วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ระบบสื่อสารและจัดเก็บข้อมูลชุดตรวจวัดแรงดันน้ำของเขื่อน (DAM)





หน่วยงานเจ้าของผลงาน:

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ชื่อผู้ผลิตผลงาน:

นายอุดม ลิ่วลมไพศาล

หน่วยปฏิบัติการวิจัยพัฒนาการควบคุมและระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม (ICA)

ปีผลิตผลงาน:

2551

เนื่องด้วย เขื่อนรัชชประภา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีความต้องการที่จะติดตั้งระบบเพื่อช่วยดูแลความปลอดภัยและความมั่นคงเขื่อนโดยอาศัยการวัดค่าต่างๆ ในบริเวณเขื่อน เช่น การวัดระดับน้ำใต้ดิน(Underground Water) ในหลุมวัดน้ำ (Observation Wel) การวัดแรงดันของ หัววัดที่ติดตั้งที่ตัวเขื่อน การวัดความเร่งของแผ่นดินไหว (Accelerometer) การคาดเดาปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ เพื่อการเก็บกักน้ำ เป็นต้น ในปัจจุบันกฟผ. ใช้บุคลากรทำการวัดค่าต่างๆ ด้วยมือ ซึ่งใช้เวลามาก ข้อมูลที่ได้ไม่ใช่ ข้อมูล ณ เวลาเดียวกัน และเสียเวลาในการป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการวิเคราะห์ ทำให้มีข้อจำกัดในการ ประเมินถึงความปลอดภัยและความมั่นคงของเขื่อน
โดยพื้นฐานของระบบที่พัฒนาขึ้นจะประกอบไปด้วย หน่วยวัดคุมระยะไกล (Remote Terminal Unit, RTU) ที่จะทำการรวบรวมข้อมูลจากแต่ละหัววัด (Sensor) ต่างๆ และทำการส่งข้อมูลผ่านระบบสื่อสารทั้งแบบมีสาย (Copper wire or Optical fiber) หรือแบบไม่มีสาย (Wireless communication) ผ่านไปยังระบบคอมพิวเตอร์ฐานข้อมูล เพื่อทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด ข้อมูลที่ได้จะนำส่งไปยังระบบวิเคราะห์ความปลอดภัยและความมั่นคงเขื่อนต่อไป รวมทั้งส่วนของการติดต่อกับผู้ใช้งานเพื่อการดูข้อมูลแบบปัจจุบัน (Real time) การทำงานรายงานสรุป เป็นต้น โดย ระบบที่พัฒนาขึ้นเองนี้ นอกจากจะมีความสอดคล้องกับความต้องการแล้ว ยังสามารถดูแลรักษาและปรับปรุงระบบให้ มีความเหมาะสมกับการใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง
ประโยชน์ของผลงาน
- ช่วยลดการนำเข้าและพึ่งพาเทคโนโลยีระบบเพื่อช่วยดูแลความปลอดภัยและความมั่นคงเขื่อน จากต่างประเทศ
- ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ผลักดันสู่การนำไปใช้งานจริงในอุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมต่อไป
การจำแนกการนำไปใช้ประโยชน์
อุตสาหกรรมการผลิต
การผลิต : การพัฒนาคุณภาพผลผลิต การพัฒนากระบวนการผลิต การเพิ่มผลผลิต การลดค่าใช้จ่ายในการผลิต เป็นต้น
ความมั่นคง ภัยพิบัติ



ที่มา: ระบบสื่อสารและจัดเก็บข้อมูลชุดตรวจวัดแรงดันน้ำของเขื่อน.[online].เข้าถึงได้จาก http://newstkc.stkc.go.th/flagship/node/227.(วันที่สืบค้นข้อมูล:23 สิงหาคม 2555).



นายอธิคม คำสอนทา (ก๊อบ)

1 ความคิดเห็น:

  1. จากบทความ ถือว่าเป็นระบบที่ดี ที่สมควรนำมาใช้ในการดูแลความปลอดภัยของเขื่อน เพราะในปัจจุบันภัยธรรมชาติต่างๆเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เขื่อนซึ่งถือเป็นแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ หากได้รับความเสียหาย จะส่งผลกระทบต่อสิ่งต่างๆอย่างกว้างขวาง แต่ทั้งนี้หากมีระบบใดระบบหนึ่งเกิดการขัดข้อง ก็อาจส่งผลกระทบได้เช่นกัน ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผน ควบคุม ติดตามการทำงาน และวางแนวทางแก้ไขเป็นอย่างดีด้วย

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น