วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

"Idea Green" กระดาษเป็นมิตรกับต้นไม้

คุณเป็นคนหนึ่งใช่ไหมที่ไม่อยากให้ต้นไม้ถูกตัด แต่มีเหตุจำเป็นต้องใช้กระดาษอยู่เสมอ ยิ่งในสำนักงานหรือหน่วยราชการต่างๆ แล้ว กระดาษถือเป็นอุปกรณ์ใช้สอยในสำนักงานที่ขาดแทบไม่ได้

เอสซีจี เปเปอร์ (SCG Paper) บริษัทผลิตกระดาษภายใต้เครือซีเมนต์ไทย เข้าใจความห่วงใยของผู้บริโภคที่มีต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี ได้เปิดตัว "ไอเดีย กรีน" กระดาษคุณภาพเพื่อใช้ในสำนักงานที่มีส่วนผสมของ EcoFiber 30% ภายใต้แนวคิด "Think for the better" เพื่อให้ผู้บริโภคอย่างเราๆ ได้มีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่ง


โดย EcoFiber นี้ คือเยื่อกระดาษที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากทำมาจากเศษวัสดุหรือวัสดุที่ผ่านการใช้งานแล้วจากนอกโรงงาน การนำวัสดุรีไซเคิลมาผลิตกระดาษนี้ช่วยลดปริมาณการตัดต้นไม้ลงได้ 30% เพราะกระดาษทั่วไปนั้นต้องใช้เยื่อของต้นไม้ 100% ในการผลิต

จากรายงานของ สมาคมอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษแห่งประเทศไทย ระบุว่า คนไทยบริโภคกระดาษ 56 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ซึ่งเท่ากับจำนวนบริโภคต่อคนโดยเฉลี่ยของโลก ตัวเลขนี้อาจดูน้อยเมื่อเทียบกับประเทศที่บริโภคกระดาษมากที่สุดในโลกอย่างสหรัฐอเมริกาที่สูงถึง 312 กิโลกรัมต่อคนต่อปี หรือประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่นที่บริโภคกระดาษ 250 กิโลกรัมต่อคนต่อปี แต่รู้ไหมว่าเพียงแค่นี้ในปี 2550 เราได้บริโภคกระดาษที่พิมพ์และเขียนไปแล้วถึง 964,000 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 13% ต่อปี นับตั้งแต่ปี 2546-2550

ซึ่งการผลิตเยื่อกระดาษ 1 ตันนั้น ต้องใช้น้ำกว่า 120,000 ลิตร ใช้ต้นไม้เกือบ 20 ต้น และใช้ ไฟฟ้าประมาณ 1.2 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง

อีกทั้งการนำกระดาษเก่ามาผลิตกระดาษใหม่แทนการใช้ต้นไม้ จะช่วยลดมลภาวะทางอากาศได้ถึง 74% และหลีกเลี่ยงมลภาวะทางน้ำได้อีก 35%
        




environmental object คือ การลดใช้ต้นไม้ในการผลิตกระดาษ



ที่มา :
"Idea Green" กระดาษเป็นมิตรกับต้นไม้ . [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.green.in.th/node/1142. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 29 มิถุนายน 2555).




น.ส.ศศิธร ระหงษ์ (ตุลา)

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555


บทความเกี่ยวกับเทคโนโลยี

สังคม สารสนเทศเป็นสังคมใหม่ การอยู่ร่วมกันในสังคมสารสนเทศ จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ เพื่อการอยู่ร่วมกันโดยสันติและสงบสุข เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ทุกวันนี้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้เข้ามามีบทบาท ในชีวิตประจำวัน มีการใช้คอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารกันมาก ขณะเดียวกันก็มีผู้ใช้ เทคโนโลยี สารสนเทศในทางที่ไม่ถูก ไม่ควร ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีกฎหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศ และเมื่อมีกฎหมายแล้ว ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะปฏิเสธ ความผิดว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้
ทำไมจึงต้องมีการออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ    
                        ด้วยความก้าวหน้า ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สำนักงาน อัตโนมัติ ตลอดจนเครื่องมือ สื่อสารเพื่อการประกอบกิจการงาน และการทำธุรกรรมต่าง ๆ โดยเทคโนโลยีเอื้อประโยชน์ ต่อการทำงานด้านต่าง ๆ ทำให้มีผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มากขึ้นเรื่อย ๆ การมีกฎหมาย จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ และความเชื่อมั่น ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce E-Business) โดย ที่นานาชาติที่พัฒนาแล้ว ต่างพัฒนากฎหมายของตนเอง โดยเน้นความเป็นสากล ที่จะติดต่อค้าขายระหว่างกัน ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยก็จำเป็นที่จะต้องออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศเช่นกัน หากพิจารณาการเปลี่ยนแปลง ของสถานการทำงานขององค์กรทั่วไป ทุกองค์กรกำลังก้าวเข้าสู่ สังคมสารสนเทศ มีความพยายามที่จะ ลดการใช้กระดาษเอกสาร หันมาใช้ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์แทน และนำมาแลกเปลี่ยน (EDI) กันได้ง่าย ขณะเดียวกัน การดำเนินการทางธุรกิจ เช่น การฝากถอนเงินอัตโนมัติ การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ การติดต่อสื่อสารแบบไร้พรมแดน มีการซื้อขายสินค้า ผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการบริหารรายการย่อยขององค์กร ผ่านทางเครือข่าย มีการทำงานระบบออนไลน์ ที่สามารถเปิดบริการ การทำงานได้ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของไทย
                        หลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ อินเดีย เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ฯลฯ ล้วนมีกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของตน แล้ว สำหรับประเทศไทย คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เป็นผู้ร่าง มีการกำหนดกฎหมายที่จะร่างทั้งสิ้นหกฉบับ
                       กฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เน้นในเรื่องข้อความที่จัดทำขึ้นเป็นรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะไม่ถูกปฏิเสธความมีผลทางกฎหมาย ถ้าข้อมูล ได้จัดทำขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารถที่จะเข้าถึงเพื่อนำข้อความออกมาใช้ในภายหลังได้ ให้ถือว่า ข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้ว (มาตรา 6 และมาตรา 7) โดยมีการพิสูจน์หลักฐานที่เป็น ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน (มาตรา 10) ข้อมูลเหล่านี้สามารถส่งและรับผ่านเครือข่ายเพื่อ รองรับวิทยาการสมัยใหม
                      กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เน้นในเรื่องการใช้ลายมือชื่อดิจิตอล (digital signature) เพื่อยืนยันเอกสารหรือหลักฐาน และองค์กรที่ทำ หน้าที่ออกใบรับรองลายมือชื่อ การประกอบการรับรองลายมือชื่ออนุญาต ตลอดจนการกำกับการประกอบการรับรอง เพื่อให้ระบบลายมือชื่อดิจิตอลเป็นส่วนหนึ่งเสมือนการลงลายมือชื่อในเอกสาร
                     กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เป็นกฎหมายที่เข้ามากำกับดูแลความสงบสุขของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เน้นในเรื่องสิทธิการใช้ การ ละเมิดสิทธิ์ โดยเฉพาะผู้บุกรุกหรือ hacker ที่ถือว่าเป็นการกระทำ การบุกรุก และเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
                    กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เนื่องจากข้อมูลในรูปดิจิตอลสามารถเผยแพร่และกระจายได้รวดเร็ว การส่งต่อ การกระจายข่าวสารอาจกระทบ ถึงสิทธิส่วนบุคคล กฎหมายจึงคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
                     กฎหมายว่าด้วยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากกิจการทางด้านการเงิน และการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ในรูปแบบที่เป็นทั้ง eCash eMoney หรือ การใช้เครดิตแลกเปลี่ยนกัน จะมีบทบาท มีการใช้ตั๋วสัญญาใช้เงิน แบบอิเล็กทรอนิกส์ ใช้รูปแบบเอกสารการเงิน อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
                     กฎหมายลำดับรองรัฐธรรมนูญมาตรา 78 เน้นให้รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและ ตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ตลอดทั้ง โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ในท้องถิ่นให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกันทั้งประเทศ กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงมีส่วนช่วยในการสร้างประโยชน์ ในเรื่องความสงบสุข และลดอาชญากรรมทาง ด้านเทคโนโลยี ส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมั่นในเรื่องการ ทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่าย
                       กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ของไทยกำลังอยู่ในระดับการร่าง โดยสองฉบับแรก กำลังเข้าสู่สภาในการประชุม สมัยต่อไป ซึ่งคาดว่า จะแล้วเสร็จในอีกไม่นาน กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเพียงเครื่องมือสำหรับ การสร้างความน่าเชื่อถือ และความสงบสุขของคนใน สังคมสารสนเทศ สิ่งที่สำคัญคือ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคน จะต้องรู้ภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบของตนเองการดูแลสิทธิ ของตนเอง ไม่นำสิทธิของตนเองไปให้ผู้อื่นใช้ ซึ่งหากผู้อื่นนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย เช่น นำรหัสลับของตนเองไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย เจ้าของจะต้องรับผิดชอบ และจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้

ที่มา http://www.learners.in.th/blogs/posts/297393
วันที่สืบค้น 26 6 55
นายยุทธภูมิ  ปาใจประเสริฐ (ณุ)

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางทหาร เครื่องมือช่วยตัดสินใจในสนามรบยุคใหม่
ท่ามกระแสความสับสนวุ่นวายในปัจจุบัน การดำเนินการใด ๆ ก็ตามล้วนแต่มีความต้องการกระบวนการในการตัดสินใจ (Decision Making Process: DMP) ที่มีประสิทธิภาพ มีวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์ได้ มากกว่าจะทำการตัดสินใจตามความรู้สึกนึกคิด ซึ่งกระบวนการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพนั้นจะช่วยให้การตัดสินใจมีความแม่นยำและลดความเสี่ยง รวมถึงลดความสูญเสียหรือเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดไป โดยคำถามที่ตามมาก็คือแล้วเราจะทำอย่างไรให้เรามีกระบวนการในการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์หรือสภาวะแวดล้อมที่เกิดขึ้น ซึ่งถ้าพิจารณาในกรอบของการดำเนินการทั่วไปปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ เอกชน และภาคราชการแล้ว ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการตัดสินใจ ด้วยการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ หรือที่รู้จักกันในชื่อ Decision Support System (DSS)

                นอกเหนือจาก ภาคธุรกิจ เอกชน และภาคราชการ ที่มีการนำระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ มาใช้งานแล้ว ในกิจการทหารเองก็มีการนำระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจมาใช้งาน โดยเรียกว่า ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางทหาร (Military Decision Support System: MDSS) ทั้งนี้เพราะการปฏิบัติการทหารนั้นมีผลเกี่ยวเนื่องกับความมั่นคงของชาติที่จะทำให้ประเทศชาติอยู่รอดปลอดภัย ในฐานะเป็นกำลังอำนาจของชาติ นอกจากนี้ การปฏิบัติการทางทหารยังเกี่ยวข้องกับความรุนแรงการตัดสินใจที่ผิดพลาดนั้นย่อมจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงและนำมาซึ่งความสูญเสียในที่สุด

                ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจนั้นได้เกิดขึ้นมาในช่วงปลาย ทศวรรษที่ 50 และต้นทศวรรษที่ 60 ของศตวรรษที่ 20 โดยการศึกษาและค้นคว้าวิจัยของสถาบันที่มีชื่อเสียงทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ คือ Carnegie Institute of Technology ที่ศึกษาถึงทฤษฏีและรวบรวมแนวคิดในการตัดสินใจ พร้อม ๆ กับ Massachusetts Institute of Technology (MIT) ที่ศึกษาค้นคว้าเทคนิคและวิธีในการตอบสนองของระบบคอมพิวเตอร์ต่อผู้ใช้ และต่อมาในช่วงกลางทศวรรษที่ 70 เริ่มมีการวิจัยระบบสนับสนุนการตัดสินใจ และมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นในทศวรรษที่ 80 ของศตวรรษเดียวกัน และในทศวรรษนี้ได้ให้ความสนใจกับการตัดสินที่มีผู้ตัดสินใจมากกว่า 1 คน ซึ่งได้แก่แนวคิด ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems: EIS) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group Decision Support Systems: GDSS) และ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจขององค์กร (Organizational Decision Support Systems: ODSS) ถัดมาในทศวรรษที่ 90 ของศตวรรษเดียวกันได้มีการพัฒนาแนวคิดในเรื่องของ คลังข้อมูล (Data Warehouse: DW) และ OLAP (On-line Analytical Processing: OLAP) และปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้เกิดอินเตอร์เน็ตขึ้น ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจจึงถูกพัฒนาขึ้นให้มีลักษณะใช้งานผ่านเว็บ (Web-Based Analytical Applications)

                ระบบสนับสนุนการตัดสินใจนั้นได้มีผู้ที่ให้คำจำกัดความไว้จำนวนมากดังเช่น เทอแบน (Turban, E., “Decision Support and Expert Systems: Management Support Systems” Englewood Cliffs, N.J., Prentice Hall, 1995) ได้ให้ความหมายของระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจไว้ว่าระบบสารสนเทศสำหรับช่วยเหลือให้การตัดสินใจดีขึ้น โดยมีขีดความสามารถในการตอบสนองต่อผู้ใช้งาน มีความอ่อนตัว และสามารถปรับการประมวลผลได้ตามสภาวะแวดล้อม (Adaptability) โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวทางการตัดสินใจสำหรับสถานการณ์ที่ไม่ได้มีลักษณะเป็นโครงสร้าง (Non-Structured) ด้วยการจัดใช้ประโยชน์จากข้อมูลต่าง ๆ ที่มี และง่ายต่อการเลือกใช้งานของผู้ตัดสินใจ เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาที่ต้องตัดสินใจได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นหรือ สเปรกย์ และคาร์ลสัน (Sprague, R. H. and E. D. Carlson, “Building Effective Decision Support Systems”, Englewood Cliffs, N.J., Prentice-Hall, 1982) ได้กล่าวระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถตอบสนองต่อผู้ใช้งานในการตัดสินใจ โดยใช้ประโยชน์จากข้อมูลและแบบจำลองในการแก้ปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างจากความหมายในข้างต้นเหล่านี้สามารถสรุปความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ คือระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยเหลือในกระบวนการตัดสินใจของมนุษย์

                โดยทั่วไปแล้วลักษณะของปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกนี้จะมีอยู่ 3 ลักษณะคือ 1) ปัญหาแบบมีโครงสร้าง (Structured Problem) เป็นปัญหาที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วสามารถหาแนวทางการแก้ปัญหาได้ด้วยกระบวนการที่ชัดเจน 2) ปัญหาแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Problem) เป็นปัญหาที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะแก้ปัญหาได้ด้วยการใช้ประสบการณ์ หรือความรู้ที่มีอยู่ก่อนแล้วมาใช้แก้ปัญหาโดยการปรับแต่งวิธีการให้เหมาะสม และ 3) ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Problem) เป็นปัญหาที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะต้องใช้แนวทางที่อาศัยการคาดการณ์ เดา หรือ สุ่ม ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานั้น ๆ สำหรับการใช้งานของระบบสารสนเทศเพื่อการสนับสนุนการตัดสินใจนั้นโดยทั่วไปแล้วจะถูกนำมาใช้กับปัญหาในลักษณะ ที่ไม่มีโครงสร้าง และแบบกึ่งโครงสร้าง

                สำหรับองค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจนั้นโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วย 1) ส่วนจัดการข้อมูล (Data Management) ที่ทำหน้าที่จัดการข้อมูลและสารสนเทศต่างให้เป็นกลุ่มเป็นหมวดหมู่เพื่อความสะดวกในการนำไปประมวลผลต่อไป 2) ส่วนจัดการแบบจำลอง (Model Management) ในส่วนนี้จะทำหน้าที่ในการจัดการทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับแบบจำลองต่าง ๆ ที่ต้องนำมาใช้งาน 3) ส่วนติดต่อสื่อสาร (Communication) ในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ใช้งาน โดยผู้ใช้งานจะทำการติดต่อสื่อสารกับระบบสารสนเทศเพื่อการสนับสนุนการตัดสินใจผ่านส่วนนี้  และนอกเหนือจากองค์ประกอบทั้ง 3 ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินในปัจจุบันมีความต้องการ ส่วนที่ 4 เพิ่มเติมขึ้นมา นั่นคือ 4) การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ที่จะคอยช่วยให้องค์ความรู้ต่าง ๆ ที่อยู่ในตัวแต่ละคนถูกดึงมาไว้ที่องค์กรโดยมีระบบจัดการความรู้ (Knowledge Management System) เป็นส่วนที่คอยดึงความรู้ที่อยู่ในตัวบุคลากร (Tacit Knowledge) มาจัดเก็บในระบบให้เป็นองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้งานต่อได้

                ด้วยนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนเปลี่ยนต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติการทางทหาร ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติการทางทหารในสงคราม (การรบ) หรือ การปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือสงคราม (Military Operations Other Than War: MOOTW) โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อกระบวนการตัดสินใจในการปฏิบัติการทางทหาร 4 ประการ (ทอทหาร, “กระบวนการตัดสินใจของมนุษย์กับสภาวะแวดล้อมทางสนามรบที่เปลี่ยนแปลง”, http://tortaharn.net) คือ 1) ระบบสารสนเทศ (Information Systems) ที่ช่วยเหลือจัดการให้สารสนเทศที่มีอยู่นั้นมีการจัดเก็บที่เป็นระบบและสะดวกในการนำมาใช้งาน 2) ระบบอัตโนมัติ (Autonomous Systems) ที่นำสารสนเทศที่จัดเก็บไว้มาประมวลผลและนำผลไปดำเนินการโดยปราศจากการตัดสินใจของมนุษย์ 3) ความเร็ว (Speed) ที่ระบบอาวุธในสมัยใหม่มีความเร็วสูงมากและบางระบบอาวุธบางประเภทมีความเร็วเท่าแสง เช่น Directed Energy Weapons เลเซอร์ พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ฯลฯ ทำให้การตัดสินใจของมนุษย์ไม่สามารถตอบสนองได้ทัน 4) ขนาด (Size) นวัตกรรมอย่างเช่น นาโนเทคโนโลยี (Nano-technology) ที่ทำให้ระบบอาวุธมีขนาดเล็กลง ยากต่อการตรวจจับและควบคุม

                การตัดสินใจในทางทหารนั้นจะมีระดับของการตัดสินใจอยู่ 3 ระดับคือ

                1) การตัดสินใจระดับยุทธวิธี (Tactics Decision Making) ที่เป็นเรื่องของการตัดสินใจตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดในระหว่างปฏิบัติการทางทหารของหน่วยในสนาม เช่น กระบวนการแสวงข้อตกลงใจของหน่วยระดับกองพันในการเข้าตีโต้ตอบ

                2) การตัดสินใจระดับยุทธการ (Operations Decision Making) เป็นเรื่องของการตัดสินใจในระดับที่มีการผสมผสานการใช้กำลังทหารจากส่วนต่าง ๆ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแผนงานที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น เช่น การวางแผนการเคลื่อนย้ายกำลังเข้าสู่ประเทศอิรักของสหรัฐ ฯ ในยุทธการปลดปล่อยชาวอิรัก (Operations Iraqi Freedom)

                3) การตัดสินใจระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Decision Making) เป็นเรื่องของการกำหนดยุทธศาสตร์ของกองทัพ และรวมไปถึงการตอบสนองต่อปัญหาเร่งด่วนที่ต้องการอำนาจการตัดสินใจจากผู้มีอำนาจสูงสุดในการตัดสินใจ เช่น การตัดสินใจปล่อยอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐ ฯ เข้าโจมตีสหภาพโซเวียต หรือ การกำหนดยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาการก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

                ดังนั้นเมื่อระดับของการตัดสินใจทางทหารมีอยู่ 3 ระดับ แนวทางหรือกระบวนการตัดสินใจในระดับต่าง ๆ ล้วนแต่มีความต้องการเครื่องมือเพื่อช่วยเหลือให้ผู้เกี่ยวข้องในระดับต่าง ๆ มีการตัดสินใจที่แม่นยำ ถูกต้อง และ นำมาซึ่งความสำเร็จ ปัจจุบันการนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้งานโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญและต้องได้รับการออกแบบให้มีความเหมาะสมกับความต้องการในระดับต่าง ๆ

                เมื่อสภาวะแวดล้อมของการปฏิบัติการทางทหารเปลี่ยนแปลงไปทำให้กระบวนการตัดสินใจทางทหารหรือชื่อที่เรียกกันในภาษาทหารคือการแสวงข้อตกลงใจนั้นได้นำเอาระบบสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ช่วยเหลือในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศนี้จะมีชื่อกันเป็นที่รู้จักคือ ระบบ C3I (Command, Control, Communication, and Intelligence System) ในยุคก่อน หรือพัฒนาขึ้นเป็น C4I (Command, Control, Communication, Computer, and Intelligence) และปัจจุบันจะนิยมเรียกว่าระบบ C4ISR (Command, Control, Communication, Computer, Intelligence, Surveillance, and Reconnaissance) โดยระบบเหล่านี้จะเปรียบเสมือนโครงสร้างพื้นฐานในการตัดสินใจของผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งการการปฏิบัติการทางทหารนั้น ๆ ด้วยการใช้ข้อมูล/สารสนเทศที่ไหลเวียนอยู่ในระบบ (Information Flow) ที่มีการเชื่อมต่อไปยังหน่วยระดับต่าง ๆ ตั้งแต่หน่วยปฏิบัติในสนามจนไปถึงหน่วยบังคับบัญชาระดับสูงประกอบในการตัดสินใจ

                การทำงานของระบบสารสนเทศเพื่อการสนับสนุนการตัดสินใจนั้นนอกเหนือจากจะนำข้อมูล/สารสนเทศ มาประมวลผลในการใช้งานแล้ว โดยทั่วไประบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ จะมีขีดความสามารถในการจำลองสภาวะแวดล้อมลงในระบบด้วย เพื่อให้กระบวนการในการตัดสินใจมีความ เหมือนจริง เม่นยำ สอดคล้อง โดย การใช้ข้อมูล/สารสนเทศใน ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางทหารจะมีอยู่หลายลักษณะได้แก่

                1) ใช้ข้อมูล/สารสนเทศจริงพร้อมกับจำลองสภาวะแวดล้อมจริงมาประมวลผลร่วมกันแล้วนำไปใช้งาน การใช้ข้อมูล/สารสนเทศในลักษณะนี้มักจะเป็นการตัดสินใจในสถานการณ์จริงที่ต้องอาศัยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในปัญหาต่าง ๆ ที่กำลังเผชิญอยู่

                2) ใช้ข้อมูล/สารสนเทศที่สมมุติพร้อมกับจำลองสภาวะแวดล้อมจริงมาประมวลผลร่วมกันแล้วนำไปใช้งาน ส่วนใหญ่แล้วการใช้งานลักษณะนี้จะเป็นการใช้เพื่อการทำแผน หรือ เพื่อการฝึก

                3) ใช้ข้อมูล/สารสนเทศจริงพร้อมกับจำลองสภาวะแวดล้อมใหม่มาประมวลผลร่วมกันแล้วนำไปใช้งาน การใช้งานลักษณะนี้มักจะนิยมใช้ประกอบการทำแผนและกำหนดยุทธศาสตร์ระยะยาว

                4) ใช้ทั้งข้อมูล/สารสนเทศและสภาวะแวดล้อมที่สมมติขึ้น การใช้งานลักษณะนี้มักจะนิยมใช้กับการฝึก

                สำหรับกองทัพไทยนั้นได้มีความพยายามที่จะนำระบบสารสนเทศเพื่อการสนับสนุนการตัดสินใจมาใช้งาน โดยเริ่มแรกนั้นจะนำมาใช้ในวัตถุประสงค์เพื่อการฝึก และพัฒนาทักษะของผู้บังคับหน่วยและฝ่ายเสนาธิการ แต่ในปัจจุบันมีความพยายามที่จะนำระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจมาใช้งานเพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจในสถานการณ์จริง รวมถึงพยายามที่จะนำไปใช้กับกำลังพลในทุกระดับ ซึ่งก็มีทั้งระบบที่กำลังพลของกองทัพพัฒนาขึ้นเองและกองทัพจ้างบริษัทเอกชนทำ แต่การใช้งานระบบดังกล่าวก็ยังคงมีข้อจำกัด เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นจากกำลังพลของกองทัพที่ขาดความเข้าใจ ไม่มีการปรับตัว และยึดมั่นถือมั่นในวิธีการเก่า ๆ ที่เคยทำมาโดยไม่พยายามที่จะเรียนรู้ เช่น ความการตัดสินใจโดยใช้ประสบการณ์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง รวมถึงการต่อต้านกระบวนการและวิธีใหม่ ๆ เช่น มีมุมมองว่ากระบวนการตัดสินใจทางทหารเป็นกระบวนการที่ใช้แนวคิดของวิชาทางสังคมศาสตร์ไม่สามารถนำกระบวนการที่เป็นวิทยาศาสตร์มาใช้งานได้ ทั้ง ๆ ที่จะต้องมีการใช้ทั้งแนวคิดทางสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ร่วมกัน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ถือได้ว่าเป็นอุปสรรค์ที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนากองทัพให้มีขีดความสามารถที่จะรองรับกับภัยคุกคามใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เพราะฉะนั้น ถ้ากำลังพลของกองทัพยังไม่มีความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตนเองโดยเริ่มตั้งแต่ผู้นำกองทัพระดับสูงลงมาจนถึงพลทหารคนสุดท้ายแล้ว ระบบสารสนเทศต่าง ๆ ที่กองทัพพยายามจัดหามาก็ไม่มีประโยชน์มากมายอะไรนักรังแต่จะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน เรื่องเหล่านี้คงเป็นหน้าที่ ของทหารทุกนาย ที่เกี่ยวข้องคงต้องช่วยกันปรับทัศนคติแลมองไปข้างหน้าร่วมกัน……..


ชินบัญชร์ ร้านจันทร์ (โจ้)

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ระบบสแตนด์บายแบบไม่ใช้พลังงาน สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้า

อย่า ลืมถอดปลั๊กไฟก่อนออกจากบ้านหรือเมื่อใช้งานเสร็จเรียบร้อย เป็นประโยคที่ค่อนข้างจะคุ้นหูโดยเฉพาะในยุคนี้ ที่ทุกคนต้องช่วยกันประหยัดพลังงาน   
   
ถึงแม้ปัจจุบันอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น เครื่องรับโทรทัศน์, เครื่องเสียง, เครื่องปรับอากาศ หรืออื่น ๆ จะพัฒนาโหมดสแตนด์บายขึ้นมา เพื่อประหยัดพลังงานและเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งาน ซึ่งก็ทำให้คนส่วนใหญ่จึงมักปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยใช้รีโมตคอนโทรล
   
ทั้งนี้การปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยรีโมตนั้น อุปกรณ์ไฟฟ้าจะเข้าสู่โหมดสแตนด์บาย ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าดังกล่าว  ยังคงสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าจากการใช้โหมดสแตนด์บายอยู่  เพราะว่ายังคงต้องการพลังงานสำหรับเลี้ยงวงจรเซ็นเซอร์ เพื่อรอรับคำสั่งเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าจากรีโมตคอนโทรลอยู่ตลอดเวลา

...ความสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าในโหมดสแตนด์บายดังกล่าวกำลังจะหมดไป ...
   
เมื่อนักวิจัยไทยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำทีมโดย “ดร.พรอนงค์  พงษ์ไพบูลย์” จากห้องปฏิบัติการวิจัยนวัตกรรมไร้สายและความมั่นคง (WIS)  หน่วยวิจัยเทคโนโลยีไร้สาย ข้อมูล ความมั่นคงและนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (WISRU) ประสบความสำเร็จในการพัฒนา “ต้นแบบ ระบบสแตนด์บายแบบไม่ใช้พลังงานสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้า” หรือ  Zero-watt Standby ขึ้น
   
ผู้วิจัยบอกว่า ระบบสแตนด์บายที่พัฒนาขึ้นนี้ จะไม่สิ้นเปลืองพลังงาน  เนื่องจากใช้พลังงานจากเครื่องควบคุมระยะไกลหรือรีโมตคอนโทรลมาทำการควบคุม วงจรสวิตช์ แทน เมื่อผู้ใช้สั่งเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า  พลังงานที่ถูกส่งมาจากรีโมตคอนโทรล จะทำการควบคุมวงจรสวิตช์ให้เชื่อมต่อแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงเข้ากับภาครับสัญญาณ ควบคุมและภาคประมวลผลหรือไมโครคอนโทรเลอร์

โดยระบบอาจจะหน่วงเวลาไว้เพื่อรอให้ภาครับสัญญาณควบคุมและภาคประมวลผลเริ่ม ทำงานก่อน ที่ระบบจะส่งสัญญาณควบคุมออกไป ทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งจะเข้าสู่โหมดการทำงานได้ตามปกติ 
    
และเมื่อผู้ใช้สั่งให้ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า ภาคควบคุมจะตัดพลังงานที่จ่ายให้กับภาครับสัญญาณควบคุมและภาคประมวลคำสั่ง ควบคุม และเข้าสู่โหมดสแตนด์บายโดยไม่ใช้พลังงาน
   
การหยุดการสูญเสียพลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าได้เมื่อผู้ใช้งานสั่งปิดอุปกรณ์ ไฟฟ้าด้วยรีโมตคอนโทรล ถือเป็นจุดเด่นของระบบนี้  โดยเปรียบเสมือนการถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องไปกดปุ่มเปิด-ปิดที่ตัวอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าให้เริ่มทำงาน   ขณะเดียวกันตัวระบบจะใช้เทคโนโลยีการรับ-ส่งพลังงานแบบไร้สาย ควบคู่ไปกับการส่งสัญญาณควบคุมของรีโมตคอนโทรล ในการควบคุมการเปิดปิดของเครื่องใช้ไฟฟ้า  
  สามารถพัฒนาระบบดังกล่าวให้ฝังหรือควบรวมเข้าไปในอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ ซึ่งจะมีต้นทุนที่ไม่มากนัก  เนื่องจากสามารถออกแบบวงจรให้รวมอยู่ในอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติมไม่มาก
   
หรือหากจะพัฒนาเป็นชุดอุปกรณ์แบบกล่องเหมือนต้นแบบก็มีต้นทุนการผลิตเพียง แค่หลักพันต้น ๆ เหมาะสำหรับการใช้งานในครัวเรือน โดยใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ
ที่ใช้รีโมต เช่น โทรทัศน์ เครื่องเล่นดีวีดี เครื่องเสียง หรือเครื่องปรับอากาศ เพียงเชื่อมต่อระบบสแตนด์บายแบบไม่ใช้พลังงานเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้า และใช้รีโมตคอนโทรลส่งพลังงานในการควบคุมการเปิด-ปิด ซึ่งระบบสแตนด์บายแบบไม่ใช้พลังงานนี้สามารถทนกำลังไฟฟ้าได้สูงถึง 1.5 กิโลวัตต์ และรีโมตคอนโทรลสามารถควบคุมการเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ในระยะ 5 เมตร รองรับอุปกรณ์ได้ 3 ชิ้นต่อ 1 ชุด
   
ปัจจุบันการพัฒนาระบบดังกล่าวได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรแล้วและอยู่ในขั้นการ พัฒนาต้นแบบระดับภาคสนาม พร้อมที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับนักลงทุนสนใจ
   
โอกาสและความเป็นไปได้ในการทำตลาดเชิงพาณิชย์ถือว่ามีสูง โดยถูกจัดเป็น  1 ใน 5 ผลงานเด่นของ สวทช. ที่นำเสนอต่อนักลงทุนในงาน นาสด้า อินเวสเตอร์ เดย์ 2011

ที่มา
www.dailynews.co.th (วันที่สืบค้นข้อมูล 25 มิถุนายน 2555)




น.ส. สุภัทรา พึ่งพเดช (แหม่ม)

ไอซีที ดึงข้อมูลดาวเทียมเตือนภัยดินถล่ม


กระทรวงไอซีที เดินหน้าใช้ประโยชน์ข้อมูลดาวเทียมการเฝ้าระวังและเตือนภัยดินถล่ม ตั้งเป้า ศึกษาวิจัยการประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดินถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัย ก่อนพัฒนาระบบต่อไป…
นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวถึงการพัฒนาเทคโนโลยีและการใช้ประโยชน์จากอวกาศ ว่า เพื่อส่งเสริมการพัฒนาความร่วมมือในการพัฒนาองค์ความรู้ การประยุกต์ใช้ประโยชน์จากดาวเทียม การพัฒนากิจการอวกาศของประเทศ และเป็นการบูรณาการข้อมูลจากการดำเนินโครงการร่วมสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์ ขนาดเล็ก (SMMS) กระทรวงฯ จึงได้ดำเนินโครงการศึกษาวิจัยการประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียมสำหรับการเฝ้า ระวังและเตือนภัยดินถล่ม ภายใต้ความร่วมมือองค์การความร่วมมือด้านอวกาศแห่งเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Space Cooperation Organization – APSCO) ขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะศึกษาและวิจัยการประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมในการประเมิน ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดินถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยให้มีประสิทธิภาพ
ปลัดกระทรวงไอซีที กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว พัฒนาต่อยอดจากโครงการร่วมสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์ขนาดเล็ก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยและประเทศกลุ่มสมาชิกองค์การ APSCO ในการใช้ข้อมูลร่วมกัน (Spatial Data Sharing) เพื่อการบริหารจัดการธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง ติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพดิน การประเมินความรุนแรงของการกัดเซาะผิวดิน การเกษตรกรรม การประมง การชลประทาน การสำรวจและจัดทำแผนที่ การผังเมือง การขยายตัวของเมือง เป็นต้น
“วัตถุประสงค์สำคัญโครงการนี้ คือ เพื่อพัฒนาความร่วมมือภายใต้ความร่วมมือด้านอวกาศแห่งเอเชียแปซิฟิกในการใช้ ข้อมูลร่วมกันในการบริหารจัดการธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนประยุกต์ใช้ดาวเทียมสำหรับการเฝ้าระวัง และระบบเตือนภัย รวมทั้ง ศึกษาวิจัยการประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมในการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดินถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัย” นางจีราวรรณ กล่าว
โครงการ ศึกษาวิจัยการประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียมฯ ใช้เวลาดำเนินงาน 12 เดือน โดยศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทางธรณีวิทยา และสภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อดินถล่ม และรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอื่น รวมถึงข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับดินถล่ม ได้แก่ กระบวนการเกิดดินถล่ม รูปแบบของดินถล่ม ปัจจัยที่ทำให้เกิดดินถล่ม ลักษณะพื้นที่เสี่ยงภัย ลักษณะที่ตั้งของหมู่บ้านเสี่ยงภัยดินถล่ม ข้อสังเกตหรือสิ่งบอกเหตุ และบันทึกเหตุการณ์ดินถล่มในประเทศไทย รวมทั้งรวบรวมข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การ APSCO เพื่อ นำมาใช้สนับสนุนโครงการฯ โดยจัดให้มีการบริหารจัดการฐานข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา จัดเก็บข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมที่ได้รับจากระบบ DVB-S ในแต่ละวันให้สามารถสืบค้นย้อนหลังได้
ประมวลผลข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ที่มีอยู่ตามลักษณะของ Sensor ของดาวเทียมที่รับได้ เช่น IR1 IR2 IR3 IR4 Visible และการประมวลผลภาพแบบ 2 มิติ 3 มิติ หรือตามความต้องการของผู้ใช้บริการ ตลอดจนเผยแพร่ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาด้วยระบบ DVB-S ด้วยการให้บริการผ่านเว็บไซต์ อีกทั้ง ยังศึกษาปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ และข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ใช้วิเคราะห์ เพื่อนำมาประมวลผลสร้างแบบจำลองคณิตศาสตร์ การเกิดดินถล่มของพื้นที่เสี่ยงภัยในประเทศที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงสำรวจเก็บข้อมูลจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อดินถล่มในประเทศไทย อย่างน้อย 2 จุด เพื่อให้จำแนกพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่มและหมู่บ้านเสี่ยงภัยดิน ถล่มในระดับต่างๆ และนำมาใช้งานกับแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
นอกจากนี้ ยังศึกษาปัจจัยที่ใช้วิเคราะห์พื้นที่ที่มีความเสี่ยง จากดินถล่มในประเทศไทย เช่น พืชพรรณและสภาพการใช้ดิน ลักษณะดิน ความลาดชันของพื้นที่ ปริมาณฝน รวมทั้งใช้ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ได้แก่ โปรแกรมด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ ข้อมูลแผนที่สภาพการใช้ที่ดิน ข้อมูลแผนที่ธรณีวิทยา ข้อมูลความสูงของพื้นที่ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อดินถล่ม  และประมวลผลการสร้างแบบจำลองคณิตศาสตร์ (Model) การเกิดดินถล่มของพื้นที่เสี่ยงภัยในพื้นที่ศึกษาที่มีประสิทธิภาพ และแสดงผลผ่านทางเว็บไซต์


ไอซีที ดึงข้อมูลดาวเทียมเตือนภัยดินถล่ม [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.thairath.co.th/content/tech/134709 . (วันที่สืบค้นข้อมูล : 24 มิถุนายน 2555)


น.ส.ประภาพรรณ   มีทอง (เกด)







กำหนดแผน'เคยู โมเดล'ทางแก้วิกฤติน้ำท่วมปี55

 เหตุการณ์มหาอุทกภัยครั้งล่าสุดช่วงปลายปี 2554 สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงเป็นประวัติการณ์ ทั้งทรัพย์สิน ชีวิตผู้คน สัตว์เลี้ยงและพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะภาคการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์ ณ วันที่ 2 ธันวาคม 2554 พื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหาย 17 จังหวัด ได้แก่ จ.นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ลพบุรี สระบุรี ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพฯ ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ศรีสะเกษ พัทลุง และนราธิวาส รวมแล้ว 12.59 ไร่ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้หลายภาคส่วนต่างหาหนทางในการที่จะแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นซ้ำอีกในปี 2555 และการแก้ปัญหาในระยาวในหลายโครงการทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
ในส่วนของนโยบายและการวางแผนงานในระดับประเทศนั้น รัฐบาลได้มอบหมายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการและแก้ปัญหาที่เกิดเพื่อที่จะได้รับผลกระทบในทรัพย์สินและการดำเนินชีวิต อย่างล่าสุดในส่วนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ระดมมันสมองจากหลายภาคส่วนในรูปแบบของการสัมมนาเชิงวิชาการในหัวข้อ “ก้าวพ้นวิกฤติน้ำบนเส้นทางเกษตรศาสตร์โมเดล” เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและระดมสมองในการเตรียมการแก้ไขปัญหาสถานการณ์น้ำท่วมที่ใกล้จะมาถึงในอีก 2-3 เดือนข้างหน้านี้
          สำหรับการเตรียมความพร้อมตามหลักนโยบายภาครัฐบาล คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ได้กำหนดแผนงาน 2 แบบด้วยกัน คือ แบบปฏิบัติการอุทกภัยระยะเร่งเด่น กับยุทธศาสตร์การบรรเทาทุกข์ภัยแบบบูรณาการ (กรณีลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา)
          แผนงานระยะเร่งด่วนนั้น มีการบริหารจัดการเขื่อนเก็บน้ำหลัก โดยมุ่งเน้นใน 8 ลุ่มน้ำที่สำคัญที่เกี่ยวพันธ์กับแม่น้ำเจ้าพระยา แผนเร่งฟื้นฟูและปรับปรุงสิ่งก่อสร้างเดิมที่เกิดจากความเสียหายเมื่อปีที่แล้ว แผนการพัฒนาคลังข้อมูลระบบะพยากรณ์และเตือนภัยจะเป็นความร่วมมือและรวบรวมข้อมูลจากหลายหน่วยงานเพื่อนำมาวิเคราะห์และคาดการณ์แผนงานพื้นที่รับน้ำนองหรือแผนที่ทั้งหมดที่สามารถจะนำน้ำระบายลงสู่พื้นที่ได้ และสุดท้ายแผนปรับปรุงองค์ประกอบเพื่อการบริหารจัดการน้ำ
          แนวทางแก้ปัญหาในมุมมองของ ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา ระบุว่า แผนงานด้านกรมชลประทานก็มี 4 แผนงาน คือ 1.จะมีการปรับปรุง จัดการเขื่อนน้ำหลัก 2.ฟื้นฟูสิ่งก่อสร้างเดิม 3.ระบบพยากรณ์ และ 4.พื้นที่รับน้ำนอง เขื่อนทั้งในประเทศไทยมีทั้งหมดด้วยกัน 33 เขื่อน เป็นเขื่อนของการไฟฟ้า 10 เขื่อน และของกรมชลประทาน 23 เขื่อน ซึ่งจะเป็นการวางแผนในการใช้น้ำในแม่น้ำ ปิง วัง ยม น่าน ในแต่ละปีจะมีน้ำมาก-น้ำน้อย ถ้าน้ำมากจะอยู่ 83% และน้ำน้อยจะอยู่ที่ 59%
          จากสถิติในปีที่ผ่านมาจึงมีเทคโนโลยีที่เป็นระบบคำนวณพยากรณ์ที่มากกว่า 500 สถานีโดยใช้การเชื่อมโยง โดยเอาโปรแกรมพยากรณ์ทั้งหมดนำมารวบรวมและประมวลผลความรวดเร็วของน้ำเพื่อจัดสรรน้ำในเขื่อน หลังจากประมวลผลเสร็จน้ำมากน้อยเพียงใดยังมีพื้นที่รองรับน้ำส่วนที่เกิน คือพื้นที่รับน้ำนอง การดำเนินในการหาพื้นที่คือสำรวจพื้นที่แล้วหาศักยภาพในการกักเก็บน้ำแล้วจำลองสภาพน้ำในปี 2554 และต้องมีขอบเขตที่ชัดเจน แต่ทั้งหมดนี้ในการบริหาารจะขึ้นอยู่กับเรื่องการบรรเทาและอุทกภัยเป็นอันดับแรก ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยากล่าว
          ด้าน รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้นำเสนอแบบ เคยู โมเดล (ku model) ที่ช่วยบรรเทาและแรงต้านของน้ำโดยมีแนวคิดป้องกันน้ำไม่ให้รอดรั้วใต้กำแพง กำแพงที่ใช้จะเป็นกำแพงทึบ และเสริมกำแพงด้านหลัง รั้วนี้มีการออกแบบป้องกันการไหลลอดของน้ำจะไม่สามารถผ่านหรือรอดรั้วจากใต้ดินได้เนื่องจากมีแผ่นจีซีแอล (GCL) ที่ผลิตจากวัสดุเบนโทไนท์ มีชั้นของแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดถักทอ แผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ เป็นตัวประสานและยึดติดกันกับด้าย ป้องกันน้ำไหลผ่านรอยต่อ ป้องกันการล้มคว่ำ สร้างระบบดักน้ำใต้ดินป้องกันการไหลผ่านดินจนเป็นโพรง อายุการใช้งานของระบบกันน้ำใต้ดินมากกว่า 30 ปี ประหยัด สามารถหาวัสดุและผู้ก่อสร้างได้ง่าย และยังไม่ต้องรื้อรั้วเก่าสามารถทำและก่อสร้างต่อได้เลย "ขั้นตอนการทำ รั้วเดิมตั้งขุดหลุมด้านหลัง ใส่แผ่นจีซีแอลฝังลงไปใต้รั้ว และนำดินกลบนำแผ่นจีซีแอลไว้ชั้นอีกครั้ง และกลบดินให้สูง 70 เซนติเมตร เพื่อสร้างความแข็งแกร่งแต่รั้วที่จะไม่สร้างความอึดอัดให้ผู้ที่อยู่ในรอบรั้วแห่งนี้เนื่องจากมีประโยชน์เพื่อใช้เป็นลู่วิ่งรอบรั้วมหาวิทยาลัยเกษตรฯ แต่ในการทำครั้งนี้จะต้องมีวิศกรในการควบคุมจึงมั่นใจได้เอาเคยู โมเดล เอาอยู่ครับ" รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ กล่าว
          ขณะที่ รศ.ดร.วราวุธ วุฒิวณิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน คาดการณ์ว่าในปี 2555 ที่อาจเกิดเหตุการณ์อุทกภัยได้มาจาก 4 ประเด็น คือ การเกิดเหตุการณ์ในน้ำท่วมเมื่อครั้งอดีต จากการศึกษาการน้ำท่วมเกิดขึ้นเมื่อรัชกาลที่ 1 เกิดน้ำท่วมลึก 8 ศอก หรือประมาณ 4 เมตร แต่ในปีพ.ศ.2485 และพ.ศ.2538 ระดับแม่น้ำเจ้าพระยาสูงที่สุดในระดับ 2.27 เมตร นับว่าสูงที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ แต่ในปี พ.ศ.2554 เกิดประวัติกาลครั้งใหม่ มีระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาสูงถึง 2.53 ที่ว่าได้สถิติสูงที่สุดในประวัติศาสตร์
          ส่วนปัจจัยที่ก่อให้เกิดน้ำท่วม คือ น้ำฝน น้ำเหนือ และน้ำทะเละหนุน และสิ่งที่ตามมานั้นคือความเตรียมพร้อมและระบบการป้องกันมาจากเครื่องมือ เช่น อ่างเก็บน้ำ แก้มลิง ระบบพยากรณ์ นี่คือการป้องกันแต่สิ่งที่เราจะป้องกันไม่ได้คือ พายุ ในประเทศไทยมีหลายรูปแบบ แต่สิ่งที่ก่อให้เกิดมวลน้ำมหาศาลนั่นคือ พายุที่เข้ามาจำนวนมากและทิศทางการเข้าคือทิศทางเดิมหรือเกิดซ้ำๆ จึงไม่สามารถคาดการณ์ได้ต้องขึ้นอยู่กับภูมิอากาศ ถ้าภูมิอากาศไม่มีความเปลื่ยนแปลงก็จะไม่ส่งผลให้เกิดผลกระทบในประเทศไทยได้
          เคยู โมเมล ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาเสนอมาเพื่อที่จะแก้ปัญหาน้ำท่วมในปี 2555 ที่ก่อนหน้านี้มีหลายหน่วยงานที่เสนอแผนมา ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลน่าจะนำไปพิจารณาเพื่อเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมและประเทศชาติในอนาคต




ที่มา

กำหนดแผน'เคยู โมเดล'ทางแก้วิกฤติน้ำท่วมปี55.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :http://www.komchadluek.net/detail/20120430/129108/%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%B555.html .  (วันที่สืบค้นข้อมูล : 25 มิถุนายน 2555).

น.ส. หิรัญญิกา  ศรีวงษ์กลาง(จ๋อม)

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รีไซเคิล UPS ไอทีเพื่อสิ่งแวดล้อม


       ในขณะที่โลกเทคโนโลยีก้าวล้ำนำสมัยไปอย่างไม่หยุดยั้งเช่นทุกวันนี้ บางครั้งอาจทำให้เราลืมหรือไม่มีเวลาคิดกันว่า โลกของสิ่งแวดล้อมในขณะนี้เป็นอย่างไร ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับในอดีตแล้วก็เชื่อว่า สภาพในปัจจุบันนี้คงไม่ดีเท่าไหร่นัก ถ้าหากว่า เราไม่รีบช่วยกันดูแลแก้ไขตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ในอนาคตก็อาจจะเป็นอันตรายต่อคนได้
มีมากมายหลายอย่างที่เราสามารถช่วยกันทำให้โลกนี้น่าอยู่ อย่างเช่น การปลูกต้นไม้ หรือถ้าไม่สะดวก เพียงแค่เราไม่ทิ้งขยะลงในที่ที่ไม่ควรทิ้ง เท่านี้ก็นับว่าเป็นการช่วยรักษาสภาพแวดล้อมอีกทางหนึ่งแล้ว  ในฐานะที่ทำงานเกี่ยวข้องกับแวดวงไอที ดิจิตอลไลฟ์ฉบับนี้ จึงมีเรื่องราวเกี่ยวกับ กระบวนการจัดการอุปกรณ์บางอย่างของคอมพิวเตอร์ ที่ไม่เป็นมลภาวะกับสิ่งแวดล้อม ของ บริษัท ลีโอนิคส์ จำกัด โดยมี คุณวุฒิพงศ์ สุพนธนา กรรมการผู้จัดการ มาพูดคุยกับทีมงานคอมพิวเตอร์.ทูเดย์  ในโครงการสร้างสรรค์นี้ เพื่อให้เข้าใจในรายละเอียดที่จะกล่าวต่อไป เรามาทำความรู้จักกับบริษัท ลีโอนิคส์ก่อนดีกว่า
บริษัท ลีโอนิคส์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2531 เป็นบริษัทคนไทย ที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ศาสตร์ความรู้ด้านวิศวกรรมไฟฟ้ากำลังและอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยทำให้ลดการนำเข้าสินค้าราคาแพงจากต่างประเทศ ตลอดจนสามารถส่งออกไปต่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของบริษัทแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ กลุ่มแรกได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ป้องกันปัญหาทางไฟฟ้า (Power Protection) ได้แก่ สินค้ากลุ่ม ยูพีเอส เครื่องป้องกัน Surge ในสายส่ง โดยเฉพาะสินค้ายูพีเอสนั้น บริษัทสามารถผลิตได้ตั้งแต่ 350 VA จนถึง 30 KVA
นอกจากนี้บริษัทยังให้ความสนใจกับการอนุรักษ์พลังงาน เนื่องจากปัจจุบันนี้ปัญหาการขาดแคลนพลังงานเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ บริษัทจึงได้พัฒนาสินค้ากลุ่มที่สองขึ้น คือ กลุ่มสินค้าที่นำพลังงานจากธรรมชาติกลับมาใช้ใหม่ (Power Conser- vation) ได้แก่ Stand Alone Inverter, Grid Con-nected Inverter, Solar Charger and Controller เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น การนำพลังงานที่ได้รับจากเซลล์แสงอาทิตย์มาชาร์จลงแบตเตอรี่เพื่อใช้ในสถานที่ที่สายส่งของการไฟฟ้าเข้าไม่ถึง
สภาพแวดล้อมภายในองค์กรก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่ลีโอนิคส์ตระหนักถึงไม่ว่าจะเป็นในรูปของการประหยัดพลังงาน การจัดสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้ร่มรื่นน่าอยู่ การกำจัดขยะและเศษวัสดุที่เป็นมลพิษอย่างถูกวิธี การควบคุมสารพิษจากกระบวนการผลิตที่อาจก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยในด้านของการประหยัดพลังงานในสถานที่ทำงานนั้น ลีโอนิคส์ก็ได้มีการรณรงค์และส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพแก่การทำงานมากที่สุด อย่างในกรณี รถเข็นประหยัดพลังงาน ในแผนก Store ก็เป็นอีกผลงานหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการประหยัดพลังงานของลีโอนิคส์ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะแก่การนำเป็นแบบอย่างให้กับคนอื่นๆ ต่อไป

Environmental object คือ ประโยชน์ของการรีไซเคิล UPS

ที่มา: รีไซเคิล UPS ไอทีเพื่อสิ่งแวดล้อม. [Online]. เข้าถึงได้จาก :http://www.arip.co.th/articles.php?id=404921. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 24 มิถุนายน 2555).

นายอธิคม  คำสอนทา  (ก๊อบ)

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ผลิตก๊าซชีวภาพจากระบบบำบัดน้ำ

          ภาวะโลกร้อน เป็นประเด็นปัญหาที่ทำให้หลายฝ่ายหันมาให้ความสนใจเป็นพิเศษ และต่างมีความพยายามในการลดใช้พลังงาน ตลอดจนเสาะแสวงหาพลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือก เพื่อนำมาใช้ทดแทนพลังงานจากธรรมชาติที่นับวันก็จะลดน้อยลงและอาจจะหมดไปได้ในวันใดวันหนึ่งข้างหน้า นอกจาก นี้ของเสียจากกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมก็นับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เปรียบเสมือนตัวเร่งให้เกิดภาวะโลกร้อนมากยิ่งขึ้นหากปราศจากการจัดการที่ดี และปล่อยให้ของเสียเหล่านี้ย่อยสลายในพื้นที่เปิด จะทำให้ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญอย่างก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สามารถลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ แน่นอนว่าเราไม่อาจมองเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ด้วยตาเปล่า แต่สิ่งที่สามารถสัมผัสได้ถึงผลกระทบอย่างชัดเจน คงหนีไม่พ้น น้ำเสีย กลิ่นเหม็นและแมลง ซึ่งเป็นปัญหาต่อสภาพแวดล้อมชุมชน ที่ไม่อาจมองข้ามได้

วันก่อนไปดูงานด้านระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ซีพีเอฟ มีนบุรีที่มีโครงการ “ผลิตก๊าซชีวภาพจากระบบบำบัดน้ำ” เพื่อให้เป็นโรงงานเป็นมิตรกับชุมชนอย่างแท้จริง

โครงการนี้ใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศชนิดปิดคลุมเพื่อลดการกระจายของกลิ่นและสามารถผลิตเป็นก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นจากการย่อยสลายน้ำเสียได้สูงสุดถึง 6,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยมีแผนจะนำก๊าซชีวภาพดังกล่าวไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในหม้อไอน้ำในโรงงานภายในปีนี้ ซึ่งจะทำให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ถึงปีละ 6.6 ล้านบาท

ศุภชัย อังศุภากร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส กล่าวว่า ถ้ามองย้อนกลับไปเมื่อ 30 ปีก่อน โรงงานมีนบุรีแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างไกลจากแหล่งชุมชนมาก เรียกว่า กว่าจะเข้าเมืองในแต่ละครั้งก็ต้องใช้เวลามาก ช่วงเวลาเพียง ไม่กี่ปีมานี้แม้ว่าโรงงานแห่งนี้ยังคงตั้งอยู่ที่เดิม แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ ความเจริญที่เริ่มขยายรุกคืบเข้ามาใกล้โรงงาน สิ่งที่ตามมาก็คือ วันนี้ชุมชนกำลังโอบล้อม ทำให้ต้องกลับมาคิดหาวิธีการว่าจะทำอย่างไรให้ โรงงานสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนรอบ ๆ ข้างได้ อย่างมีความสุข ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องตระหนักเป็นสิ่งแรก เนื่องจากโรงงานนี้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการแปรรูปเนื้อไก่ จึงมี ของเสียจากกระบวนการผลิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และหากไม่มีการจัด การของเสียเหล่านี้ให้ดีก็อาจจะส่งผลกระทบต่อชุม ชนได้ ด้วยเหตุผลนี้จึงได้พัฒนาระบบบำบัดมาอย่างต่อ เนื่องเพื่อให้เกิดประสิทธิ ภาพมากที่สุด เป็นที่มาของ “โครงการผลิตก๊าซชีวภาพ จากระบบบำบัดน้ำ” ที่ไม่เพียงสามารถลดปัญหามลพิษทางกลิ่นรบกวนจากบ่อบำบัดได้มากขึ้น รวมทั้งช่วยบรรเทาวิกฤติโลกร้อนได้เท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดพลังงานทดแทนสำหรับใช้ภายในโรงงาน ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานแก่โรงงาน ได้อีกทางหนึ่ง ที่สำคัญโครงการนี้นับเป็น ครั้งแรกที่มีขึ้นในโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ในประเทศไทย

“โครงการนี้เป็นต้นแบบที่จะนำไป ประยุกต์ใช้กับโรงงานอาหารแปรรูปอื่น ๆ ของบริษัทต่อไป โดยก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นนี้ มีส่วนผสมของก๊าซมีเทนประมาณ 60-70% นับเป็นแหล่งพลังงานทดแทนสำคัญ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ เช่น ใช้แทนเชื้อเพลิงในการผลิตไอน้ำ หรือใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าโดยผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและใช้เป็นเชื้อเพลิงในการประกอบอาหาร นอกจากนี้ยังนับว่าเป็นเชื้อเพลิงสะอาด ซึ่งสอดคล้องกับหลัก CDM : Clean Development Mechanism ที่ช่วยลดปัญหาภาวะเรือนกระจกของโลก

แม้ว่าแนวทางบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมจะมีความตื่นตัวในองค์กรทุกระดับจากทั่วโลก ก่อให้เกิดโครงการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง แต่ความสำคัญของกิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลจริงต่อส่วนรวมนั้น จะต้องอยู่ภายใต้จิตสำนึกที่แท้จริงของผู้ปฏิบัติ ตลอดจนการสร้างความแข็งแกร่งต่อความคิดอันดีต่อ ส่วนรวม โดยเริ่มจากสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรก่อนแล้วจึงแผ่ขยายสู่สังคมโดยรวม เช่นนี้...จึงจะทำให้เป้าหมายที่ตั้งไว้บังเกิดผลลัพธ์ได้จริงอย่างยั่งยืน

แหล่งที่มา:

ผลิตก๊าซชีวภาพจากระบบบำบัดน้ำ . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :http://www.deqp.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=17376%3A2010-04-20&catid=12%3A2010-02-17-11-32-15&Itemid=50&lang=th. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 22 มิถุนายน 2555).

นางสาวแสงเทียน  ฤทธิไกรสร (แนน)

วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ภูมิอากาศในประเทศอังกฤษ

                  อังกฤษมีสภาพอากาศค่อนแปรปรวนในวันหนึ่งอากาศอาจแตกต่างกันมาก โดยทั่วไปในช่วงหน้าร้อน (มิถุนายน – สิงหาคม) อากาศจะร้อนถึง 14-30 องศาเซลเซียส และในฤดูหนาว (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) อุณหภูมิจะลดต่ำลงมาอยู่ที่ 1-5 องศาเซลเซียส สภาพอากาศในทางตอนเหนือและตอนใต้ของอังกฤษค่อนข้างแตกต่างกัน โดยทั่วไปแล้วหากยิ่งลงไปทางใต้อากาศก็จะอบอุ่นขึ้น อากาศโดยทั่วไปจะมี 4 ฤดูดังนี้

                  ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม - พฤษภาคม) อุณหภูมิอยู่ที่ 6 ถึง 11 องศาเซลเซียส เดือนพฤษภาคมอากาศจะค่อนข้างอบอุ่น อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 18 องศาเซลเซียส

                  ฤดูร้อน (มิถุนายน - สิงหาคม) ส่วนใหญ่อากาศอบอุ่น อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 14 – 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิอาจจะสูงขึ้นเป็นประมาณ 28 องศาเซลเซียสในบางวัน

                 ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน - พฤศจิกายน) อากาศอบอุ่นสลับกับอากาศหนาว อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอยู่ที่ประมาณ 7 - 14 องศาเซลเซียส ในเดือนกันยายนอากาศมักจะอบอุ่นกว่าในเดือนพฤศจิกายน

                 ฤดูหนาว (ธันวาคม - ต้นเดือนมีนาคม)ในช่วงฤดูหนาวเวลาในตอนกลางวันจะสั้นที่สุดและอากาศจะหนาวที่สุดในรอบปี (กลางวันประมาณ 7-8ชั่วโมง) ในช่วงกลางวันอากาศจะหนาวและแห้งแต่ท้องฟ้าสว่างอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปมาอยู่ที่ 1ถึง 5องศาเซลเซียส



environmental object คือ สภาพอากาศของประเทศอังกฤษในแต่ละฤดู

ที่มา :

ภูมิอากาศในประเทศอังกฤษ. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://tsaclub.com/edu_guide.php?artcategory_id=2&article_id=108. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 21 มิถุนายน 2555).






น.ส.ศศิธร ระหงษ์ (ตุลา)

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เมื่อนักออกแบบเกมช่วยกู้โลก: สุดยอดเกมคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

ไม่ว่าจะมีนักเศรษฐศาสตร์กี่คนที่ยังทะนงตนว่าศาสตร์ของตัวเองนั้นสำคัญกว่าใครเพื่อน ข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้อีกต่อไปคือ ลำพังเศรษฐศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์ไม่อาจกอบกู้โลกได้ เนื่องจากการกู้โลกที่ได้ผลจำเป็นจะต้องอาศัยการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนในวงกว้าง และการเปลี่ยนพฤติกรรมก็จำต้องอาศัยหลายกลวิธีผสมกัน
ผู้เขียนเคยพูดถึงการใช้กฏกติกา (เช่น ภาษีคาร์บอน) และการ “สะกิด” แบบเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมไปแล้ว วันนี้อยากพูดถึงเกม – กลวิธีในดวงใจของเด็กและผู้ใหญ่หัวใจเด็กทุกคน
เกมคอมพิวเตอร์และเกมกระดาน (บอร์ดเกม) สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้คนได้ หรืออย่างน้อยก็ให้ความรู้ซึ่งเป็นก้าวแรกสู่การเปลี่ยนแปลง ถ้าหากผู้ออกแบบเกมสามารถสร้างสมดุลระหว่าง “สาร” เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ต้องการจะสื่อ กับ “ความสนุก” ของเกม ซึ่งสำคัญพอๆ กัน เพราะถ้าเกมมีสาระแต่ไม่สนุก คนเล่นก็จะเบื่ออย่างรวดเร็ว แต่ถ้าเกมสนุกแต่ขาดสาระ คนเล่นก็จะได้แต่ความบันเทิงอย่างเดียว ไม่ได้รู้อะไรมากขึ้นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมแม้แต่น้อย
ตอนนี้ผู้เขียนอยากแนะนำ “ซีเรียสเกม”   ที่คิดว่าทั้งสนุกและ “ได้ผล” ในแง่ของการสอนแบบเนียนๆ ให้คนเล่นเข้าใจประเด็นสิ่งแวดล้อมและวิธีแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม


Oiligarchy – เกมออนไลน์ที่มุ่งสร้างความเข้าใจในแนวคิดเรื่อง “peak oil” (จุดผลิตน้ำมันสูงสุด) และชี้ให้เห็นความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างธุรกิจพลังงาน สงคราม กับการเมืองระหว่างประเทศ
ในเกมนี้เราเล่นเป็นซีอีโอของบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ในอเมริกา เล่นทีละตา หนึ่งตาเท่ากับหนึ่งปี ในปีเปิดเกมคือ 1946 บริษัทของเรามีแค่ที่ดินผืนเล็กๆ ในมลรัฐเท็กซัส ขุดน้ำมันขายได้ไม่นานทรัพยากรใต้ที่ดินของเราจะหมด เราต้องออกไปสำรวจและขุดเจาะน้ำมันในต่างแดน ซึ่งจะทำให้ถูกต่อต้านอย่างหนักจากนักสิ่งแวดล้อมและชาวพื้นเมือง ดังนั้นก่อนที่บริษัทของเราจะทำกำไรในต่างแดนได้ รัฐบาลของเราจะต้องช่วยแก้ปัญหาให้ เช่น ส่งทหารไปโจมตี แต่นั้นหมายความว่าเราต้องมีอำนาจควบคุมรัฐบาล ผ่านการบริจาคเงินให้กับพรรคการเมือง
ถ้าเราเล่น Oiligarchy ได้ดี ในที่สุดเราก็จะเจริญรอยตามประวัติศาสตร์จริงหลังจุด peak oil คืออุปทานน้ำมันเริ่มหดตัวสวนทางกับอุปสงค์ ถ้าเรายังมุ่งกอบโกยด้วยการทำให้ทุกคนเสพติดน้ำมัน (วัดด้วยดัชนี “oil addiction” ในเกม ยิ่งสูงเรายิ่งขายน้ำมันได้เยอะ) เราก็จะจบเกมแบบที่โลกทั้งใบล่มสลาย แต่ถ้าหากเรายอมลดอำนาจการผูกขาดและคลายการครอบงำรัฐ (ซึ่งก็จะหมายถึงกำไรที่ลดลง) เกมก็จะจบแบบแฮปปี้เอ็นดิ้งสำหรับทุกคนบนโลก เพราะข้ามพ้นเศรษฐกิจแบบพึ่งพาน้ำมันได้ แต่แย่สำหรับเราในฐานะบริษัทน้ำมัน ซึ่งนั่นก็คือสารหลักที่ผู้สร้างเกมนี้ต้องการจะสื่อ – ด้วยโมเดลธุรกิจยุคอุตสาหกรรมของบริษัทน้ำมัน ยิ่งบริษัทประสบความสำเร็จเพียงใด ผู้คนและโลกยิ่งเดือดร้อนเพียงนั้น
ทีมผู้สร้าง Oiligarchy จงใจให้เราสวมบท “ผู้ร้าย” เพื่อชี้ให้เห็นปัญหาของอุตสาหกรรมน้ำมัน และอธิบายเรื่องยากๆ อย่างอุตสาหกรรมน้ำมันผ่านเกมที่เล่นสนุก กราฟฟิกการ์ตูนแสบสันต์ ท้าทาย และมีตอนจบถึง 4 แบบ

ที่มา:

สฤณี อาชวานันทกุล.  เมื่อนักออกแบบเกมช่วยกู้โลก: สุดยอดเกมคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :  http://www.greenworld.or.th/columnist/ecosaveworld/1249.  (วันที่สืบค้นข้อมูล : 16 มิถุนายน 2555).
 
 
 
 
 
น.ส. หิรัญญิกา  ศรีวงษ์กลาง   (จ๋อม)

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555


ปัญหาจากขยะอิเล็กทรอนิกส์


ขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นแหล่งวัสดุดิบชั้นรองที่มีค่า หากมีการดูแล จัดการอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม หากไม่ดูแลจัดการอย่างเหมาะสมแล้ว ก็นับเป็นแหล่งพิษที่ร้ายแรงได้ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้มีต้นทุนเบื้องต้นที่ต่ำ และยังมีการหมดอายุตามที่กำหนด ทำให้เกิดปัญหารวดเร็วมากขึ้นทั่วโลก ปัจจุบันมีวิธีการแก้ปัญหาเชิงเทคนิคหลายประการ แต่จะต้องมีการวางกรอบในเชิงกฎหมาย มีระบบจัดเก็บ ระบบขนส่ง และบริการอื่นๆ ที่ต้องใช้ก่อนจะนำไปสู่การดำเนินการทางเทคนิค ขยะอิเล็กทรอนิกส์ในอเมริกาที่นำไปถมที่ดินนั้น มีสัดส่วนราว 2 เปอร์เซ็นต์ แต่ในจำนวนนี้ เป็นขยะพิษถึง 70 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
ด้วยสภาพการทำงานและมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีในบางประเทศของเอเชียและแอฟริกา ทำมีการส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์มาทิ้งหรือกำจัดในประเทศเหล่านั้น ซึ่งโดยมากจะเป็นไปโดยผิดกฎหมาย ในประเทศไทยเราก็มีข่าวการส่งขยะเข้ามาทางเรืออยู่เสมอๆ กรณีเช่นนี้น่าจะมีการร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่บางคนในหน่วยงานบางแห่งของรัฐด้วย ในกัมพูชาก็มีข่าวถูกนำขยะมาทิ้งเช่นกัน
สำหรับในเดลลีและบังกาลอร์ของอินเดีย และในเมืองกุ้ยหยู มณฑลซานโถว ของจีน มีพื้นที่จัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม การเผา ถอดชิ้นส่วน และทำลายโดยไม่มีการควบคุม ย่อมก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและต่อสุขภาพผู้คนทั่วไป ได้แก่ผลกรทบต่อสุขภาพ และความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ ที่มีผลต่อผู้เกี่ยวข้องโดยตรง อันเนื่องมาจากวิธีการกำจัดขยะเหล่านั้น สำหรับการค้าขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีระเบียบควบคุมโดยสนธิสัญญา (Basel Convention)
ขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีผลเสียเกี่ยวข้องกับเรื่องของสารพิษบางอย่าง โดยเฉพาะหากจัดการไม่ดี พิษเหล่านี้มักจะเป็นโลหะหนัก ชนิดที่มีมากได้แก่ ตะกั่ว ปรอท และแคดเมียม นอกจากนี้ยังมีสารหนู กำมะถัน และสารเคมีอีกเป็นจำนวนมาก แม้กระทั่งจอมอนิเตอร์สำหรับคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป ก็มีตะกั่วอยู่ถึง 6 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ส่วนมากจะอยู่ในแก้วของจอภาพ CRT กล่าวโดยสรุปว่า มีธาตุต่างๆ ในขยะอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น 38 ชนิดด้วยกัน ความไม่อยู่ยั่งยืนของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นับเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ต้องมีการรีไซเคิลหรืออาจนำกลับมาใช้ใหม่ (หากจัดการได้เหมาะสม) สำหรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย
ระบบจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้นบรรลุถึงจุดสมบูรณ์เมื่อไม่กี่ปีมานี้ หลังจากได้เพิ่มกฎระเบียบ และเงื่อนไขในการใช้งานเชิงพาณิชย์ ส่วนบุคคล และสาธารณะ และเป็นที่สนใจอย่างกว้างขวาง ส่วนหนึ่งของการปฏิวัตินี้เกี่ยวข้องกับความหลากหลายอย่างมหาศาลของขยะอิเล็กทรอนิกส์จากกระบวนการรีไซเคิลแบบย่อยขนาดที่มีความเข้มข้นขึ้น (นั่นคือ การรีไซเคิลแบบเดิม) เมื่ออุปกรณ์ถูกปรับไปเป็นรูปแบบวัตถุดิบ การแปลงนี้ทำได้ด้วยการนำมาใช้ใหม่ (reuse) และปรับใหม่ (refurbish) ข้อดีในแง่สังคมและสภาพแวดล้อมจากการนำมาใช้ใหม่ มีหลายสถานด้วยกัน นั่นคือ ลดความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ และความต้องการที่เทียบเท่ากันสำหรับวัตถุดิบใหม่โดยสิ้นเชิง (โดยที่สภาพภายนอกที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม จะไม่มีผลต่างด้านต้นทุนของวัตถุดิบนั้น) และน้ำบริสุทธิ์ปริมาณมาก รวมทั้งกระแสไฟฟ้าสำหรับการผลิตที่เกี่ยวข้อง การขาดแพกเกจต่อหน่วย การมีเทคโนโลยีเพื่อเปิดโอกาสให้สังคมมีความสนใจต่อความรับผิดชอบผลิตภัณฑ์มากขึ้น และลดการนำไปใช้เพื่อถมที่ดินน้อยลง
ความท้าทายยังคงมีอยู่ เมื่อวัสดุนั้นไม่สามารถนำไปใช้ใหม่ได้ การรีไซเคิลแบบเดิม หรือการกำจัดแบบเดิมโดยการนำไปถมในที่ดินจึงเกิดขึ้นตามมา มาตรฐานสำหรับทั้งสองแนวทางนั้นถูกมองจากมุมมองเชิงกฎหมายที่แตกต่างกันมาก ไม่ว่าในประเทศกำลังพัฒนา หรือประเทศที่พัฒนาแล้ว ความซับซ้อนของรายการต่างๆ ที่จะจัดการทำลาย ต้นทุนระบบรีไซเคิลที่มีผลต่อสภาพแวดล้อม และความต้องการสำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวมรวบอุปกรณ์ และกระบวนการขั้นตอนอย่างเป็นระบบ คือทรัพยากรที่มีความขาดแคลนมาก แต่ปัจจุบันนี้ มีความเปลี่ยนแปลงไปมาก พลาสติกจำนวนมากที่ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้น จะสารติดไฟช้าอยู่ โดยมากจะเป็นฮาโลเจน ที่เติมเข้ากับพลาสติกเรซิน ทำให้พลาสติกเหล่านี้รีไซเคิลยาก
นายยุทธภูมิ  ปาใจประเสริฐ ณุ 

คนใช้วิทยาศาสตร์ชื่อ GIS

    GIS คือการทำแผนที่ดาวเทียม พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่จะจำลองภาพถ่ายดาวเทียมให้กลายเป็นแผนที่ แต่เป็นแผนที่ซึ่งละเอียดยิบ แสดงให้ดูได้ตั้งแต่ตรอกซอกซอยไปจนถึงหลังคาบ้านแต่ละหลัง ผมเข้าใจว่าคงเป็นแผนที่ Real Time ด้วย หมายความว่าเกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรในพื้นที่ ก็ปรากฏบนแผนที่ได้
    หนังสือพิมพ์อธิบายว่า แผนที่อย่างนี้มีประโยชน์ในการเก็บภาษี ก็พอจะนึกออกนะครับ ว่าเป็นฐานข้อมูลที่สมบูรณ์สำหรับการเก็บภาษีที่ดิน,โรงเรือน ตลอดไปจนถึงการอนุมัติแบบก่อสร้าง ยิ่งไปกว่านี้ก็คือวางผังเมืองในอนาคตก็น่าจะสะดวกขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเก็บภาษี,อนุมัติแบบ หรือผังเมืองล้วนเป็นการกระทำแก่พื้นที่ เช่นภาษีโรงเรือนก็เก็บจากขนาดของโรงเรือน,แบบก่อสร้างก็อนุมัติจากพิมพ์เขียวและดูจากสภาพแวดล้อมในพื้นที่ซึ่งจะก่อสร้าง,ผังเมืองคือจัดให้พื้นที่ของเมืองถูกใช้อย่างไร ทั้งหมดนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับคนเลย เป็นการบริหารพื้นที่ ไม่ใช่บริหารคน ก็มีความสำคัญนะครับ ถึงอย่างไรองค์กรปกครองก็ต้องบริหารพื้นที่ด้วย แต่การบริหารพื้นที่นั้นควรจะกระทำโดยมีคนเป็นเป้าหมาย ผมหมายถึงคนจริงๆ ที่ชื่อนางแดง,นายดำ,ผมหยิก,หน้าก้อ ไม่ใช่"ประชาชน"ที่มองไม่เห็นตัว
      แต่แผนที่ซึ่งมีคนอยู่ในนั้น ดาวเทียมทำให้ไม่ได้หรอกครับ เทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้เราสามารถจำลองพื้นที่ออกมาให้ตรงกับความจริงได้เป๊ะ แต่เป็นพื้นที่ทางกายภาพ ไม่ใช่พื้นที่ของกิจกรรมซึ่งคนเป็นผู้กระทำ
     ผมเคยอ่านหนังสือการทำแผนที่หมู่บ้านของ นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ท่านเขียนขึ้นเพื่อแนะนำคนทำงานสาธารณสุขในหมู่บ้านว่า สิ่งแรกที่ควรทำคือทำแผนที่ของหมู่บ้าน เพราะนอกจากจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่แล้ว ยังได้ข้อมูลเกี่ยวกับคนในหมู่บ้านด้วย และข้อมูลอันหลังนี่แหละครับ เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานด้านสาธารณสุขทีเดียว (ที่จริงด้านอื่นๆ ก็เหมือนกัน)
     วิธีทำซึ่งอาจารย์โกมาตรแนะนำไว้นี่แหละครับที่สำคัญมาก เพราะแทนที่จะอาศัยเทคโนโลยีเช่นส่องกล้องและวัดด้วยสายเมตร ก็ให้กะๆ เอาเอง เพราะวิธีทำคือการออกเดินเพื่อจำลองพื้นที่ของหมู่บ้านเป็นแผนที่ (หรือแผนผัง) และเพราะต้องเดินนี่แหละครับ แผนที่จึงบอกกิจกรรมของมนุษย์บนพื้นที่นั้น ตรงนั้นเขาใช้เลี้ยงวัว, ตรงโน้นเขาปลูกถั่วในหน้าแล้ง,ตรงนู้นเป็นบ่อน้ำสาธารณะ,และตาน้ำตรงนี้ชาวบ้านเชื่อกันว่าได้น้ำกินที่อร่อยที่สุด ฯลฯ
     ไม่ใช่แค่กิจกรรมของมนุษย์ ท่านแนะนำให้คุยกับชาวบ้าน จึงทำให้รู้ว่าใครซึ่งเป็นคนๆ ไปนั้น ใช้พื้นที่แต่ละแห่งอย่างไร พื้นที่เดียวกันคนหนึ่งใช้อย่างหนึ่ง อีกคนหนึ่งใช้อีกอย่างหนึ่งก็ได้ แถมเมื่อคุยกับชาวบ้านมากขึ้น ก็ทำให้รู้จักคนแต่ละคนว่า เขามีปัญหาในชีวิตอย่างไร ใฝ่ฝันอะไร และความสัมพันธ์ของเขากับคนอื่นในหมู่บ้านเป็นอย่างไร
     ข้อมูลเหล่านี้บอกสาเหตุของโรค,การแพร่ระบาดของโรค,ความเสี่ยงของโรคภัยไข้เจ็บ,การป้องกันรักษา ฯลฯ ซึ่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ต้องเพียงแต่นั่งรอว่าใครป่วยก็ไปหาทีหนึ่ง
     นอกจากนี้กิจกรรมด้านสาธารณสุขไม่ได้อยู่ลอยๆ มันสัมพันธ์กับกิจกรรมด้านอื่นๆ ของมนุษย์ การทำแผนที่แบบนี้ทำให้มองเห็นสุขภาพของแต่ละคนอย่างเชื่อมโยงเป็นองค์รวม-กับการทำมาหากิน, สถานะทางสังคมของเขา,ความสัมพันธ์ของเขากับคนอื่นๆ ในสังคม,ความเชื่อและอคติของเขา ฯลฯ
     ขยับจากระดับหมู่บ้านขึ้นมาสู่ระดับตำบล จะใช้วิธีทำแผนที่เช่นนี้กับระดับตำบลได้หรือไม่ ผมคิดว่าได้ และหากสมาชิก อบต.ในประเทศไทยรู้จักคนในพื้นที่ของตนได้ดีเท่านี้ ผมเชื่อว่า อบต.ก็จะมองเห็นปัญหาเร่งด่วนจำนวนมากที่น่าจะเข้าไปจัดการ เป็นปัญหาที่เขามองเห็นเองจากพื้นที่ของเขา ไม่ใช่ปัญหาที่ส่วนกลางส่งต่อมาให้เขา อบต.ใช้งบประมาณลงไปในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานซ้ำแล้วซ้ำอีกมาหลายปี ก็เพราะ อบต.ก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไรเหมือนกัน ที่ไม่รู้ว่าจะทำอะไร ก็เพราะไม่รู้จักผู้คนในพื้นที่ของตนดีพอ ใครๆ ก็อยากได้ถนนปูนไปถึงหน้าบ้าน,อยากได้น้ำประปาที่ไม่ขาดในหน้าแล้ง,อยากได้ไฟถนน ฯลฯ อบต.จึงเลือกทำสิ่งที่อย่างไรเสียชาวบ้านก็น่าจะพอใจก่อนเป็นธรรมดา
    ขยับมาถึงระดับเทศบาล จะใช้วิธีทำแผนที่เช่นนี้ได้หรือไม่ ผมก็ยังเห็นว่าได้อยู่นั่นเอง เพียงแต่ต้องปรับเปลี่ยนอะไรบางอย่างให้เป็นไปได้กับผู้คนจำนวนมากในเขตเทศบาล ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า ทำแผนที่เพื่อรู้จักคน ไม่ใช่ทำแผนที่เพื่อรู้จักพื้นที่เพียงอย่างเดียว
    แน่นอนว่าการสำรวจผู้คนอย่างกว้างขวางเช่นนี้ ย่อมต้องใช้เงิน จะมากกว่าหรือน้อยกว่าระบบ GIS นั้น ผมไม่ทราบ แต่ผมเชื่อว่าข้อมูลที่ได้มาจะมีประโยชน์ในการบริหารท้องถิ่นมากกว่าแผนที่ GIS อย่างเทียบกันไม่ได้ ประกาศห้ามจอดรถบนถนนบางสายของเทศบาล หากมาจากแผนที่ GIS เกิดขึ้นจากปริมาณของรถบนท้องถนนเท่านั้น แต่หากมาจากแผนที่แบบคุณหมอโกมาตร ก็จำเป็นต้องผนวกเอากิจกรรมของชาวบ้านบนถนนสายนั้นเข้าไปด้วย กฎห้ามจอดรถก็จะมีความยืดหยุ่นกว่า เพราะเอื้อต่อเป้าหมายหลายประเภทมากขึ้น
    ไม่มีใครได้อะไรทั้งหมด และไม่มีใครเสียอะไรทั้งหมด...สังคมที่เอื้อเฟื้ออาทรต่อกัน ไม่ได้เกิดจากน้ำลายของปูชนียบุคคล แต่เกิดจากการอยู่ร่วมกันที่ต่างได้บ้างเสียบ้างอย่างนี้แหละครับ
    เทศบาลใดที่บริหารงานด้วยแผนที่แบบคุณหมอโกมาตร จะปฏิวัติการบริหารงานท้องถิ่นอย่างมโหฬาร และผมแน่ใจว่า จะดึงคนจำนวนมากออกมาสู่คูหาเลือกตั้งเพื่อสนับสนุนผู้บริหารแบบนี้ (ในขณะที่ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่ของประชากรไม่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเทศบาล จึงเปิดโอกาสให้คะแนนจัดตั้งเป็นตัวตัดสิน)
    อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบแผนที่ GIS กับแผนที่ของคุณหมอโกมาตร ผมเชื่อว่าผู้บริหารระดับสูงในเมืองไทยจะเลือกแผนที่ GIS เสมอ เพราะ GIS คือเทคโนโลยีล่าสุดของการทำแผนที่
    คนมีการศึกษาไทยซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูง รวมทั้งคนชั้นกลางระดับกลางของไทยด้วย พอใจอะไรที่เป็นเทคโนโลยีก้าวหน้า ทั้งนี้เพราะไม่รู้จักเทคโนโลยีจริง จึงมักหลงเทคโนโลยี
    อันที่จริงเทคโนโลยีคือการแก้ปัญหา ฉะนั้นจึงต้องรู้ให้ชัดว่าปัญหาของเราคืออะไร จะได้เลือกเทคโนโลยีได้ถูก กรมการปกครองซึ่งเป็นผู้ผลักดันงบประมาณก้อนนี้ คิดว่าปัญหาขององค์กรปกครองท้องถิ่นของเราคือการเก็บภาษีได้ไม่ครบถ้วนเท่านั้นเองหรือ ไม่ใช่ปัญหาที่ว่าองค์กรปกครองของเราใช้งบประมาณและภาษีที่เก็บได้ไปในทางที่ไม่บำบัดทุกข์ของชาวบ้านหรอกหรือ
    เทคโนโลยีสมัยใหม่นั้น ไม่ใช่ไม่ดีในตัวของมันเอง แต่มันมักไม่ตอบปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน เพราะมันให้คำตอบมิติเดียว เช่นมิติทางกายภาพของพื้นที่ ไม่มีคนและไม่มีกิจกรรมของคนอยู่ในนั้น
    ผมยอมรับว่า เราชอบลงทุนกับเทคโนโลยีก้าวหน้า เพราะมีค่าคอมมิสชั่นอยู่ในนั้น แต่นั่นไม่สำคัญเท่ากับว่า "ลูกค้า"ของผู้บริหารระดับสูง (ทั้งข้าราชการและนักการเมือง) เช่นสื่อและคนชั้นกลางระดับกลางขึ้นไป หลงใหลเทคโนโลยี มองเทคโนโลยีเหมือนคนใช้วิทยาศาสตร์ มันทำอะไรให้เราหมด โดยเราไม่ต้องขยับตัวทำอะไรเลย
    แม้แต่เลือกนักการเมืองมาบริหารประเทศ ก็เลือกเหมือนเลือกคนใช้วิทยาศาสตร์ คือได้คนเก่งคนดีมาบริหารบ้านเมือง โดยไม่ต้องขยับเข้าไปกำกับควบคุมให้บริหารไปในทางที่เราคิดว่าดีและถูกต้อง


ที่มา : www.matichon.co.th


นางสาว วรรณธกานต์ พยุงวงษ์ (วิว)