขนส่ง และภาคการเกษตร แม้ว่าประเทศไทยใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาชดเชย เพื่อพยุงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้ปรับสูงเกิน 30 บาทต่อลิตร ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อไม่ให้เกิดผล กระทบต่อภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม แต่จำนวนเงินก็มีอยู่อย่างจำกัด ไม่สามารถชดเชยได้ตลอดไป

การลดปริมาณการใช้น้ำมันให้น้อยลงและหาวิธีการใช้พลังงานทดแทน จึงเป็นทางออกหนึ่งในภาวะน้ำมันแพงแบบนี้ ซึ่ง ทาง ดร.สุรเชษฐ เดชฟุ้ง อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จึงได้คิดค้นทำการวิจัยเรื่อง “การเขียนซอฟต์แวร์ควบคุมการจ่ายเชื้อเพลิงร่วมระหว่างน้ำมันดีเซลกับก๊าซ แอลพีจี (LPG) ขึ้น เพื่อหวังที่จะลดต้นทุนเรื่องราคาน้ำมันดีเซลให้ต่ำลง

ดร.สุรเชษฐ กล่าวว่า เนื่องจากราคาน้ำมันทั่วโลกมีอัตราที่สูงขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจยังน่าเป็นห่วงอยู่ จึงคิดทำวิจัยในเรื่องนี้ขึ้น เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรมขนส่งให้ได้ 50% หรือลดการนำเข้าน้ำมันดีเซลให้ต่ำกว่า 50% ซึ่งจะช่วยประหยัดเงินตราของประเทศได้กว่า 1.5 หมื่นล้านบาท การใช้ก๊าซแอลพีจีผสมน้ำมันดีเซลจะต้องลดคาร์บอน ฟุต พริ้นต์ (CARBON FOOT PRINT) ลงกว่าเดิม และต้องไม่เพิ่มความร้อนให้กับเครื่องยนต์ เมื่อก๊าซหมดถังแล้วยังสามารถกลับมาใช้น้ำมันได้ตามปกติ

สำหรับขั้นตอนการทำ ได้เริ่มทดลองโดยอาศัยก๊าซซีเอ็นจี (CNG) ก่อน ซึ่งต้องใช้ก๊าซมิกเซอร์เข้ามาช่วยทำให้ก๊าซซีเอ็นจี เฉื่อยลง จากนั้นก็ปรับปรุงอีซียู (Electronic Control Unit) ใหม่ทั้งหมดให้เป็นแบบออโตเมติก สำหรับขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของงานวิจัยชิ้นนี้ คือ การเปลี่ยนก๊าซมิกเซอร์ ที่สามารถทำให้ก๊าซแอลพีจีเฉื่อยลง โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ดีเซล และต้องมีอีซียูที่พัฒนาเองเป็นตัวแปรสำคัญในการทดลอง

ดร.สุรเชษฐ กล่าวต่อว่า จากการทดลองของงานวิจัยชิ้นนี้ พบว่า มีผลทำให้รถยนต์มีกำลังแรงม้าและแรงบิดเพิ่มขึ้นกว่า 50% และช่วยประหยัดน้ำมันดีเซลกว่า 50% ของอัตราการใช้เชื้อเพลิงแบบเดิม ขณะที่ความร้อนของเครื่องยนต์ก็คงที่ ส่วนควันที่ออกมาจากการใช้ก๊าซแอลพีจี สามารถลดจำนวนคาร์บอนได้เกินครึ่งของปริมาณเดิม และเมื่อใช้ก๊าซจนหมดถังแล้ว ยังสามารถกลับไปใช้น้ำมันดีเซล เพื่อขับขี่ได้อย่างต่อเนื่องด้วย

“ผลการวิจัยครั้งนี้มีประโยชน์สามารถลดต้นทุนการผลิต การเกษตรและการขนส่งในด้านต่าง ๆ ให้ลดลงกว่า 25% ช่วยประหยัดเงินได้มากกว่า 1.5 หมื่นล้านบาทต่อปี และช่วยลดก๊าซคาร์บอนได้ถึง 60% ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และสามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่ลงทุนติดตั้งเฉพาะอุปกรณ์เสริม โดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ใด ๆ” ดร.สุรเชษฐ กล่าว



ที่มา:ระบบเชื้อเพลิงร่วมดีเซล-ก๊าซแอลพีจี.[online].เข้าถึงได้จาก http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=319&contentID=118542.(วันที่สืบค้นข้อมูล:23 สิงหาคม 2555).

นายอธิคม คำสอนทา (ก๊อบ)

ซอฟต์แวร์ช่วยวัดอุณหภูมิร่วมกับกล้องอินฟราเรด





หน่วยงานเจ้าของผลงาน:

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

สาขาผลงาน:

อุตสาหกรรม

ชื่อผู้ผลิตผลงาน:

ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร

หน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโตนิกส์ (PTL)

ปีผลิตผลงาน:

2551

จากวิธีการเดิมๆ ที่มีการใช้กล้องอินฟราเรด วัดและคัดกรองผู้ป่วยได้ทีละคน การมีซอฟต์แวร์ช่วยวัดอุณหภูมิร่วมกับอินฟาเรดนั้น จะช่วยคัดกรองคนมีไข้กับคนไม่มีไข้ ออกจากกันและเร็วกว่าเดิม เพราะซอฟต์แวร์ตัวนี้ทำงาน ร่วมกับกล้องอินฟราเรด จึงมีคุณสมบัติพิเศษคือ
1. ใช้เวลาในการตรวจเพียง 0.03 วินาที ต่อครั้ง
2. วัดบุคคลได้ทีละหลายคนในเวลาเดียวกัน รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ตรวจวัดอุณหภูมิกว่าค่าอ้างอิงที่กำหนด
3. สามารถแสดงค่าอุณหภูมิของบุคคลแต่ละคนในภาพถ่ายรังสีความร้อนพร้อมๆ กัน ในเวลาเดียวกัน
4. ผู้ใช้สามารถตั้งค่าอุณหภูมิอ้างอิงที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการคัดกรองที่ถูกต้องที่สุด
5. ผู้ใช้สามารถกำหนดค่าสภาพแวดล้อมในการใช้งานเพื่อลดความผิดพลาดของค่าอุณหภูมิที่อ่านได้
6. สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิและค่าความชื้นสัมพัทธ์ของสภาพแวดล้อมในขณะใช้งานเพื่อลดผลความผิดพลาดของค่าอุณหภูมิที่อ่านได้แบบอัตโนมัติ
7. มีระบบฐานข้อมูลอย่างง่ายเพื่อใช้บันทึกประวัติทั่วไปของบุคคลที่มีอุณหภูมิสูงกว่าค่าที่ผู้ใช้กำหนดไว้
8. สามารถเชื่อมต่อกับกล้องเวปแคม เพื่อบันทึกบุคคลที่มีอุณหภูมิสูงลงในฐานข้อมูลพร้อมๆ กับภาพถ่ายรังสีความร้อนของบุคคลนั้น
การจำแนกการนำไปใช้ประโยชน์
สาธารณสุข



ที่มา: ซอฟต์แวร์ช่วยวัดอุณหภูมิร่วมกับกล้องอินฟาเรด.[online].เข้าถึงได้จาก http://newstkc.stkc.go.th/flagship/node/227.(วันที่สืบค้นข้อมูล:23 สิงหาคม 2555).



นายอธิคม คำสอนทา (ก๊อบ)

ระบบสื่อสารและจัดเก็บข้อมูลชุดตรวจวัดแรงดันน้ำของเขื่อน (DAM)





หน่วยงานเจ้าของผลงาน:

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ชื่อผู้ผลิตผลงาน:

นายอุดม ลิ่วลมไพศาล

หน่วยปฏิบัติการวิจัยพัฒนาการควบคุมและระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม (ICA)

ปีผลิตผลงาน:

2551

เนื่องด้วย เขื่อนรัชชประภา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีความต้องการที่จะติดตั้งระบบเพื่อช่วยดูแลความปลอดภัยและความมั่นคงเขื่อนโดยอาศัยการวัดค่าต่างๆ ในบริเวณเขื่อน เช่น การวัดระดับน้ำใต้ดิน(Underground Water) ในหลุมวัดน้ำ (Observation Wel) การวัดแรงดันของ หัววัดที่ติดตั้งที่ตัวเขื่อน การวัดความเร่งของแผ่นดินไหว (Accelerometer) การคาดเดาปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ เพื่อการเก็บกักน้ำ เป็นต้น ในปัจจุบันกฟผ. ใช้บุคลากรทำการวัดค่าต่างๆ ด้วยมือ ซึ่งใช้เวลามาก ข้อมูลที่ได้ไม่ใช่ ข้อมูล ณ เวลาเดียวกัน และเสียเวลาในการป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการวิเคราะห์ ทำให้มีข้อจำกัดในการ ประเมินถึงความปลอดภัยและความมั่นคงของเขื่อน
โดยพื้นฐานของระบบที่พัฒนาขึ้นจะประกอบไปด้วย หน่วยวัดคุมระยะไกล (Remote Terminal Unit, RTU) ที่จะทำการรวบรวมข้อมูลจากแต่ละหัววัด (Sensor) ต่างๆ และทำการส่งข้อมูลผ่านระบบสื่อสารทั้งแบบมีสาย (Copper wire or Optical fiber) หรือแบบไม่มีสาย (Wireless communication) ผ่านไปยังระบบคอมพิวเตอร์ฐานข้อมูล เพื่อทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด ข้อมูลที่ได้จะนำส่งไปยังระบบวิเคราะห์ความปลอดภัยและความมั่นคงเขื่อนต่อไป รวมทั้งส่วนของการติดต่อกับผู้ใช้งานเพื่อการดูข้อมูลแบบปัจจุบัน (Real time) การทำงานรายงานสรุป เป็นต้น โดย ระบบที่พัฒนาขึ้นเองนี้ นอกจากจะมีความสอดคล้องกับความต้องการแล้ว ยังสามารถดูแลรักษาและปรับปรุงระบบให้ มีความเหมาะสมกับการใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง
ประโยชน์ของผลงาน
- ช่วยลดการนำเข้าและพึ่งพาเทคโนโลยีระบบเพื่อช่วยดูแลความปลอดภัยและความมั่นคงเขื่อน จากต่างประเทศ
- ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ผลักดันสู่การนำไปใช้งานจริงในอุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมต่อไป
การจำแนกการนำไปใช้ประโยชน์
อุตสาหกรรมการผลิต
การผลิต : การพัฒนาคุณภาพผลผลิต การพัฒนากระบวนการผลิต การเพิ่มผลผลิต การลดค่าใช้จ่ายในการผลิต เป็นต้น
ความมั่นคง ภัยพิบัติ



ที่มา: ระบบสื่อสารและจัดเก็บข้อมูลชุดตรวจวัดแรงดันน้ำของเขื่อน.[online].เข้าถึงได้จาก http://newstkc.stkc.go.th/flagship/node/227.(วันที่สืบค้นข้อมูล:23 สิงหาคม 2555).



นายอธิคม คำสอนทา (ก๊อบ)

เนคเทคดันเทคโนโลยีสู่ "สมาร์ทฟาร์ม" นำร่องที่ทุ่งกุลาร้องไห้

        ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ริเริ่มทำโครงการสมาร์ฟาร์ม (Smart Farm) นำผลงานวิจัยด้านซอฟต์แวร์ เซ็นเซอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยเกษตรกรเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากฟาร์มสู่ตลาด เริ่มลงพื้นที่ 5 ชุมชนต้นแบบในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ โดยเบื้องต้นได้นำผลงานไปร่วมจัดแสดงนิทรรศการภายในงานพิธีเปิด "งานชุมนุมยุวเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ครั้งที่ 2" ณ ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.52 ที่ผ่านมา


 

       โครงการ สมาร์ท ฟาร์ม มีระยะเวลา 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 52-56 โดยเนคเทคจะนำเทคโนโลยีเข้าไปสนับสนุนเกษตรกรในชุมชนต้นแบบ 5 แห่ง ที่อยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ในพื้นที่ 5 จังหวัด ซึ่งจะใช้เทคโนโลยีช่วยตั้งแต่การวางแผนการผลิต ควบคุมคุณภาพ ไปจนถึงการบริหารจัดการและการตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดความสิ้นเปลือง เพิ่มคุณภาพของผลผลิต และเป็นแนวทางในการพัฒนาสู่ตลาดโลกต่อไปในอนาคต 

       เริ่มจากกระบวนการผลิตที่จะต้องมีการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่างและความอุดมสมบูรณ์ โดยเซ็นเซอร์วัดพีเอช (pH) และเซ็นเซอร์วัดปริมาณแร่ธาตุสำคัญในดิน คือ เอ็นพีเค (NPK) หรือไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ซึ่งใช้หัวอิเล็กทรอนิกส์วัดความอุดมสมบูรณ์ของดินได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมีช่วยในการวัดแบบวิธีเดิม และนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนการให้ปุ๋ยแก่พืช ทว่าเซ็นเซอร์วัด NPK อยู่ระหว่างการพัฒนา คาดว่าจะแล้วเสร็จในอีกไม่กี่เดือนนี้ ส่วนเซ็นเซอร์วัด pH พัฒนาเสร็จเรียบแล้ว

 


        "จากข้อมูลของนักวิจัยด้านการเกษตรพบว่าในแต่ละปีประเทศไทยมีการใช้ปุ๋ยเคมีคิดเป็นมูลค่าประมาณ 80,000 ล้านบาท ซึ่งบางครั้งใช้มากเกินไปโดยไม่จำเป็น แต่หากเราตรวจวัดความอุดมสมบูรณ์ในดินก่อน จะช่วยลดการความสิ้นเปลืองในการใช้ปุ๋ย ลดต้นทุนการผลิต และลดการใช้สารเคมีได้ และสามารถผลิตปุ๋ยในสูตรที่เหมาะสมกับความต้องการได้ในรูปแบบปุ๋ยสั่งตัด โดยใช้เครื่องผสมปุ๋ยอัตโนมัติที่เนคเทคพัฒนาขึ้น แล้วเชื่อมต่อเข้ากับซอฟต์แวร์เพื่อควบคุมการผลิตปุ๋ยสั่งตัดโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะเป็นปุ๋ยที่มีแร่ธาตุอาหารเพียงพอกับความต้องการของดินและพืช" ดร.อัศนีย์ อธิบาย โดยขณะนี้ได้ร่วมกับนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนาสูตรปุ๋ยสั่งตัดที่เหมาะสมกับข้าวและข้าวโพดได้แล้ว และจะขยายไปสู่พืชอื่นๆ ต่อไป

       นอกจากนี้จะติดตั้งเครื่องวัดสภาพอากาศขนาดเล็ก เพื่อตรวจวัดและติดตามข้อมูลสภาพอากาศในแปลงเพาะปลูก ทั้งอุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณแสง ทิศทางและความเร็วลม ซึ่งมีผลต่อการปลูกข้าว และข้อมูลที่ตรวจวัดได้จะช่วยเกษตรกรแก้ปัญหาผลผลิตข้าวได้ดียิ่งขึ้น และช่วยในการวางแผนการปลูกในครั้งต่อไปได้



        ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดความอุดมสมบูรณ์ของดิน และสภาพอากาศ จะถูกรวบรวมและจัดเก็บเป็นฐานข้อมูล พัฒนาแผนที่ N-P-K โดยการเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการวางแผนการผลิตหรือแก้ปัญหาต่างๆ ในกระบวนการผลิต ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ ที่จะถ่ายทอดให้ชุมชนนำร่องนำ ได้แก่ เครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือกแบบพกพา และจมูกอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะช่วยควบคุมความชื้นทั้งในการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ และความชื้นในข้าวเปลือก ทำให้เกษตรกรขายข้าวได้ราคาสูงขึ้น และช่วยควบคุมคุณภาพความหอมและใช้กำหนดมาตรฐานความหอมของข้าวหอมมะลิจากชุมชนแต่ละแห่งที่มีเอกลักษณ์แตกต่างกันไป รวมทั้งเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับชุมชนที่อยู่ห่างไกลเขตชลประทาน หรือต้องการใช้พลังงานสะอาด

       นอกจากนี้ผู้บริโภคจะยังสามารถตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์ของชุมชนในโครงการสมาร์ทฟาร์มได้ด้วยเทคโนโลยีบาร์โค้ด 2 มิติ หรือ คิวอาร์โค้ด (QR CODE) ที่ติดอยู่บนบรรจุภัณฑ์ โดยใช้โทรศัพท์มือถือ หรือตรวจสอบย้อนกลับโดยตรงผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยกรอกรหัสสินค้าเข้าไปในเว็บไซต์ของระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตร








ที่มา :


เนคเทคดันเทคโนโลยีสู่ "สมาร์ทฟาร์ม" นำร่องที่ทุ่งกุลาร้องไห้. [Online]. เข้าถึงได้จาก :http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000064418. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 23 สิงหาคม 2555).




น.ส.ศศิธร ระหงษ์ (ตุลา)