วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีใหม่จ่ายเงินออนไลน์ ยืดหยุ่นแต่ป้องกันกลโกงได้

 

เอเชียเพย์ แนะเทคโนโลยีจ่ายเงินออนไลน์ใหม่สุด เพิ่มความปลอดภัยให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

นายโจเซฟ ชาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชียเพย์ เปิดเผยว่า บริษัทได้นำเสนอบริการล่าสุด ในนาม สยามเพย์ อีเพย์เมนต์ อัลเลิร์ต (ePayAlert) หรือระบบบริหารจัดการความเสี่ยง ที่มีกลไกการควบคุมความเสี่ยงเต็มรูปแบบ และยืดหยุ่นตามความต้องการของแต่ละธุรกิจ เป็นระบบป้องกันการทุจริตแบบใหม่ ที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่าระบบเดิม เปิดโอกาสให้เจ้าของธุรกิจสามารถออกแบบกลยุทธ์การป้องกันความเสี่ยงได้เองเพื่อให้ตรงกับปัญหาที่ตนเองกำลังประสบอยู่

บริษัท เอเชียเพย์ เป็นผู้ให้บริการระบบ “สยามเพย์” (SiamPay) ซึ่งเป็นบริการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความล้ำหน้า และความปลอดภัยสูง ได้รับมาตรฐาน พีซีไอ คอมพลิแอนซ์ (PCI compliant) และมี เอสเอสแอล ดาต้า เอนคริปชั่น(SSL data encryption) หรือระบบเข้ารหัส ในระบบตรวจสอบผู้ซื้อ เพื่อให้การดำเนินการและการเก็บข้อมูลมีความปลอดภัยที่สุด และยังมีระบบป้องกันร้านค้าจากการทุจริตออนไลน์ ด้วยการติดตั้งโซลูชั่นในการป้องการทุจริตบนแพลตฟอร์มชำระเงิน ทำหน้าที่ตรวจสอบรายการชำระเงินที่เกิดขึ้นทุกรายการอย่างละเอียด และแจ้งเตือนไปยังร้านค้าออนไลน์ทันทีที่พบว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดทุจริตในรายการนั้น ๆ.

ที่มา http://www.dailynews.co.th/technology/117358

นายชินบัญขร์ ร้านจันทร์ (โจ้) 5215046

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สภาพอากาศในออสเตรเลีย

สภาพอากาศในออสเตรเลีย

 
                ออสเตรเลียมีสภาพอากาศที่อบอุ่นเกือบตลอดปี แต่ภูมิอากาศอาจเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดทวีป โดยทั่วไปแล้ว รัฐทางตอนเหนือมีสภาพอากาศที่อบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่รัฐทางตอนใต้จะมีฤดูหนาวที่เย็นกว่า นอกจากนี้ ออสเตรเลียยังเป็นหนึ่งในทวีปที่แห้งแล้งที่สุดในโลก โดยมีปริมาณน้ำฝนรายปีเฉลี่ยน้อยกว่า 600 มม. ฤดูกาลของออสเตรเลียจะตรงกันข้ามกับประเทศที่อยู่ทางซีกโลกเหนือ เช่นเดียวกับทุกประเทศในซีกโลกใต้ ช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์เป็นฤดูร้อน ช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมเป็นฤดูใบไม้ร่วง ช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมเป็นฤดูหนาว และช่วงเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายนเป็นฤดูใบไม้ผลิ
 

สภาพอากาศในซิดนีย์ (รัฐนิวเซาท์เวลส์)

 
                รัฐนิวเซาท์เวลส์ตั้งอยู่ในแนวของเขตภูมิอากาศอบอุ่น แนวเขา Great Dividing ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของรัฐมีผลกระทบอันใหญ่หลวงต่อภูมิอากาศ โดยได้แบ่งเป็นสี่เขตที่ต่างกันชัดเจน ได้แก่ : แถบชายฝั่ง ที่ราบสูง พื้นที่ลาดชันด้านตะวันตก และพื้นที่ราบทางตะวันตก ภูมิอากาศของซิดนีย์มีความอบอุ่นสบายตลอดทั้งปี โดยมีวันที่มีแสงแดดอบอุ่น 340 วันต่อปี ในฤดูร้อน (ธันวาคมถึงกุมภาพันธ์) ที่ซิดนีย์จะมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 26 องศาเซลเซียส ในช่วงเวลานี้อาจมีอากาศชื้น โดยมีความชื้นเฉลี่ย 65 เปอร์เซ็นต์ ในฤดูหนาว (มิถุนายน - สิงหาคม) จะมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 16 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนของซิดนีย์จะสูงที่สุดระหว่างเดือนมีนาคมและมิถุนายน

สภาพอากาศในเมลเบิร์น (รัฐวิกตอเรีย)

 
              ภูมิอากาศของรัฐวิกตอเรียจะถูกกำหนดโดยลักษณะภูมิอากาศที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ภูมิภาคที่ร้อนและแห้งแล้งทางตะวันตกเฉียงเหนือไปจนถึงทุ่งหิมะที่ลาดสูงทางตะวันออกเฉียงเหนือ ปริมาณน้ำฝนรายปีเฉลี่ยเริ่มตั้งแต่ปริมาณที่น้อยกว่า 250 มม. ในหลาย ๆ พื้นที่ จนถึงปริมาณมากกว่า 1800 มม. ในบางภูมิภาคที่เป็นภูเขา เมลเบิร์นขึ้นชื่อในเรื่องของสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน แต่ตามปกติแล้วชาวเมืองก็มีความสุขกับภูมิอากาศที่อบอุ่น ซึ่งมีอากาศอบอุ่นหรือร้อนในฤดูร้อน ฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงที่ไม่หนาวจัด ปลอดโปร่ง ตลอดจนฤดูหนาวที่เย็นสบาย อุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูร้อน 25 องศาเซลเซียส และ 14 องศาเซลเซียสในฤดูหนาว ปริมาณน้ำฝนสูงสุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม




environmental object คือ ภูมิอากาศเฉลี่ยประเทศออสเตรเลียแต่ละฤดูในรัฐนิวเซาท์เวลส์และรัฐวิกตอเรีย



ที่มา :



สภาพอากาศในออสเตรเลีย. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.australia.com/th/about/key-facts/weather.aspx. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 29 สิงหาคม 2555).



น.ส.ศศิธร ระหงษ์ (ตุลา)

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ระบบจ่ายเชื้อเพลิงร่วมดีเซล-ก๊าซแอลพีจี



ปัญหาราคาน้ำมันที่ถีบตัวพุ่งสูงขึ้นในขณะนี้ได้สร้างความเดือดร้อนไปทุกภาค ส่วน เนื่องจากน้ำมันได้เข้ามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์มานาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเดินทาง การขนส่ง การผลิตสินค้า รวมถึงในภาคเกษตรกรรม

แนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันของประชากรโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปริมาณน้ำมันมีอย่างจำกัด ส่งผลให้ราคาน้ำมันมีความผันผวนอย่างมากในตลาดโลก ซึ่งประเทศไทย ต้องสั่งซื้อน้ำมันดีเซลจากต่างประเทศปีละกว่า 3 แสนล้านบาท เพื่อนำมาใช้กับรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลกว่า 6 ล้านคัน

โดยรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลเหล่านี้ ถือเป็นต้นทุนหลักของภาคการขนส่ง และภาคการเกษตร แม้ว่าประเทศไทยใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาชดเชย เพื่อพยุงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้ปรับสูงเกิน 30 บาทต่อลิตร ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อไม่ให้เกิดผล กระทบต่อภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม แต่จำนวนเงินก็มีอยู่อย่างจำกัด ไม่สามารถชดเชยได้ตลอดไป

การลดปริมาณการใช้น้ำมันให้น้อยลงและหาวิธีการใช้พลังงานทดแทน จึงเป็นทางออกหนึ่งในภาวะน้ำมันแพงแบบนี้ ซึ่ง ทาง ดร.สุรเชษฐ เดชฟุ้ง อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จึงได้คิดค้นทำการวิจัยเรื่อง “การเขียนซอฟต์แวร์ควบคุมการจ่ายเชื้อเพลิงร่วมระหว่างน้ำมันดีเซลกับก๊าซ แอลพีจี (LPG) ขึ้น เพื่อหวังที่จะลดต้นทุนเรื่องราคาน้ำมันดีเซลให้ต่ำลง

ดร.สุรเชษฐ กล่าวว่า เนื่องจากราคาน้ำมันทั่วโลกมีอัตราที่สูงขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจยังน่าเป็นห่วงอยู่ จึงคิดทำวิจัยในเรื่องนี้ขึ้น เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรมขนส่งให้ได้ 50% หรือลดการนำเข้าน้ำมันดีเซลให้ต่ำกว่า 50% ซึ่งจะช่วยประหยัดเงินตราของประเทศได้กว่า 1.5 หมื่นล้านบาท การใช้ก๊าซแอลพีจีผสมน้ำมันดีเซลจะต้องลดคาร์บอน ฟุต พริ้นต์ (CARBON FOOT PRINT) ลงกว่าเดิม และต้องไม่เพิ่มความร้อนให้กับเครื่องยนต์ เมื่อก๊าซหมดถังแล้วยังสามารถกลับมาใช้น้ำมันได้ตามปกติ

สำหรับขั้นตอนการทำ ได้เริ่มทดลองโดยอาศัยก๊าซซีเอ็นจี (CNG) ก่อน ซึ่งต้องใช้ก๊าซมิกเซอร์เข้ามาช่วยทำให้ก๊าซซีเอ็นจี เฉื่อยลง จากนั้นก็ปรับปรุงอีซียู (Electronic Control Unit) ใหม่ทั้งหมดให้เป็นแบบออโตเมติก สำหรับขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของงานวิจัยชิ้นนี้ คือ การเปลี่ยนก๊าซมิกเซอร์ ที่สามารถทำให้ก๊าซแอลพีจีเฉื่อยลง โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ดีเซล และต้องมีอีซียูที่พัฒนาเองเป็นตัวแปรสำคัญในการทดลอง

ดร.สุรเชษฐ กล่าวต่อว่า จากการทดลองของงานวิจัยชิ้นนี้ พบว่า มีผลทำให้รถยนต์มีกำลังแรงม้าและแรงบิดเพิ่มขึ้นกว่า 50% และช่วยประหยัดน้ำมันดีเซลกว่า 50% ของอัตราการใช้เชื้อเพลิงแบบเดิม ขณะที่ความร้อนของเครื่องยนต์ก็คงที่ ส่วนควันที่ออกมาจากการใช้ก๊าซแอลพีจี สามารถลดจำนวนคาร์บอนได้เกินครึ่งของปริมาณเดิม และเมื่อใช้ก๊าซจนหมดถังแล้ว ยังสามารถกลับไปใช้น้ำมันดีเซล เพื่อขับขี่ได้อย่างต่อเนื่องด้วย

“ผลการวิจัยครั้งนี้มีประโยชน์สามารถลดต้นทุนการผลิต การเกษตรและการขนส่งในด้านต่าง ๆ ให้ลดลงกว่า 25% ช่วยประหยัดเงินได้มากกว่า 1.5 หมื่นล้านบาทต่อปี และช่วยลดก๊าซคาร์บอนได้ถึง 60% ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และสามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่ลงทุนติดตั้งเฉพาะอุปกรณ์เสริม โดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ใด ๆ” ดร.สุรเชษฐ กล่าว



ที่มา:ระบบเชื้อเพลิงร่วมดีเซล-ก๊าซแอลพีจี.[online].เข้าถึงได้จาก http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=319&contentID=118542.(วันที่สืบค้นข้อมูล:23 สิงหาคม 2555).

นายอธิคม คำสอนทา (ก๊อบ)

ซอฟต์แวร์ช่วยวัดอุณหภูมิร่วมกับกล้องอินฟราเรด





หน่วยงานเจ้าของผลงาน:

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

สาขาผลงาน:

อุตสาหกรรม

ชื่อผู้ผลิตผลงาน:

ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร

หน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโตนิกส์ (PTL)

ปีผลิตผลงาน:

2551

จากวิธีการเดิมๆ ที่มีการใช้กล้องอินฟราเรด วัดและคัดกรองผู้ป่วยได้ทีละคน การมีซอฟต์แวร์ช่วยวัดอุณหภูมิร่วมกับอินฟาเรดนั้น จะช่วยคัดกรองคนมีไข้กับคนไม่มีไข้ ออกจากกันและเร็วกว่าเดิม เพราะซอฟต์แวร์ตัวนี้ทำงาน ร่วมกับกล้องอินฟราเรด จึงมีคุณสมบัติพิเศษคือ
1. ใช้เวลาในการตรวจเพียง 0.03 วินาที ต่อครั้ง
2. วัดบุคคลได้ทีละหลายคนในเวลาเดียวกัน รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ตรวจวัดอุณหภูมิกว่าค่าอ้างอิงที่กำหนด
3. สามารถแสดงค่าอุณหภูมิของบุคคลแต่ละคนในภาพถ่ายรังสีความร้อนพร้อมๆ กัน ในเวลาเดียวกัน
4. ผู้ใช้สามารถตั้งค่าอุณหภูมิอ้างอิงที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการคัดกรองที่ถูกต้องที่สุด
5. ผู้ใช้สามารถกำหนดค่าสภาพแวดล้อมในการใช้งานเพื่อลดความผิดพลาดของค่าอุณหภูมิที่อ่านได้
6. สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิและค่าความชื้นสัมพัทธ์ของสภาพแวดล้อมในขณะใช้งานเพื่อลดผลความผิดพลาดของค่าอุณหภูมิที่อ่านได้แบบอัตโนมัติ
7. มีระบบฐานข้อมูลอย่างง่ายเพื่อใช้บันทึกประวัติทั่วไปของบุคคลที่มีอุณหภูมิสูงกว่าค่าที่ผู้ใช้กำหนดไว้
8. สามารถเชื่อมต่อกับกล้องเวปแคม เพื่อบันทึกบุคคลที่มีอุณหภูมิสูงลงในฐานข้อมูลพร้อมๆ กับภาพถ่ายรังสีความร้อนของบุคคลนั้น
การจำแนกการนำไปใช้ประโยชน์
สาธารณสุข



ที่มา: ซอฟต์แวร์ช่วยวัดอุณหภูมิร่วมกับกล้องอินฟาเรด.[online].เข้าถึงได้จาก http://newstkc.stkc.go.th/flagship/node/227.(วันที่สืบค้นข้อมูล:23 สิงหาคม 2555).



นายอธิคม คำสอนทา (ก๊อบ)

ระบบสื่อสารและจัดเก็บข้อมูลชุดตรวจวัดแรงดันน้ำของเขื่อน (DAM)





หน่วยงานเจ้าของผลงาน:

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ชื่อผู้ผลิตผลงาน:

นายอุดม ลิ่วลมไพศาล

หน่วยปฏิบัติการวิจัยพัฒนาการควบคุมและระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม (ICA)

ปีผลิตผลงาน:

2551

เนื่องด้วย เขื่อนรัชชประภา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีความต้องการที่จะติดตั้งระบบเพื่อช่วยดูแลความปลอดภัยและความมั่นคงเขื่อนโดยอาศัยการวัดค่าต่างๆ ในบริเวณเขื่อน เช่น การวัดระดับน้ำใต้ดิน(Underground Water) ในหลุมวัดน้ำ (Observation Wel) การวัดแรงดันของ หัววัดที่ติดตั้งที่ตัวเขื่อน การวัดความเร่งของแผ่นดินไหว (Accelerometer) การคาดเดาปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ เพื่อการเก็บกักน้ำ เป็นต้น ในปัจจุบันกฟผ. ใช้บุคลากรทำการวัดค่าต่างๆ ด้วยมือ ซึ่งใช้เวลามาก ข้อมูลที่ได้ไม่ใช่ ข้อมูล ณ เวลาเดียวกัน และเสียเวลาในการป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการวิเคราะห์ ทำให้มีข้อจำกัดในการ ประเมินถึงความปลอดภัยและความมั่นคงของเขื่อน
โดยพื้นฐานของระบบที่พัฒนาขึ้นจะประกอบไปด้วย หน่วยวัดคุมระยะไกล (Remote Terminal Unit, RTU) ที่จะทำการรวบรวมข้อมูลจากแต่ละหัววัด (Sensor) ต่างๆ และทำการส่งข้อมูลผ่านระบบสื่อสารทั้งแบบมีสาย (Copper wire or Optical fiber) หรือแบบไม่มีสาย (Wireless communication) ผ่านไปยังระบบคอมพิวเตอร์ฐานข้อมูล เพื่อทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด ข้อมูลที่ได้จะนำส่งไปยังระบบวิเคราะห์ความปลอดภัยและความมั่นคงเขื่อนต่อไป รวมทั้งส่วนของการติดต่อกับผู้ใช้งานเพื่อการดูข้อมูลแบบปัจจุบัน (Real time) การทำงานรายงานสรุป เป็นต้น โดย ระบบที่พัฒนาขึ้นเองนี้ นอกจากจะมีความสอดคล้องกับความต้องการแล้ว ยังสามารถดูแลรักษาและปรับปรุงระบบให้ มีความเหมาะสมกับการใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง
ประโยชน์ของผลงาน
- ช่วยลดการนำเข้าและพึ่งพาเทคโนโลยีระบบเพื่อช่วยดูแลความปลอดภัยและความมั่นคงเขื่อน จากต่างประเทศ
- ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ผลักดันสู่การนำไปใช้งานจริงในอุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมต่อไป
การจำแนกการนำไปใช้ประโยชน์
อุตสาหกรรมการผลิต
การผลิต : การพัฒนาคุณภาพผลผลิต การพัฒนากระบวนการผลิต การเพิ่มผลผลิต การลดค่าใช้จ่ายในการผลิต เป็นต้น
ความมั่นคง ภัยพิบัติ



ที่มา: ระบบสื่อสารและจัดเก็บข้อมูลชุดตรวจวัดแรงดันน้ำของเขื่อน.[online].เข้าถึงได้จาก http://newstkc.stkc.go.th/flagship/node/227.(วันที่สืบค้นข้อมูล:23 สิงหาคม 2555).



นายอธิคม คำสอนทา (ก๊อบ)

เนคเทคดันเทคโนโลยีสู่ "สมาร์ทฟาร์ม" นำร่องที่ทุ่งกุลาร้องไห้

        ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ริเริ่มทำโครงการสมาร์ฟาร์ม (Smart Farm) นำผลงานวิจัยด้านซอฟต์แวร์ เซ็นเซอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยเกษตรกรเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากฟาร์มสู่ตลาด เริ่มลงพื้นที่ 5 ชุมชนต้นแบบในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ โดยเบื้องต้นได้นำผลงานไปร่วมจัดแสดงนิทรรศการภายในงานพิธีเปิด "งานชุมนุมยุวเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ครั้งที่ 2" ณ ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.52 ที่ผ่านมา


 

       โครงการ สมาร์ท ฟาร์ม มีระยะเวลา 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 52-56 โดยเนคเทคจะนำเทคโนโลยีเข้าไปสนับสนุนเกษตรกรในชุมชนต้นแบบ 5 แห่ง ที่อยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ในพื้นที่ 5 จังหวัด ซึ่งจะใช้เทคโนโลยีช่วยตั้งแต่การวางแผนการผลิต ควบคุมคุณภาพ ไปจนถึงการบริหารจัดการและการตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดความสิ้นเปลือง เพิ่มคุณภาพของผลผลิต และเป็นแนวทางในการพัฒนาสู่ตลาดโลกต่อไปในอนาคต 

       เริ่มจากกระบวนการผลิตที่จะต้องมีการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่างและความอุดมสมบูรณ์ โดยเซ็นเซอร์วัดพีเอช (pH) และเซ็นเซอร์วัดปริมาณแร่ธาตุสำคัญในดิน คือ เอ็นพีเค (NPK) หรือไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ซึ่งใช้หัวอิเล็กทรอนิกส์วัดความอุดมสมบูรณ์ของดินได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมีช่วยในการวัดแบบวิธีเดิม และนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนการให้ปุ๋ยแก่พืช ทว่าเซ็นเซอร์วัด NPK อยู่ระหว่างการพัฒนา คาดว่าจะแล้วเสร็จในอีกไม่กี่เดือนนี้ ส่วนเซ็นเซอร์วัด pH พัฒนาเสร็จเรียบแล้ว

 


        "จากข้อมูลของนักวิจัยด้านการเกษตรพบว่าในแต่ละปีประเทศไทยมีการใช้ปุ๋ยเคมีคิดเป็นมูลค่าประมาณ 80,000 ล้านบาท ซึ่งบางครั้งใช้มากเกินไปโดยไม่จำเป็น แต่หากเราตรวจวัดความอุดมสมบูรณ์ในดินก่อน จะช่วยลดการความสิ้นเปลืองในการใช้ปุ๋ย ลดต้นทุนการผลิต และลดการใช้สารเคมีได้ และสามารถผลิตปุ๋ยในสูตรที่เหมาะสมกับความต้องการได้ในรูปแบบปุ๋ยสั่งตัด โดยใช้เครื่องผสมปุ๋ยอัตโนมัติที่เนคเทคพัฒนาขึ้น แล้วเชื่อมต่อเข้ากับซอฟต์แวร์เพื่อควบคุมการผลิตปุ๋ยสั่งตัดโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะเป็นปุ๋ยที่มีแร่ธาตุอาหารเพียงพอกับความต้องการของดินและพืช" ดร.อัศนีย์ อธิบาย โดยขณะนี้ได้ร่วมกับนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนาสูตรปุ๋ยสั่งตัดที่เหมาะสมกับข้าวและข้าวโพดได้แล้ว และจะขยายไปสู่พืชอื่นๆ ต่อไป

       นอกจากนี้จะติดตั้งเครื่องวัดสภาพอากาศขนาดเล็ก เพื่อตรวจวัดและติดตามข้อมูลสภาพอากาศในแปลงเพาะปลูก ทั้งอุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณแสง ทิศทางและความเร็วลม ซึ่งมีผลต่อการปลูกข้าว และข้อมูลที่ตรวจวัดได้จะช่วยเกษตรกรแก้ปัญหาผลผลิตข้าวได้ดียิ่งขึ้น และช่วยในการวางแผนการปลูกในครั้งต่อไปได้



        ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดความอุดมสมบูรณ์ของดิน และสภาพอากาศ จะถูกรวบรวมและจัดเก็บเป็นฐานข้อมูล พัฒนาแผนที่ N-P-K โดยการเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการวางแผนการผลิตหรือแก้ปัญหาต่างๆ ในกระบวนการผลิต ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ ที่จะถ่ายทอดให้ชุมชนนำร่องนำ ได้แก่ เครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือกแบบพกพา และจมูกอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะช่วยควบคุมความชื้นทั้งในการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ และความชื้นในข้าวเปลือก ทำให้เกษตรกรขายข้าวได้ราคาสูงขึ้น และช่วยควบคุมคุณภาพความหอมและใช้กำหนดมาตรฐานความหอมของข้าวหอมมะลิจากชุมชนแต่ละแห่งที่มีเอกลักษณ์แตกต่างกันไป รวมทั้งเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับชุมชนที่อยู่ห่างไกลเขตชลประทาน หรือต้องการใช้พลังงานสะอาด

       นอกจากนี้ผู้บริโภคจะยังสามารถตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์ของชุมชนในโครงการสมาร์ทฟาร์มได้ด้วยเทคโนโลยีบาร์โค้ด 2 มิติ หรือ คิวอาร์โค้ด (QR CODE) ที่ติดอยู่บนบรรจุภัณฑ์ โดยใช้โทรศัพท์มือถือ หรือตรวจสอบย้อนกลับโดยตรงผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยกรอกรหัสสินค้าเข้าไปในเว็บไซต์ของระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตร








ที่มา :


เนคเทคดันเทคโนโลยีสู่ "สมาร์ทฟาร์ม" นำร่องที่ทุ่งกุลาร้องไห้. [Online]. เข้าถึงได้จาก :http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000064418. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 23 สิงหาคม 2555).




น.ส.ศศิธร ระหงษ์ (ตุลา)

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โครงการพัฒนาเครื่องมือระบบเตือนภัยมลพิษโรงงาน


กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีภารกิจหลักในการกำกับดูแลผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมโดยมุ่งเน้นในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการประกอบกิจการโรงงานและให้ผู้ประกอบการโรงงานมีส่วนในการรับผิดชอบต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีการตรวจสอบโรงงานที่ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นระยะๆ ตามความจำเป็น ซึ่งเป็นข้อมูลการระบายมลพิษ ณ เวลาที่ตรวจสอบเท่านั้น นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมบางชนิดหรือบางประเภทที่ระบายมลพิษสูงออกสู่สิ่งแวดล้อมจะต้องติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดการปล่อยมลพิษทางอากาศและน้ำแบบตลอดเวลา (Online Monitoring System) ซึ่งเป็นข้อมูลการระบายมลพิษอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อให้สามารถนำข้อมูลทั้งสองลักษณะดังกล่าวข้างต้นมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ทั้งในด้านการอนุญาต การต่ออายุ และการขยายโรงงาน และด้านการป้องกันผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาระบบเตือนภัยมลพิษโรงงานขึ้นเพื่อประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ในการกำหนดแผนงานและแผนปฏิบัติการเพื่อการป้องกันปัญหาอันเกิดจากการประกอบกิจการโรงงานโดยเฉพาะในพื้นที่อาจจะมีความเสี่ยงทางมลพิษสูงหรือเป็นพื้นที่ที่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 เป็นต้นมา

ในปีงบประมาณ 2550 กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับงบประมาณในการจัดทำโครงสร้างฐานข้อมูลเพื่อการเตือนภัยมลพิษโรงงาน รวบรวมแผนที่ฐาน (GIS-Based Map) และได้พัฒนาโปรแกรมเตือนภัยมลพิษโรงงานที่สามารถประมวลผลและแสดงผลได้ทั้งในรูปแบบ Text-Based และ GIS-Based รวมทั้งนำผลที่ได้มาจัดทำรายงานสถานการณ์มลพิษอุตสาหกรรมโดยใช้ข้อมูลเท่าที่มีอยู่ อย่างไรก็ตามเนื่องจากข้อมูลทั้งทางด้าน GIS-Based Map และด้านสิ่งแวดล้อมโรงงานที่มีความจำเป็นต้องใช้สำหรับระบบเตือนภัยมลพิษโรงงานที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่สมบูรณ์เพียงพอ จึงจำเป็นต้องมีการสำรวจและตรวจวัดเพิ่มเติมเป็นระยะๆ จนกระทั่งได้ข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์ ทันสมัยและครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศตามลำดับความสำคัญของปัญหามลพิษอุตสาหกรรมโดยในปีงบประมาณ 2551 ได้กำหนดพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นพื้นที่เป้าหมายที่จะจัดหาข้อมูลเพิ่มเติมให้สมบูรณ์มากที่สุด

ที่มา :
โครงการพัฒนาเครื่องมือระบบเตือนภัยมลพิษโรงงาน. [Online]. เข้าถึงได้จาก:http://ipew.diw.go.th/51/. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 22 สิงหาคม 2555).


นางสาวแสงเทียน ฤทธิไกรสร (แนน)

ตั้งระบบเตือนภัยในลุ่มแม่น้ำชี-มูน

                   กรมชลประทาน- นายวีระ วงศ์แสงนาค  รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานกำลังดำเนินการติดตั้งระบบโทรมาตรในลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูน เพื่อใช้เตือนภัยในภาวะน้ำท่วม เนื่องจากลุ่มน้ำทั้ง 2 แม้จะเป็นลุ่มน้ำขนาดใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ยังไม่มีระบบเตือนภัยใดๆ เมื่อเกิดอุทกภัยจึงไม่สามารถเตือนภัยให้กับประชาชนรับสถานการณ์ได้ทัน ซึ่งการติดตั้งระบบโทรมาตรในลุ่มน้ำทั้ง2 แห่ง จะทำให้สามารถติดตามสถานการณ์น้ำได้ตลอดเวลา ช่วยให้การบริหารจัดการน้ำของกรมชลประ ทานง่ายขึ้น โดยลุ่มน้ำชีกำหนดจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 2555 และลุ่มน้ำมูนจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 2556 อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การติดตั้งระบบมาตรในลุ่มน้ำสาขาของทั้งลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูนบางส่วนที่อยู่ช่วงตอนบนของลุ่มน้ำได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว
 
ที่มา :
ตั้งระบบเตือนภัยในลุ่มแม่น้ำชี-มูน. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.en.mahidol.ac.th/thai/news/envi_news_fullv2.php?id=1101. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 22 สิงหาคม 2555).
 
นางสาวแสงเทียน  ฤทธิไกรสร (แนน)

Energy Sufficient โชว์เทคโนโลยีการขนส่งรักษ์สิ่งแวดล้อม

                         


Levidac ประเทศฝรั่งเศส เปิดตัวผลงานเทคโนโลยียานยนต์ไฮบริดและไฟฟ้าในงาน IGEM 2011

Energy Sufficient เปิดตัวเทคโนโลยีการขนส่งเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ณ งานแสดงสินค้า IGEM 2011 กรุงกัวลาลัมเปอร์ วันที่ 7 – 10 กันยายน 2554

กลุ่มบริษัท Levidac ประเทศฝรั่งเศส โชว์ผลงานด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฮบริดและไฟฟ้าในงานแสดงสินค้าเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมหรือ IGEM 2011 ระหว่างวันที่ 7-10 กันยายน 2554 ณ ศูนย์การประชุมกรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur Convention Centre) ประเทศมาเลเซีย ผู้เข้าชมงานทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน การขนส่ง รวมถึงนักธุรกิจด้านการก่อสร้างยานยนต์และการขนส่งมวลชนสามารถเข้าชมผลงานของบริษัท Energy Sufficient เพื่อศึกษาโอกาสในการร่วมงานกันในอนาคตได้ที่บูธหมายเลข A042 ฮอลล์ 1 ภายในซุ้มแสดงสินค้าจากประเทศฝรั่งเศส

                           


บริษัท Energy Sufficient คิดค้นและผลิตยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นต่างๆ ที่มีความเหมาะสมกับตลาดในประเทศเขตร้อน ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก ไปจนถึงรถยนต์อเนกประสงค์ รถบรรทุก รถตู้ รถบัส และรถราง ยานยนต์ทุกชนิดจาก Energy Sufficient ล้ำหน้าด้วยเทคโนโลยีระบบเทอร์ไบน์แบบใหม่ไม่ซ้ำใครและแบตเตอรี่ไฮบริดขั้นแอดวานซ์ที่เป็นเทคโนโลยีเฉพาะของทางบริษัท

ทั้งนี้ เทคโนโลยีของทางบริษัทสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยรูปแบบการจัดการพลังงานอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในลักษณะ eco-friendly package เนื่องจากรถยนต์เหล่านี้ติดตั้งพร้อมกับแบตเตอรี่ และอุปกรณ์ชาร์จไฟ ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยตัวเองแบบต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้มีแหล่งพลังงานเพื่อชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์อย่างเป็นอิสระและลดการพึ่งพาพลังงาน





นอกเหนือจากนี้ Energy Sufficient ยังได้ทำการพัฒนาระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยตัวเองสำหรับสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า โดยใช้เทคโนโลยีเซลล์สุริยะ และกังหันลมแนวตั้ง เป็นต้น ทั้งนี้ กังหันลมดังกล่าวสามารถติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว และสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง ได้ตั้งแต่ขนาด 300 วัตต์ถึง 4 กิโลวัตต์ ทั้งยังปราศจากเสียงรบกวน และสามารถต้านทานพายุไซโคลนได้ นอกจากนี้ ยังมีการนำระบบการผลิตพลังงานจากเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel cell) และพลังงานก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์มาประยุกต์ใช้อีกด้วย

“เราเป็นบริษัทผู้ผลิตยานยนต์รักษ์สิ่งแวดล้อมรายแรกในเขตมหาสมุทรอินเดีย ทั้งยังเป็นบริษัทรุ่นใหม่ที่มีความมุ่งมั่นและพลังในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสังคม” Mr. Illya CADIVEL ซีอีโอบริษัท Energy Sufficient กล่าว ความหลากหลายของยานยนต์ที่ผลิตจากบริษัท ดังที่ปรากฏในแคตาล็อก ครอบคลุมความต้องการใช้ที่แตกต่างกันของลูกค้าเป็นอย่างดี บริษัทมีรถยนต์ขนาดเล็กขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าและไฮบริดสำหรับผู้โดยสาร 2-5 คน โดยใช้แบตเตอรี่คุณภาพสูงช่วยให้รถวิ่งได้ไกลถึง 100-250 กิโลเมตร


อีกทั้งบางรุ่นยังสามารถชาร์จไฟได้ภายในเวลา 30 นาที ส่วนรถยนต์อเนกประสงค์แบบไฟฟ้าก็มีทั้งแบบติดตั้งหลังคาเสร็จ และแบบมีเฉพาะห้องคนขับและแชสซีสำหรับต่อเติมได้ภายหลัง รถเหล่านี้สามารถวิ่งได้ไม่ต่ำกว่า 100 กิโลเมตร นอกจากนี้ ยังมีรถบรรทุกไฟฟ้าที่มีช่วงล่างรับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 7, 10 และ 12 ตัน สำหรับรถโดยสาร บริษัทมีรถมินิแวนและมินิบัสสำหรับผู้โดยสารแบบ 17-14 ที่นั่ง และยังมีรถบัสโดยสารขนาด 50-70 ที่นั่ง อีก 5 รุ่นที่สามารถทำระยะทางได้ตั้ง 150-500 กิโลเมตร รถโดยสารเหล่านี้ประสบความสำเร็จอย่างมากในประเทศจีน โดยทางบริษัท Levidac ร่วมมือกับบริษัท ZONDA พัฒนารถบัสไฟฟ้ารุ่นต่างๆ เพื่อใช้ภายในประเทศและส่งออก

ในปี พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) บริษัทจะเปิดตัวรถรางรุ่น Aliséo ที่ใช้เทคโนโลยีไฮโดรอิเลคทริคไฮบริด ซึ่งสามารถแล่นด้วยระบบอัตโนมัติแบบไม่ต้องใช้คนขับ สามารถแล่นบนเส้นทางทุกรูปแบบ รวมถึงบนทางยกระดับในเขตตัวเมือง รถรางนี้สามารถนำไปใช้สำหรับขนส่งผู้โดยสารและสินค้า โดยมีต้นทุนต่ำกว่ายานพาหนะที่ใช้กันอยู่ทั่วไปถึง 6 เท่า

แหล่งที่มา : Energy Sufficient โชว์เทคโนโลยีการขนส่งรักษ์สิ่งแวดล้อม. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก http://www.thailandindustry.com/business/view.php?id=14973&section=24&rcount=Y.(วันที่สืบค้นข้อมูล : 22สิงหาคม2555).

นางสาววรรณธกานต์  พยุงวงษ์ (วิว)

คะตะไลติก คอนเวอเตอร์ อุปกรณ์บำบัดแก๊สพิษ

     ในยุคที่โลกกำลังตื่นตัว กับปัญหาการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหาสภาวะแวดล้อมเป็นพิษ ทำให้หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ระดับโลก เช่น องค์การอนามัยโลก องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม องค์การมาตรฐานสากล องค์การค้าโลก ได้ออกมากำหนดมาตรการต่างๆ ขึ้นเพื่อช่วยเหลือ ในการปรับปรุงพื้นฟู สภาพแวดล้อมที่ถูกทำลายโดยมนุษย์ ให้กลับคืนสู่สมดุลธรรมชาติ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษยชาติรุ่นต่อๆ ไป
    ปัญหามลพิษทางอากาศ ค่อนข้างจะเป็นปัญหาที่สำคัญ และทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกวัน ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต ทุกชนิดบนผืนโลก ที่อาศัยอากาศเป็นปัจจัยในการดำรงชีพ การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ อาจจะแก้ไขที่ต้นเหตุ โดยกำจัดแหล่งมลพิษ หรือการจัดการกับมลพิษที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า แหล่งมลพิษทางอากาศที่สำคัญ คือ การปลดปล่อยแก๊สพิษ ที่ได้จากกระบวนการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะที่ออกมาจาก ท่อไอเสียรถยนต์ หรือเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิง ปัญหานี้เกิดรุนแรงมาก ในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายปี ค.ศ. 1940 ทำให้มีการคิดค้นวิธีการบำบัดอากาศเสีย ด้วยสารตัวเร่งปฏิกิริยาในปี 1950 และออกเป็นกฎหมายควบคุม ให้รถยนต์ติดตั้งอุปกรณ์บำบัดแก๊สพิษ ตั้งแต่ปี 1974 และในปี 1975 เริ่มบังคับใช้ในประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันรถยนต์ทุกคัน ในประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ บำบัดแก๊สพิษนี้ ซึ่งเรียกว่า “คะตะไลติก คอนเวอเตอร์ (catalytic converter)” เข้ากับท่อไอเสียรถยนต์ สำหรับประเทศไทย ได้ออกพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 บังคับให้รถยนต์ใหม่ตั้งแต่ปี 2536 ที่ใช้เบนซินเป็นเชื้อเพลิงต้องติดตั้ง Catalytic converter ในระบบไอเสีย
    Catalytic converter เป็นเครื่องมือที่ใช้ สารตัวเร่งปฏิกิริยา ในการเปลี่ยนแปลง สารประกอบพิษ 3 ชนิด คือ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ และสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ให้กลายเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และไนโตรเจน ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ Catalytic converter ประกอบด้วย ส่วนที่ทำหน้าที่เป็น ตัวรองรับหรือที่เรียกว่า Supporter ทำจากเซรามิก มีความพรุนตัวสูง และเคลือบด้วยโลหะราคาแพง เช่น แพลทินัม พัลลาเดียม โรเดียม ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เมื่อแก๊สพิษที่เกิดจากกระบวนการสันดาป ของเครื่องยนต์ ที่ไม่สมบูรณ์ ปล่อยออกมาทางท่อไอเสียผ่านตัว Catalytic converter โลหะที่เคลือบอยู่บน ตัวรองรับจะจับแก๊สดังกล่าว และเร่งให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น-รีดักชั่น คาร์บอนมอนอกไซด์ และไฮโดรคาร์บอน จะทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ได้คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ส่วนไนโตรเจนออกไซด์ สาเหตุของฝนกรด จะทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนได้ไนโตรเจนและน้ำ ปล่อยสู่บรรยากาศ จะเห็นได้ว่า หากปฏิกิริยาเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว โลกของเราจะไม่ประสบกับ ปัญหามลพิษทางอากาศ อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ชนิดนี้มีราคาแพง และเป็นเทคโนโลยีใหม่ ควรได้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนการผลิต ให้เหมาะสมกับกำลังซื้อของผู้บริโภค แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การใช้ Catalytic converter เป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น การแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ ที่ดีที่สุด คือ การกำจัดแหล่งที่มาของมลพิษ ดังนั้นหมู่มวลมนุษยชาติ จึงควรร่วมมือกันลดการเผาผลาญ น้ำมันเชื้อเพลิงโดยไม่จำเป็น เพื่อจรรโลงไว้ซึ่งโลกที่ใสสะอาดให้กับลูกหลานสืบไป

ที่มา
 คะตะไลติก คอนเวอเตอร์ อุปกรณ์บำบัดแก๊สพิษ[ออนไลน์];เข้าถึงข้อมูลได้จากhttp://www.material.chula.ac.th/RADIO44/august/radio8-6.htm 
(วันที่สืบค้นข้อมูล 22 สิงหาคม 2555)

น.ส  สุภัทรา  พึ่งพเดช (แหม่ม)

‘Circle Living Prototype’ อาคารอัจฉริยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแห่งแรกของไทย



บริษัท เฟรเกรนท์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ในเครือ เฟรเกรนท์ กรุ๊ป วางแผนพร้อมเปิดตัวโครงการCircle Living Prototype (เซอร์เคิล ลิฟวิ่ง โปรโตไทป์) มูลค่ากว่า 3.65 พันล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการที่บริษัทฯ มุ่งหวังจะสร้างมาตรฐาน คุณค่าใหม่ในการใช้ชีวิต และเป็นต้นแบบที่ดีให้กับสังคมไทย เนื่องจากทำเลที่ตั้งโครงการที่อยู่ใจกลางเมืองและอยู่ใกล้กับระบบขนส่งมวลชนถึง 5 ระบบ ได้แก่ สถานีรถไฟมักกะสัน สถานีรถไฟใต้ดินเพชรบุรี สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์มักกะสัน ทางด่วนเฉลิมมหานคร และท่าเรือคลองแสนแสบ ทำให้ผู้พักอาศัยสะดวกสบายต่อการเดินทางในทุกที่

นอกจากนี้โครงการยังอยู่ในพื้นที่แผนพัฒนาเป็นศูนย์คมนาคมมักกะสันที่จะพัฒนาเป็นย่านธุรกิจแห่งใหม่ รวมทั้งเป็นอาคารที่พักอาศัยแห่งแรกในประเทศไทยที่มีระบบควบคุมบริหารจัดการ อาคารทันสมัยที่สุด อีกทั้งยังเป็นโครงการที่มีแนวคิดในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โครงการ Circle Living Prototype ตั้งอยู่บนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ใกล้สี่แยกมักกะสัน กรุงเทพฯ บนพื้นที่กว่า 4 ไร่ เป็นอาคารสูง 53 ชั้น จำนวน 477ห้อง คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณปี 2556 เป็นโครงการคอนโดมิเนียมแรกในประเทศไทยที่ก่อสร้างขึ้นภายใต้แนวคิดอาคาร อัจฉริยะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นโครงการต้นแบบที่นำระบบBIM (Building Information Management)

ระบบการออกแบบที่สามารถเห็นรูปร่างและรายละเอียดต่างๆ ของอาคารก่อนที่จะลงมือสร้างจริงมาใช้ในการออกแบบอาคาร โดยระบบนี้จะมีความเที่ยงตรง สามารถคำนวณปริมาณวัสดุที่ต้องใช้ในการก่อสร้างจริง ช่วยลดจำนวนวัสดุที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้หรือลดของเสียได้ เมื่อเทียบกับการก่อสร้างอาคารทั่วไป ซึ่งถือว่าช่วยลดผลกระทบที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งโครงการนี้ตั้งใจจะนำเสนอคุณค่าของงานดีไซน์สมัยใหม่ ด้วยประสบการณ์จากสถาปนิกผู้ออกแบบที่มีโอกาสได้ทำงานด้านสถาปัตยกรรมร่วมกับบริษัทระดับโลก แนวคิดการออกแบบจะแตกต่างไปจากคอนโดมิเนียมระดับไฮเอนด์ทั่วไป โดยเป็นอาคารที่มีเอกลักษณ์อยู่ในตัว แฝงด้วยความเรียบง่าย เปี่ยมด้วยประโยชน์ใช้สอย และดูทันสมัย

ตัวอาคารได้รับการออกแบบให้เป็นตึกสูงอยู่ตรงกลาง เพื่อให้ผู้พักอาศัยในแต่ละยูนิตสามารถใช้พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับจุดเด่นของโครงการนี้คือ การใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็น Green Product ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม โดยในส่วนของการประหยัดไฟฟ้า ได้แก่ 1.เป็นโครงการที่ผลิตพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ด้วยโซลาเซลล์ ใช้โซลาเซลล์ซึ่งมีกำลังผลิต 60 กิโลวัตต์ เทียบกับหลอดไฟฟ้าที่ใช้ทั่วไป3,000 ดวง หรือเท่ากับการเปิดทีวีพร้อมกัน 1,000 เครื่อง 2.ใช้หลอด LED แทนหลอดตะเกียบซึ่งจะประหยัดไฟได้ถึง 40% หรือเท่ากับ 550,000 ยูนิตต่อปี 3.พลังงานความร้อนที่ได้จากเครื่องปรับอากาศ ถูกนำกลับไปใช้ทำน้ำอุ่นสำหรับลูกบ้าน เท่ากับเป็นการประหยัดพลังงานอีกทางหนึ่ง

ในส่วนของการประหยัดน้ำ มีการนำเอาระบบรีไซเคิลน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยน้ำที่ออกจากครัวเรือนจะถูกนำเข้าขบวนการดักไขมันและย่อยสลาย จากนั้นจะถูกกรองโดยมัลติฟิลเตอร์ คาร์บอนฟิลเตอร์ ไมโครฟิลเตอร์ เพื่อได้น้ำสะอาดสำหรับรดน้ำต้นไม้ วิธีนี้จะทำให้ประหยัดน้ำ 13% ซึ่งใน 10 ปีจะประหยัดน้ำเท่ากับสระน้ำโอลิมปิก 100 สระ ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม โครงการนี้มีพื้นที่สีเขียวเชื่อมต่อในทุกส่วนของโครงการ นอกจากนั้นพันธุ์ไม้ในโครงการยังคัดเลือกให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งนอกจากความสวยงามที่ได้รับแล้ว ยังคำนึงถึงการปฏิสัมพันธ์กับต้นไม้ รวมทั้งเป็นโครงการที่นำเทคโนโลยีสมัยใหม่ผสานกับสิ่งแวดล้อมอย่างลงตัว มีการตกแต่งโดยใช้วัสดุที่มีความแปลกใหม่ มีสไตล์ เลือกใช้วัสดุที่ทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความพอใจและสัมผัสกับคำว่า ‘บ้าน’ จริงๆ

ลักษณะเด่นของโครงการ Circle Living Prototype ประกอบด้วย ระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบเพิ่มอุณหภูมิความร้อนของน้ำ ระบบบำบัดน้ำที่ใช้แล้วภายในอาคารเพื่อนำกลับมาใช้ในพื้นที่ส่วนกลาง ระบบการผลิตน้ำดื่มบริสุทธิ์เพื่อการบริโภค สวนผลิตออกซิเจน กระจกกันความร้อนและกรองเสียง ระบบควบคุมอุณหภูมิของพื้นที่ส่วนกลาง นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน อาทิ ระบบทีวีออนไลน์ ระบบบ้านอัจฉริยะและระบบวีดีโอโฟน ระบบการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยอย่างชาญฉลาด กำแพงพับเก็บได้ สระว่ายน้ำแบบเล่นระดับพร้อมระบบลำโพงใต้น้ำ “ระบบอะควาโซนิค” ลู่วิ่งลอยฟ้า สกายเลาจน์ ฟิตเนสเซ็นเตอร์ ห้องเอนกประสงค์ ห้องสมุด โซนกิจกรรมสำหรับเด็ก มินิเธียเตอร์ บริการ Free Internet Wi-Fi สปา และซาวน่า เป็นต้น




ที่มา : ‘Circle Living Prototype’ อาคารอัจฉริยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแห่งแรกของไทย[ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก http://www.buildernews.in.th/page.php?a=10&n=146&cno=2095. (วันที่สืบค้นข้อมูล: 22 สิงหาคม 2555).





น.ส.ประภาพรรณ มีทอง (เกด)


“เอซุส” คว้า 8 รางวัล สุดยอดผลิตภัณฑ์ไอที ยืนยันความเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมเปิดตัวนวัตกรรมใหม่แห่งปี ในงาน CES 2011

                                “เอซุส” คว้า 8 รางวัล สุดยอดผลิตภัณฑ์ไอที ยืนยันความเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมเปิดตัวนวัตกรรมใหม่แห่งปี ในงาน CES 2011



       ผลิตภัณฑ์ของเอซุสที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยม CES 2011 จำนวน 8 ผลิตภัณฑ์ ใน 4 สาขา ได้แก่

1. สาขาเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนบุคคล 3 รางวัล
- ASUS Eee Slate รุ่น EP121 โดดเด่นด้วยดีไซน์สะดุดตาคณะกรรมการเป็นตัวชูโรง มาพร้อมขุมพลังจากหน่วยประมวลผล Intel? Core? i5 และ Windows? 7 Home Premium ลิขสิทธิ์ของแท้พร้อมด้วย Touch Digitizer เพื่อการป้อนคำสั่งและการใช้งานได้อย่างยืดหยุ่นเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีหน้าจอขนาด 12 นิ้วและคีย์บอร์ดบลูทูธเพื่อการใช้งานทั้งในรูปของคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตหน้าจอสัมผัสและโน้ตบุ๊กได้ในเครื่องเดียว
- ASUS Notebook รุ่น U43Jc โดดเด่นด้วยเทคโนโลยีชั้นนำและฟีเจอร์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่มาพร้อมวัสดุเคลือบภายนอกทำจากไม้ไผ่แลดูสวยงามตามธรรมชาติ ที่ห่อหุ้มขุมพลังจากเทคโนโลยี ASUS Super Hybrid Engine เพื่อคงสมดุลแห่งการใช้พลังงานและอายุการใช้งานแบตเตอรี่อย่างมีประสิทธิภาพ
- ASUS WiCast รุ่น EW2000 โดดเด่นด้วยประสิทธิภาพในการถ่ายทอดสัญญาณวิดีโอ HD แบบไร้สายได้จากอุปกรณ์หลากหลายชนิดที่ระดับ HDMI สูงสุดถึง 1080p พร้อมด้วยดีไซน์แบบ Plug and Play ขนาดกะทัดรัดที่มาพร้อมแบนด์วิดธ์ขนาด 3Gb/s ให้ภาพและเสียงคมชัด ทั้งในการชมภาพยนตร์ และการเล่นเกม

2. สาขาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ 3 รางวัล
- ASUS Graphics Card รุ่น ARES/2DIS/4GD5 กราฟิกการ์ดที่มาพร้อม ATI Radeon HD 5870 GPU แบบคู่สมรรถนะแรงสูงจนได้รับการขนานนามว่าเป็น “กราฟิกการ์ดที่เร็วที่สุดในโลก” ที่ปฏิบัติการได้อย่างเงียบกริบกว่ากราฟิกการ์ดทั่วไปด้วยระบบทำความเย็นขนาดใหญ่เป็นพิเศษ
- ASUS Motherboard รุ่น ROG Rampage III Extreme มาเธอร์บอร์ดที่มากับภาพลักษณ์อันโฉบเฉี่ยวและฟีเจอร์เพื่อการโอเวอร์คล็อกได้จากระยะไกล ที่ให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งสมรรถนะของฮาร์ดแวร์ได้จากคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กหรือแม้แต่สมาร์ทโฟน
- ASUS Motherboard รุ่น ROG Crosshair IV Extreme มาเธอร์บอร์ดแพลตฟอร์ม AMD รุ่นแรกที่รองรับการใช้งานกราฟิกการ์ดได้ถึงสี่ตัวพร้อมกัน ทั้งยังโดดเด่นด้วยสุดยอดฟีเจอร์เพื่อการปรับแต่งสมรรถนะไม่ว่าจะเป็น ROG iDirect ที่ให้ผู้ใช้สามารถโอเวอร์คล็อกเครื่องคอมพิวเตอร์ได้จาก iPhone หรือ iPad เป็นต้น

3. สาขาอุปกรณ์เครือข่ายในบ้าน 1 รางวัล
- ASUS Router รุ่น RT-N66U เราเตอร์เครือข่ายกิกะบิต โดดเด่นด้วยดีไซน์ขนาดกะทัดรัดลงตัวกับทุกมุมในบ้าน ที่มาพร้อมสัญญาณ Wi-Fi แบบ Dual-Band และการติดตั้งที่เป็นมิตรกับผู้ใช้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสุดยอดสมรรถนะแห่งการใช้งานได้อย่างง่ายดาย

4. สาขาอุปกรณ์เครื่องเสียง 1 รางวัล
- ASUS Gaming Audio Set รุ่น Xonar Xense Premium ชุดเครื่องเสียงเพื่อการเล่นเกมระดับพรีเมี่ยม ที่โดดเด่นด้วยดีไซน์อันประกอบด้วยการ์ดเสียงคุณภาพสูงที่ให้เสียงคมชัดปราศจากสัญญาณรบกวน และหูฟัง Sennheiser PC350 ให้ผู้เล่นได้สัมผัสประสบการณ์แห่งพลังเสียงสดใสอันตื่นเต้นเร้าใจราวกับได้เข้าไปอยู่ในเกมด้วยตัวเอง
ไม่เพียงเท่านี้ เอซุสยังติดอันดับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด จากการสำรวจของ Greenpeace Electronics Survey 2010 ที่ดำเนินเป็นประจำทุกปี โดยมีการให้คะแนนเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่างๆ ใน 4 แง่มุมต่อการพิจารณา ได้แก่ การใช้สารเคมี การใช้พลังงาน อายุการใช้งานผลิตภัณฑ์ และคุณสมบัติอื่นๆ โดยจอแอลซีดีเอซุส รุ่น VW247H-HF หน้าจอไร้สารฮาโลเจนตัวแรกของโลก ได้รับคะแนนสูงในทุกด้าน และได้คะแนนรวม 7.5 เต็ม 10 ซึ่งสูงกว่าผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ได้รับการสำรวจในครั้งนี้ นอกจากนี้โน้ตบุ๊กเอซุส รุ่น UL30 ยังได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในโน้ตบุ๊กที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดอีกด้วยเช่นกัน
เอซุสมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์สภาพแวดล้อมให้ยั่งยืนและยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ โดยการันตีได้จากการที่ผลิตภัณฑ์โน้ตบุ๊กเอซุสได้รับรางวัล Carbon Foot Print Certificate ซึ่งเป็นรางวัลที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกในปี 2009 และยังได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้อีกครั้งเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกันในปี 2010 จากผลิตภัณฑ์โน้ตบุ๊กไม้ไผ่ รุ่น U53JC Bamboo ถือเป็นสิ่งพิสูจน์ถึงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนของเอซุสในเรื่องการอนุรักษืสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ ภายในงาน CES 2011 เอซุสได้เปิดตัวมาเธอร์บอร์ดและโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ที่ได้รับการพัฒนาให้รองรับ Sandy Bridge หน่วยประมวลผลเจเนเรชั่นที่ 2 ในซีรีส์ Intel? Core? อย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก โดยมาเธอร์บอร์ดซีรีส์ P8P67 และ P8H67 ใช้เทคโนโลยีชิป P67 และ H67 รุ่นใหม่จากอินเทล? ซึ่งมาเธอร์บอร์ดที่ใช้ชิป P67 นั้นมีความพิเศษกว่า ด้วยเทคโนโลยีมาเธอร์บอร์ดแห่งอนาคตอย่าง DIGI+ VRM อันเป็นสถาปัตยกรรมลิขสิทธิ์เฉพาะของเอซุสที่นำเสนอนวัตกรรมใหม่แห่งการปรับแต่งแรงดัน CPU ในแบบดิจิตอลเพื่อประสิทธิภาพ เสถียรภาพ และความเชื่อถือได้ยิ่งขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

     ด้วยขุมพลังจากหน่วยประมวลผลเจเนเรชั่นที่ 2 ในซีรีส์ Intel? Core? โน้ตบุ๊กซีรี่ส์ G, K, N และ VX7 จากเอซุส จะมาพร้อมเทคโนโลยีอัจฉริยะ Smart Performance และ Intel? Turbo Boost Technology 2.0 ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแห่งคอมพิวเตอร์แบบพกพาด้วยการทำงานแบบ Multitasking ได้สูงสุดถึง 8 อย่างพร้อมกัน นอกจากนี้ ด้วยเทคโนโลยีลิขสิทธิ์เฉพาะของเอซุส ผู้ใช้จะได้สัมผัสสมรรถนะแห่งการแสดงผลกราฟิกและมัลติมีเดียได้อย่างไร้รอยต่อเพื่อประสบการณ์ใหม่แห่งคอมพิวเตอร์ แบบพกพาโดยเฉพาะ
และด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาฮาร์ดแวร์เพื่อการเล่นเกมคอมพิวเตอร์มาเป็นเวลายาวนาน เอซุสได้สร้างสรรค์แบรนด์ Republic of Gamers (ROG) ขึ้นเพื่อนำเสนอสุดยอดเทคโนโลยีและดีไซน์สำหรับผู้รักการเล่นเกมโดยเฉพาะ โดยเอซุสได้นำเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อการเล่นเกมหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นมาเธอร์บอร์ด กราฟิกการ์ด อุปกรณ์เสียง อุปกรณ์เครือข่ายและคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความบันเทิงเต็มรูปแบบภายใต้มาตรฐานนวัตกรรมแห่งดีไซน์และคุณภาพเอกลักษณ์เฉพาะของเอซุส ซึ่งล้วนเป็นเครื่องยืนยันความมุ่งมั่นของเอซุสในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการเล่นเกมและนำเสนอสุดยอดประสบการณ์แห่งการเล่นเกมให้กับผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งประกอบไปด้วย

- มาเธอร์บอร์ด รุ่น ROG Rampage III Black Edition สุดยอดฮาร์ดแวร์เพื่อการเล่นเกมที่ผู้เล่นจะสัมผัสได้ถึงสุดยอดประสิทธิภาพแห่งพลังเสียงและการเล่นเกมบนเครือข่ายอย่างที่หาไม่ได้จากที่อื่น
- กราฟิกการ์ด รุ่น HD 6870 DirectCU เพิ่มขุมพลังแห่งกราฟิกด้วยเทคโนโลยี Super Alloy Power สำหรับเกมเมอร์และผู้รักการโอเวอร์คล็อกอย่างแท้จริง
- ชุดหูฟัง รุ่น ROG Vulcan ANC เพื่ออรรถรสแห่งการเล่นเกม สำหรับนักเล่นเกมมือโปรที่มองหาสุดยอดโซลูชั่นเสียงสำหรับเกมทุกประเภท กับหูฟังเพื่อการเล่นเกมชุดแรกของโลกที่มาพร้อมเทคโนโลยี Active Noise Cancellation ที่ช่วยลดเสียงรบกวนแบบ Active Noise ได้ถึง 85%
- เราเตอร์ไร้สาย รุ่น RT-N66U เพื่อการเล่นเกมแบบ Dual-band ออนไลน์อย่างรวดเร็วโดยปราศจากปัญหาสัญญาณล่าช้า
- คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ รุ่น CG8350 เพื่ออรรถรสในการเล่นเกมอย่างสมบูรณ์แบบ ที่มาพร้อมทุกสมรรถนะเพื่อสุดยอดอรรถรสแห่งการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพเหนือระดับ ฮาร์ดแวร์คุณภาพเยี่ยม ความสามารถในการอัพเกรด และการเข้าถึงการใช้งานระดับสูง
ด้วยความสำเร็จดังกล่าวถือเป็นเครื่องยืนยันความเป็นผู้นำแห่งเทคโนโลยีระดับโลกของเอซุส ทั้งด้านนวัตกรรม การออกแบบ และการให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม เอซุสยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนานวัตกรรมไอทีด้วยที่มาของความสำเร็จ จากแนวคิด “Inspiring Innovation, Persistent Perfection” ต่อไปอย่างไม่หยุดนิ่ง
หมายเหตุ: “ASUS” เปลี่ยนการออกเสียงอย่างเป็นทางการ จากเดิมที่ออกเสียง “อัสซุส” มาเป็น “เอ-ซุส” พร้อมกันทั่วโลก ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
มาเธอร์บอร์ดเอซุส: อันดับ 1 ของโลก
เอซุส ผู้ผลิตมาเธอร์บอร์ดที่มียอดขายและได้รับรางวัลมากที่สุดในโลก เป็นผู้ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดทั่วโลก โดยปัจจุบันเอซุสมาเธอร์บอร์ดมีส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศไทยสูงถึง 55% เอซุสเป็นผู้คิดค้นนวัตกรรมมากมายจนได้รับการยอมรับให้เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรม โดยมีเทคโนโลยีล่าสุดอันมีชื่อเสียง ได้แก่ Core Unlocker, Disk Unlocker, Protect 3.0 และ Dual Intelligent Processors รายแรกของโลกที่ผสานเทคโนโลยี TurboV Processing Unit (TPU) และ Energy Processing Unit (EPU) เข้าด้วยกัน เพื่อสมรรถนะที่เหนือกว่าและช่วยลดการใช้พลังงาน ด้วยความชำนาญและความมุ่งมั่นที่จะยกระดับการออกแบบมาเธอร์บอร์ด ทำให้เอซุสยังคงครองตำแหน่งผู้นำในด้านประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และน่าเชื่อถือของมาเธอร์บอร์ดได้ต่อไปอย่างมั่นคง
เกี่ยวกับเอซุส

เอซุส หนึ่งในสามสุดยอดผู้นำจำหน่ายโน้ตบุ๊กระดับโลก และผู้ผลิตมาเธอร์บอร์ดที่มียอดขายและได้รับรางวัลมากที่สุดในโลก ซึ่งเป็นองค์กรผู้นำในยุคดิจิตอลใหม่ เอซุสออกแบบและผลิตสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของครัวเรือน, สำนักงาน และบุคคลทั่วไปในยุคดิจิตอลได้อย่างลงตัวด้วยสายผลิตภัณฑ์มากมายไม่ว่าจะเป็นมาเธอร์บอร์ด, กราฟิกการ์ด, จอภาพ, คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป, โน้ตบุ๊ก, เน็ตบุ๊ก, เซิร์ฟเวอร์, มัลติมีเดีย, โซลูชั่นไร้สาย, อุปกรณ์ด้านเครือข่ายและโทรศัพท์มือถือ ด้วยความมุ่งมั่นของเอซุสในการพัฒนานวัตกรรมและคุณภาพทำให้คว้ารางวัลถึง 3,398 รางวัลในปี 2010 และได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางจากการคิดค้น Eee PC? แก่อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ เอซุสมีพนักงานทั่วโลกกว่า 10,000 คน พร้อมทีมงานวิศวกรเพื่อพัฒนาวิจัยและออกแบบผลิตภัณฑ์ระดับโลกจำนวน 3,000 คน เอซุสมีผลประกอบการในปี 2010 กว่า 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ



แหล่งที่มา : “เอซุส” คว้า 8 รางวัล สุดยอดผลิตภัณฑ์ไอที ยืนยันความเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมเปิดตัวนวัตกรรมใหม่แห่งปี ในงาน CES 2011. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก http://www.ryt9.com/s/prg/1069607.(วันที่สืบค้นข้อมูล : 22สิงหาคม2555).

นางสาววรรณธกานต์  พยุงวงษ์ (วิว)





ระบบสมองกลควบคุมเครื่องยนต์สำหรับก๊าซธรรมชาติ

หน่วยงานเจ้าของผลงาน: ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
ชื่อผู้ผลิตผลงาน:
หน่วยปฏิบัติการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (EST)
ปีผลิตผลงาน: 2551
        ระบบสมองกลฝังตัว เป็นระบบที่ควบคุมการทำงานด้วย ไมโครโพรเซสเซอร์หรือไมโครคอนโทรลเลอร์ ซึ่งบรรจุซอฟต์แวร์เอาไว้ภายใน เหมือนกับระบบคอมพิวเตอร์แบบ PC โดยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของระบบสมองกลฝังตัวออกแบบมาทำงานเพื่อให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์แต่ละประเภท
การนำเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัว (Embedded Systems) มาประยุกต์ใช้ในการดัดแปลงรถยนต์นั้น มีการนำมาใช้งานได้หลายรูปแบบ คือ ควบคุมการจุดระเบิด และควบคุมการฉีดหรือการจ่ายเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์
ในการควบคุมการจุดระเบิด ชุดคำสั่งไมโครคอนโทรลเลอร์สามารถเลือกจังหวะเวลาการจุดระเบิดที่เหมาะสมผ่านเครื่อวัดกำลังเครื่องยนต์ ใช้ในการดัดแปลงเครื่องยนต์ดีเซล ที่ต้องอาศัยหลักการพื้นฐานของเครื่องยนต์ก๊าซโซลีน โดยลดกำลังอัดของกระบอกสูบของเครื่องยนต์ดีเซลลงมา แล้วเพิ่มระบบสมองกลฝังตัว
การควบคุมการจ่ายและการฉีดเชื้อเพลิง สามารถกำหนดปริมาณการจ่ายก๊าซตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ เพราะชุดควบคุมการฉีดก๊าซถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับ เครื่องยนต์เชื้อเพลิงคู่ ระหว่างน้ำมันเบนซินและก๊าซธรรมชาติ โดยอิงสัญญาณการจ่ายน้ำมันมาเป็นตัวควบคุมการจ่ายระบบซึ่งเดิมควบคุมปริมาณการจ่ายน้ำมันสามารถกำหนดปริมาณการจ่ายน้ำมันมาเป็นตัวกำหนดปริมาณการจ่ายก๊าซ
ประโยชน์ของผลงาน
ปัจจุบันมีการอนุญาตให้ใช้สิทธิประโยชน์ผลงานวิจัย (Licensing) ดังกล่าวแก่บริษัทภาคเอกชนไป 4 บริษัท เพื่อนำไปผลิตจำหน่าย ได้แก่ บริษัท นินเบลส จำกัด บริษัท ทีโอ จำกัด บริษัท ก๊าซเทค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และบริษัท ลัคกี้ มอเตอร์ จำกัด




ที่มา : ระบบสมองกลควบคุมเครื่องยนต์สำหรับก๊าซธรรมชาติ [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก http://newstkc.stkc.go.th/flagship/node/226 . (วันที่สืบค้นข้อมูล:22 สิงหาคม 2555).






น.ส.ประภาพรรณ มีทอง (เกด)

โทรมาตรตรวจวัดสภาพอากาศอัตโนมัติ


ระบบโทรมาตร คือ อุปกรณ์ที่สามารถตรวจวัดค่าทางฟิสิกส์ เคมี หรือชีวภาพ แล้วส่งค่าที่วัดได้ไปยังที่ที่กำหนดไว้ได้เอง ในเงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนดไว้ ค่าหรือข้อมูลที่ตรวจวัดอาจจะเป็น ข้อมูลระดับเสียง อุณหภูมิ ความชื้นค่าความเป็นกรด ด่าง หรือปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ หรือแม้กระทั่งภาพถ่าย หรือข้อมูลที่เกิดขึ้นจากตัวระบบโทรมาตรเอง เช่น สถานะการทำงาน เป็นต้น
ระบบโทรมาตรเคลื่อนที่ขนาดเล็ก เป็นระบบโทรมาตรที่ออกแบบมาให้มีขนาดเล็ก ติดตั้งง่าย ใช้เวลาติดตั้งน้อยและสามารถถอดเคลื่อนย้ายได้โดยง่าย
ต้นแบบมาจาก Field Server ของประเทศญี่ปุ่น
ระบบโทรมาตรเคลื่อนที่ขนาดเล็ก ได้รับแนวคิดในการนำอุปกรณ์มาใช้ตรวจวัดและส่งข้อมูลระยะไกลจากอุปกรณ์ที่เรียกว่า Field Server ของประเทศญี่ปุุ่น ซึ่งวิจัยและพัฒนาโดยหน่วยงานด้านการเกษตรของรัฐบาลประเทศญี่ปุุ่น(NARO) เหตุที่เรียกว่า Field Server นั้นเนื่องจากอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถทำงานได้เช่นเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้าอินเทอร์เน็ต สามารถส่งข้อมูลทั้งรูปภาพ เสียง วิดีโอ เสมือนทำงานเป็น Server ได้ด้วยตัวเอง แต่เป็น Server ที่ไม่ได้ติดตั้งไว้ในห้อง แต่เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ภายนอก ในภาคสนาม เพื่อใช้รับส่งข้อมูล จึงเรียกว่า Field Serverนอกจากจะมีหัววัดเพื่อตรวจวัดและส่งค่าข้อมูลต่างๆ แล้ว ยังสามารถติดกล้องวิดีโอ เพื่อถ่ายภาพและส่งภาพวิดีโอเข้าอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้จะอยู่ที่ไหนก็ได้ ถ้าสามารถเชื่อมอินเทอร์เน็ต ก็จะสามารถดูข้อมูลต่างๆ และสั่งงานอุปกรณ์ FieldServer ได้โดยตรง
พัฒนาเพื่อประยุกต์ให้เหมาะสมในประเทศไทย
เมื่อปี พ.ศ. 2546 หน่วยงาน NARO ประเทศญี่ปุน ได้นำเสนออุปกรณ์ Field Serve เผยแพร่ในงานประชุมวิชาการ APAN ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค จึงได้นำเอาเทคโนโลยีของอุปกรณ์Field Sever นี้มาประยุกต์ ปรับใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทย แต่เนื่องจากการสื่อสารในประเทศไทย มีการให้บริการWi-Fi ไม่ครอบคลุมเช่นในประเทศญี่ปุน จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีในการส่งข้อมูลให้เหมาะสม ทางเนคเทคจึงเลือกใช้การสื่อสารผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในโหมดของการสื่อสารดิจิตอล หรือ GPRS (General Packet RadioService) ซึ่งปจจุบันมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วไป โดยเนคเทคได้เริ่มต้นศึกษา พัฒนา ทดสอบและต่อมาได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาโดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ทำให้ได้ต้นแบบอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการใช้งานในประเทศไทย ทั้งหัววัด การเชื่อมต่อ และการสื่อสาร และเมื่อทำไปทดสอบใช้งานเพื่อเสริมการทำงานในระบบโทรมาตรที่หน่วยงานมีใช้อยู่ เช่น กรมชลประทานจึงเรียกอุปกรณ์นี้ว่า "ระบบโทรมาตรเคลื่อนที่ขนาดเล็ก" เนื่องจากสามารถส่งข้อมูลระยะไกล มีขนาดเล็ก ติดตั้งง่ายเคลื่อนย้ายสะดวก จึงถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาโดยคนไทย ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของตนเอง และนำมาใช้งานได้อย่างเหมาะสมในประเทศ
ติดตั้งที่ไหนแล้ว และผลเป็นอย่างไร
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ได้เริ่มนำระบบโทรมาตรขนาดเล็ก ไปติดตั้งและทดสอบการทำงาน ณ โครงการต่างๆ ของกรมชลประทาน ที่ต้องการข้อมูลระดับน้ำและปริมาณน้ำฝน ชนิดอัตโนมัติและส่งข้อมูลทันทีทันใด (Automatic &Real-Time) เช่น ที่ลุ่มน้ำเพชรบุรี ลุ่มน้ำปราณบุรี ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำจันทบุรี ลุ่มน้ำปิง เป็นต้น ซึ่งโครงการต่างๆ นี้ยังไม่มีระบบโทรมาตรใช้งาน จากการทดสอบติดตั้งและใช้งานทำให้พบปัญหา และเกิดประสบการณ์ในการเรียนรู้มากมายเพื่อนำมาปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น
ตัวอย่างหนึ่งที่ประสบผลสำเร็จ เช่น การติดตั้งระบบโทรมาตรขนาดเล็ก เพื่อส่งข้อมูลปริมาณฝนรายชั่วโมงของพื้นที่จังหวัดระยอง เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง ปี พ.ศ.2548 จำนวน 14 สถานี โดยใช้เวลาติดตั้ง 3 วัน หรือเฉลี่ยสถานีละ3 ชั่วโมง และส่งข้อมูลทันทีที่ติดตั้งเสร็จทำให้ทราบข้อมูลปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว และมีระบบฐานข้อมูลเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติดังกล่าว เรียกดูย้อนหลังได้ อีกทั้งยังสามารถส่งข้อความแจ้งเตือนผ่านระบบข้อความสั้น (SMS)ทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อีกด้วย


หน่วยงานเจ้าของผลงาน: สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)






ที่มา : โทรมาตรตรวจวัดสภาพอากาศ[ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก http://newstkc.stkc.go.th/flagship/node/177. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 22 สิงหาคม 2555).





น.ส.ประภาพรรณ มีทอง (เกด)

การกัดเซาะชายฝั่งกับเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

        สาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลัก คือ
1.การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งโดยกระบวนการธรรมชาติ เกิดจากการกัดเซาะของคลื่นและลม วาตภัย อุทกภัย หรือสิ่งมีชีวิตในบริเวณนั้น
2.การ เปลี่ยนแปลงชายฝั่งโดยกิจกรรมของมนุษย์ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้แนวชายฝั่งเปลี่ยนไปจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและ สังคมโดยใช้ทรัพยากรเป็นฐานการผลิต แต่กลับให้ความสำคัญในการรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรน้อยเกินไป ทำให้ทรัพยากรที่มีความสำคัญถูกทำลายและเสื่อมโทรมลงทุกขณะ ได้แก่ การพัฒนาขนาดใหญในพื้นที่ชายฝั่งทะเล, การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล, การสร้างเขื่อน ฝาย หรืออ่างเก็บน้ำ,การบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าชายเลน, การสูบน้ำบาดาล
การกัดเซาะเกิดขึ้นตั้งแต่ชายฝั้งตะวันออกจนถึงชายฝั่งอ่าวไทยตะวันตกและบางพื้นที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น
       จากสภาพปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเข้ามามีบทบาทมาก ในปัจจุบันทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชน เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย เทคโนโลยีด้านการรับรู้ระยะไกล  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และกำหนดตำแหน่งบนโลก หรือปัจจุบันเรียกว่าระบบนำทางด้วยดาวเทียม ซึ่งเอาระบบนำทางด้วยดาวเทียมของหลายประเทศนำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
หน่วยงานเอกชนที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคือ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอากาศและภูมิสารสนเทศ(องค์กรมหาชน) ในเรื่องการวิเคราะห์และประเมิณปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยใช้ภาพถ่าย ดาวเทียมระยะที่ 2 (ปี 2554) ซึ่งมีวัตถุประสงค์คือ
1.วิเคราะห์ข้อมูลและติดตามปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในประเทศไทย โดยใช้ภาพถ่าย ดาวเทียมระยะที่ 2 (ปี 2554)
2.จัดทำแผนที่แสดงการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งทั้งประเทศ
3.จัดทำฐสนข้อมูลการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งของประเทศไทย
4.จัดทำแบบจำลองพื้นที่ชายฝั่งเพื่อเผยแพร่ให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
       การนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาใช้ควบคู่กับข้อมูลการกัดเซาะชายฝั่งนั้น เป็นวิธีการที่สามารถคาดการณ์ถึงสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้เทคโนโลยีคำนวณความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ เพื่อนำไปใช้ในการป้องกันและติดตามความเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งที่จะเกิดขึ้น


ที่มา
การกัดเซาะชายฝั่งกับเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ[ออนไลน์];เข้าถึงข้อมูลได้จากhttps://www.google.co.th/webhp?hl=th&tab=Tw&q=obtain#hl=th&pwst=1&sclient=psy-ab&q=%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87+%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1&oq=%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87+%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1&gs_l=serp.3...8059.42860.0.43421.49.42.1.6.6.0.219.5277.0j41j1.42.0...0.0...1c.Fg2dt3IemW4&pbx=1&bav=on.2,or.r_gc.r_pw.r_cp.r_qf.&fp=4936905d131f04e0&biw=1366&bih=641
(วันที่สืบค้นข้อมูล 22 สิงหาคม 2555)


น.ส  สุภัทรา พึ่งพเดช  (แหม่ม) 

การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน (Eco Design)


     นักวิชาการด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างมีความเห็นพ้องกันว่า การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพราะแม้ว่าต้นทุนของการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางตรงจะมีเพียง 5-13% ของต้นทุนผลิตภัณฑ์รวม แต่ผลสืบเนื่องจากการออกแบบผลิตภัณฑ์จะเป็นตัวกำหนดโครงสร้างต้นทุนถึง 60-80%การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco Design) จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการผลิตสินค้า โดยเป็นกระบวนการที่ผนวกแนวคิดด้านเศรษฐกิจและด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปในขั้นตอนการออกแบบ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการวิเคราะห์สมรรถนะทางด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ การจัดการซากที่หมดอายุ การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกช่วงของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดยควบคู่กับการวิเคราะห์ปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น ต้นทุน กระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ และการตลาด เป็นต้น










หลักการพื้นฐานของการทำ Eco Design คือ การนำหลัก 4R ได้แก่ การลด (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และการซ่อมบำรุง (Repair) มาประยุกต์ใช้ในทุกช่วงของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ คือตั้งแต่การวางแผนผลิตภัณฑ์ การออกแบบ การผลิต การนำไปใช้ และการทำลายหลังการใช้เสร็จ 




     ความสำคัญของ Eco Design มิใช่เป็นเพียงแค่แนวทางในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น หากยังมีความสำคัญต่อการค้าและการส่งออกอีกด้วย เนื่องจากในปัจจุบันประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา หรือญี่ปุ่น ต่างให้ความสนใจด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังจะเห็นได้ว่ามีการออกข้อกำหนดและกฎระเบียบทางการค้าที่สัมพันธ์กับการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น ระเบียบว่าด้วยการจัดการเศษเหลือทิ้งจากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Waste Electrical and Electronic Equipment; WEEE) ระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตรายบางชนิดในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (The Restriction of the use of certain Hazardous Substance in electrical and electronic equipment; RoHS) ของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป หรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดการซากของยานยนต์ (End of Life Vehicles; ELV) ซึ่งมาตรการเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องเข้ามาเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงต่อเศษซากวัสดุจากผลิตภัณฑ์ของตน ผู้ประกอบการจึงต้องปรับปรุงและพัฒนาสินค้าของตนเพื่อที่จะสามารถส่งออกสินค้าได้

    Eco Design เป็นแนวทางหนึ่งในการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากแนวทางอื่นๆ ที่เป็นที่รู้จักกันดี ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีสะอาด (Cleaner Technology; CT) หรือวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment; LCA) ซึ่งในประเทศไทยพบว่า ปัจจุบันมีหน่วยงานของรัฐ องค์กรอิสระ และสถาบันการศึกษาหลายแห่งที่มีโครงการศึกษาและการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้าน EcoDesign มากขึ้น ตลอดจนการเผยแพร่ความรู้และสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถนำ EcoDesign มาผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม




แหล่งที่มา : การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน (Eco Design). [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก http://businessconnectionknowledge.blogspot.com/2011/12/3-eco-design.html.(วันที่สืบค้นข้อมูล : 22สิงหาคม2555).

นางสาววรรณธกานต์  พยุงวงษ์ (วิว)






         

นาฬิกา ECO  Drive 



              ทั้งไซโก และ ซิติเซ็น เป็นนาฬิกาที่ดีสมราคา ทว่าระบบอีโคไดรฟ์กับคิเนติคก็ยังถือว่าเป็นระบบคว็อตซ์ เพียงแต่วิธีคิดในการสร้างพลังงานขับเคลื่อนและพลังงานสำรองแตกต่างออกไป
ตัวอีโคไดรฟ์ จะใช้แสงสว่าง ไม่ว่าจะเป็นจากแสงอาทิตย์หรือแสงไฟฟลูออเรสเซ็นท์(ทีเราชอบเรียกว่า นีออน) เป็นตัวชาจ์ทพลังงาน ทำให้สะดวกไม่ต้องกังวลว่าหากไม่ได้สวมใส่นาน ๆ นาฬิกาจะตาย
            คิเนติคนั้น ประยุกต์แนวคิดแบบนาฬิกาออโต โดยใช้ตุ้มเหวี่ยง (oscilating weight) เป็นตัวสร้างพลังงาน ซึ่งได้มาจากการเคลื่อนไหวเมื่อเราสวมใส่ซึ่งบางรุ่นเดี๋ยวนี้สามารถสำรองพลังงานไว้ได้เป็นเดือนโดยไม่ต้องสวมใส่ ทั้งยังมีระบบ Auto relay คือหยุดเดินในขณะที่เราไม่ได้ใส่ และเมื่อเรานำมาใส่อีกครั้งมันก็จะปรับเวลาเป็นปัจจุบันให้เราเอง ถือว่าเป็นนวตกรรมสุด ๆ เหมือนกันครับ
            เนื่องจากพื้นฐานของ 2 ระบบนี้คือคว็อตซ์ ดังนั้นจึงใช้แบตเตอรี่ แต่เป็นแบบพิเศษที่เรียกว่า secondary battery หรือ capacitor จะใช้ได้นาน 5 ปีหรือมากกว่าแต่ก็มีราคาค่อนข้างแพง ถามว่าต้นทุนถูกกว่าแบตธรรมดาหรือไม่ ก็ไม่ใช่ เพียงแต่ไม่ต้องคอยรำคาญใจต้องเปลี่ยนแบตทุก 1- 2 ปี
      จุดอ่อนอย่างหนึ่งของระบบคว็อตซ์ก็คือแผงวงจรหรือเซอร์กิต มีอายุการใช้งาน (ส่วนใหญ่ประมาณ 5 หมื่นช.ม.) ก็จะเสียและต้องเปลี่ยนใหม่ จะมีค่าใช้จ่ายสูงถึงสูงมากและหากเวลาผ่านไปหลายสิบปีเข้า อาจจะไม่มีอะไหล่เปลี่ยน
ส่วนระบบออโตผมคงไม่ต้องอธิบายนะครับ จุดเสียมันก็มีอยู่ในเรื่องความเที่ยงตรงอาจจะสู้คว็อตซ์ไม่ได้ และการสำรองพลังงานทำได้ไม่ดีจึงต้องคอยใส่บ่อย ๆ ไม่งั้นจะต้องมาตั้งเวลาใหม่ ครั้นจะซื้อที่เก็บนาฬิกาออโตก็เปลืองเป็นภาระสำหรับบางคน แต่ในระยะยาว อย่างไรเสียนาฬิกาออโตมันก็อยู่กับเราได้ตลอดไปและมีราคาขายต่อดีกว่าเสมอ สำหรับคนรักนาฬิกาจริง ๆ อย่างไรก็ต้องออโตครับ เขาถือว่ามันมีจิตวิญญาณและเสน่ห์ในตัวไม่เสื่อมคลาย




นายยุทธภูมิ  ปาใจประเสริฐ 5315046

Samsung Reclaim Cellphone

ทำจากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นี้โทรศัพท์ง่าย-on-แผ่นดินจะทำด้วยพลาสติก post ผู้บริโภคและสีน้ำตาม; ก็ยังฟรีของสารเคมีอันตรายเช่น PVC และเบริลเลียมและมาพร้อมกับ Energy Star ®ชาร์จได้รับการรับรอง

ข้อความหลายรวมถึงข้อความวิดีโอและอีเมล
พูดคุยไม่ได้เป็นวิธีเดียวที่จะส่งและรับข้อมูล โทรศัพท์ของคุณพูดในข้อความหลาย ๆ ข้อความว่าข้อความมัน, Instant, รูปภาพ, วิดีโอ, อีเมล์

แนะนำสีเขียวแสดงวิธี
ในความพยายามที่จะให้บริการลูกค้าด้วยเทคโนโลยีล่าสุดและประสบการณ์ของผู้ใช้ที่ดีที่สุดเราได้ให้ทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมใหม่เพื่อนํากระดาษที่พิมพ์ การเสมือนให้ "หนึ่งหยุด" ประสบการณ์การสนับสนุนที่มีทุกอย่างจากคู่มือการใช้งาน, วิดีโอการสนับสนุนโฆษณาและการจำลอง ใช้ขั้นตอนต่อไปของเราในจะสีเขียว






เดี๋ยวนี้คนเราเปลี่ยนมือถือกันบ่อยขึ้น นั่นหมายความว่าชิ้นส่วนต่างๆและแบตจะกลายเป็นขยะเร็วขึ้น Samsung จึงออกโทรศัพท์รุ่นนี้มา โดยผลิตจากวัสดุรีไซเคิลทั้งหมด พยายามใช้ชิ้นส่วนให้คุ้มค่าที่สุด ถ้าซื้อผ่านเครือข่าย Sprint ผูกสัญญาสองปี เงินค่าเครื่องส่วนหนึ่งจะหักเข้าองค์กรการกุศลที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม


นายยุทธภูมิ  ปาใจประเสริฐ 5315046